1. ความจริงที่ได้จากการเป็นผู้สังเกตุการณ์การชุมนุม
ถ่ายหน้าห้างอิมพีเรียล สำโรง ต้นเดือนสิงหาคม 2553
หลังจากกลายมาเป้นคนเสื้อแดงในโลกไซเบอร์ ก่อนหน้าจะเริ่มทำกิจกรรม
ในวันนั้นผมไปร่วมชุมนุมตั้งแต่เวลาบ่ายโมงครึ่ง ผมยืนอยู่ด้านหน้าเวทีใส่ยืนฟังปราศัยไปเรื่อยๆ ผู้คนไม่มากเท่าไหร่เนื่องจากอากาศร้อนจัด จนเวลาประมาณห้าโมงเย็น ผมสังเกตุเห็นแถวผู้ชุมนุมยาวขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งเย็นมากเท่าไหร่ เสียงโห่ร้อง เสียงตีนตบยิ่งดังขึ้นๆ จนเวลาประมาณสามทุ่ม เสียงตีนตบดังอื้ออึงไปหมดทุกสารทิศ ผมเริ่มออกเดินสำรวจไปทั่วบริเวณชุมนุม ผมใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม.จึงสำรวจจนทั่ว ด้านหน้าเวทีคนแน่นไปถึงประตูน้ำ ด้านซ้ายของเวทีคนแน่นไปจนถึงสยามเกือบถึงมาบุญครอง ด้านขวามือของเวทีแน่นไปจนถึงสถานีรถไฟชิดลม และด้านหลังเวทีคนแน่นยาวไปแทบจรดบริเวณอนุเสาวรีย์ร.6 ... คำตอบแรกที่ผมได้รับคือจำนวนคนที่มาชุมนุมไม่ใช่ 3,000 หรือ 5,000 คน แต่มีหลายหมื่น หรืออาจจะทะลุไปถึงแสนด้วยซ้ำ และเฉพาะที่เห็นในจอทีวี People Channel นั้นเป็นเพียงแค่ 1 ใน 5 เท่านั้น
ในวันนั้นผมได้มีโอกาสพูดคุยกับคนเสื้อแดงจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณหน้าเวที เนื่องจากผมใส่ชุดทำงานไปจึงดูแปลกแยกจากคนเสื้อแดง แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากคนเสื้อแดง หลายคนชวนผมคุย หลายคนดูออกว่าผมไม่เคยมาชุมนุม หลายคนเอาใจผมแม้กระทั่งพัดให้ผมขณะนั่งฟังการปราศัย ในวันแรกผมสังเกตุว่าด้านหน้าเวทีส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีเด็กปนอยู่ไม่น้อย ด้านหน้าเวทีเป็นแม่บ้านตำรวจเสียส่วนใหญ่ คืนแรกผมกลับบ้านเกือบตีสาม ใช้เวลาที่ราชประสงค์ทั้งสิ้น 14 ชม. เหงือออกจนหมดตัว เกิดมาไม่เคยร้อนแบบนี้มาก่อน ขาและสะโพกปวดแสบปวดร้อนไปหมดจากการนั่งบนพื้นถนนที่ร้อนระอุ
ผมเริ่มไปร่วมการชุมนุมแทบทุกวันเพื่อค้นหาความจริงว่าใครคือผู้เข้าร่วมชุมนุม และค้นหาแรงจูงใจของผู้ชุมนุม แต่ละวันผมใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชม.ในการร่วมสังเกตุการณ์ ทุกวันผมแต่งตัวตามปกติ (ไม่ได้ใส่เสื้อสีแดง) แต่ละวันจะไปพูดคุยกับชาวบ้านไปเรื่อยๆ เปลี่ยนสถานที่คุยบ้าง เปลี่ยนวงสนทนาบ้าง เปลี่ยนคนสนทนาไปเรื่อย เพื่อสุ่มตัวอย่างหรือเก็บข้อมูลแบบไม่เป็นทางการ ผมทำเช่นนี้แทบทุกวัน ... ผมพบว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมมีทุกเพศทุกวัย (ผู้หญิงมีมากที่สุด รองลงมาคือผู้ชาย ผู้สูงอายุและเด็ก) ผมพบว่าผู้เข้าร่วมชุมนุมมาจากทุกสาขาอาชีพ (ชาