วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกเส้นทางสีแดงต้านรัฐประหาร (4)

26 September 2011 at 03:46
วันที่ 16 ของกิจกรรม ( 23 พค.2554)
คืนนั้นพวกเราได้รับการรับรองจากแกนนำที่อ.ปากคาดซึ่งจัดให้เราพักที่โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งติดแม่น้ำโขง พวกเราออกเดินทางจากหนองคายมุ่งหน้ามาหนองบัวลำพู ระยะทาง 97 กม. จนถึงวันนี้พวกเราปั่นจักรยานมาแล้วกว่า 1,400 กม. พวกเราเดินทางมาถึงหนองบัวลำภูในเวลาเย็น พักค้างคืนกับชาวบ้านหนึ่งคืน ในเช้าวันถัดไปพวกเรามีโปรแกรมต้องไปเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม 2 ราย
.
วันที่ 17 ของกิจกรรม ( 24 พค.2554)
ในเช้าวันนั้นก่อนที่จะออกเดินทางได้มีผู้ที่ได้รับผลกระทบรายหนึ่งมาพบพวกเราที่บ้านพัก ผมได้ทำการสัมภาษณ์พบว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจเนื่องจากเป็นผู้อยู่ในวัดปทุมวนาราม ในวันที่ 19 พค. และเป็นผู้ที่เห็น 1 ใน 6 ศพที่ถูกทหารยิงตายเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา เมื่อเดินทางกลับถึงบ้านที่หนองบัวลำภูมีอาการเหม่อลอย หวาดผวา เห็นภาพหลอน ลุกเดินไปมาโดยไม่มีสาเหตุ นอนไม่หลับ ญาติต้องพาไปวัดรดน้ำมนต์ สภาพจิตใจน่าสงสารมาก ปัจจุบันอาการดีขึ้น ไม่กลัวที่จะเป็นคนเสื้อแดงและพร้อมจะออกมาต่อสู้อีก
 http://www.youtube.com/watch?v=YkIh7EoTrZ0 (พยาน 1 ใน 6 ศพวัดปทุม)
.
ส่วนอีกรายพวกเราต้องปั่นจักรยานไปสัมภาษณ์ที่ต.โนนทันซึ่งอยู่ในป่าทางขึ้นภูเขาไปจ.เลย  ครอบครัวนี้สูญเสียบุตรชายเนื่องจากถูกทหารยิงตายที่ซอยรางน้ำ ได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว มีข้อมูลที่น่าสนใจจากแกนนำชาวบ้านว่าหมู่บ้านนี้เมือก่อนเป็นป่าสงวน สมัยรัฐบาลทักษินได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ชาวบ้านอยู่อาศัยและทำกินอย่างถูกกฏหมาย และตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันย์
http://www.youtube.com/watch?v=geUbBtdDPQc&feature=related (สภาพบ้านของชาวบ้าน)
http://www.youtube.com/watch?v=Sk4L6uvqOcI&feature=related (สัมภาษณ์หมู่บ้านเทอดไท้องค์ราชันย์)
http://www.youtube.com/watch?v=Sk4L6uvqOcI&feature=related (สัมภาษณ์คุณพ่อคุณแม่ของผู้เสียชีวิต)
.
หลังจากเสร็จการสัมภาษณ์พวกเราได้ปั่นจักรยานมาจังหวัดเลย ระยะทาง 110 กม. ฝนตกตั้งแต่เวลา 15.00 น. พวกเราถึงจ.เลยในช่วงเวลา 18.00 น.ซึ่งเป็นทราบจากคุณป้าดวงตาและป้าอี้ดซึ่งเป็นแกนนำที่จังหวัดเลยว่าต้องยกเลิกขบวนแรลลี่รอบเมืองเนื่องจากฝนได้ตกตลอดบ่าย
.
วันที่ 17 ของกิจกรรม ( 24 พค.2554)
พวกเราออกเดินทางจากเลยในเวลาประมาณ 8.00 น. สมควรบันทึกไว้ว่าการปั่นจักรยานขึ้นภูเรือเป็นเส้นทางที่ยากลำบากที่สุดที่พวกเราเคยปั่นจักรยานมาเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สูงชันมาก พวกเราปั่นจักรยานถึงภูเรือในเวลา 12.00 น.ระหว่างทางได้หยุดพักเหนื่อยหลายครั้ง
http://www.youtube.com/watch?v=MYSfXTpD7GI (ขึ้นภูเรือ)
http://www.youtube.com/watch?v=xAxAokXj3ws&feature=related (ขึ้นภูเรือ 2)
.
เนื่องจากเส้นทางที่สูงชันและฝนที่โปรยปรายมาเป็นระยะ ประกอบกับการปั่นจักรยานขึ้นเขาตลอดเกือบ 3 ชั่วโมงทำให้พวกเราไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ต้องเปลี่ยนโปรแกรมกระทันหัน พวกเราพบคนเสื้อแดงที่ภูเรือที่เปิดรีสอร์ทเล็กๆชื่อสปันงารีสอร์ทและได้อนุเคราะห์ที่พัก 1 คืน ที่ภูเรือมีตลาดสด สถานีตำรวจ สถานีขนส่ง และย่านชุมชนเล็กๆที่เราสามารถหาร้านอินเทอร์เนทและส่งข่าวให้สื่อมวลชน
http://www.youtube.com/watch?v=YO2SO_eGXP8 (สปันงารีสอร์ท)
.
วันที่ 18 ของกิจกรรม (25 พค.2554)
เช้าวันนี้ได้ออกทักทายพี่น้องเสื้อแดงที่ตลาดภูเรือ ได้มีโอกาสรับประทานอาหารเช้ากับรองผู้กำกับสภอ.ภูเรือ และได้ทำคลิปสัมภาษณ์แม่ค้าที่ตลาดภูเรือเพื่อเผยแพร่ แม่ค้าที่นี่เราให้พวกเราฟังว่าเมื่อก่อนสมัยรัฐบาลทักษินอยู่แทบไม่มียาบ้าเลยแต่เดี๋ยวนี้สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยาบ้าแพร่ระบาดเข้ามาถึงภูเรือ เข้าไปในโรงเรียน ยาบ้าหาซื้อได้ง่ายเหมือนขนม เด็กๆเสพยาบ้าเข้าไปแล้วเมายา ทำร้ายพ่อแม่
http://www.youtube.com/watch?v=rUCDKxd22I4 (สัมภาษณ์ปัญหายาเสพติดที่ภูเรือ)

วันที่ 19 ของกิจกรรม (26 พค.2554)
เนื่องจากฝนที่ตกตลอดทำให้เราต้องเปลี่ยนโปรแกรมอีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราต้องตัดการทำกิจกรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ออกเนื่องจากไม่มีข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบ ระยะทางจากภูเรือมาพิษณุโลกไม่ต่ำกว่า 200 กม.ทำให้เราต้องเลือกนั่งรถบขส.จากภูเรือมาที่เขตจังหวัดพิษณุโลก และปั่นจักรยานเข้าเมือง พวกเราเข้าพักที่วัดราษฎร์บูรณะ ที่วัดแห่งนี้มีห้องซาวน่าสำหรับอบสมุนไพรพื้นบ้าน พวกเรากางเตนท์นอนข้างเจดีย์ใต้ต้นโพธิ์ กลางดึกคืนนั้นฝนได้เทกระหน่ำลงมาทำให้เราต้องย้ายเตนท์กลางดึกและต้องทนนอนในเตนท์ที่เปียกชื้นตลอดทั้งคืน
.
วันที่ 20 ของกิจกรรม (27 พค.2554)
พวกเราออกจากพิษณุโลกในเวลา 8.00 น.และปั่นจักรยานมาที่อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ แวะสักการะอนุเสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักทั้งสองแห่งคือที่บ้านเกิดและในตัวเมืองพิชัย ชาวบ้านหลายคนที่อยู่ละแวกนั้นยังจำพวกเราได้ว่าเคยใส่เสื้อแดงปั่นจักรยานมาเป็นกลุ่มแวะมาสักการะพระยาพิชัยดาบหักเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
http://www.youtube.com/watch?v=ODBNJbMe-8c (สักการะพระยาพิชัยดาบหัก)
http://www.youtube.com/watch?v=Ns_-0nK0fBo (สักการะพระยาพิชัยดาบหัก 2)
http://www.youtube.com/watch?v=wzGhmC3091A (สักการระพระยาพิชัยดาบหัก 3)
.
คืนนั้นได้มีโอกาสสนทนากับชาวบ้านเสื้อแดงที่เป็นเกษตรกรชาวนา ชาวบ้านบอกว่าสมัยรัฐบาลนายกทักษินข้าวเปลือกราคาเเกวียนละ 12,000 บาท ไม่เคยต่ำกว่า 9,000 บาท แต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ราคาข้าวเปลือกเหลือเพียงเกวียนละ 5,000 บาท ในขณะที่ปุ๋ยและค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพทุกอย่างขึ้นพรวดๆ ทำให้มีหนี้สิน เลือกตั้งเที่ยวนี้จะตั้งใจเลือกเบอร์ 1 กันทั้งหมด
.
วันที่ 21 ของกิจกรรม (28 พค.2554)
เช้าวันต่อมาปั่นจักรยานจากอุตรดิตถ์ไปจ.แพร่ระยะทาง 118 กม. ช่วงที่ขึ้นเขาก่อนถึงเด่นชัยเป็นภูเขาสูงชัน เราใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชม.เพียงเพื่อข้ามภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ระหว่างทางได้ถ่ายคลิปการปั่นจักรยานจริงจำนวน 3 คลิป พวกเรามาถึงอ.เด่นชัยในเวลา 16.00 น. และปั่นจักรยานเข้าจังหวัดแพร่ในเวลาเย็น แวะพักที่ทำการชมรมคนเสื้อแดงแพร่ที่เพิ่งเปิดได้ 3 วัน
http://www.youtube.com/watch?v=9Kz7pRQBs50 (ปั่นเข้าแพร่ 1)
http://www.youtube.com/watch?v=q13rVAmr5-U (ปั่นเข้าแพร่ 2)
http://www.youtube.com/watch?v=iGlg0lqVwWM (ปั่นเข้าแพร่ 3)
 .

สิ้นสุดครึ่งแรกของกิจกรรม ระยะเวลา 21 วัน 20 จังหวัด ระยะทางปั่นจักรยานทั้งสิ้น 2,068 กม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น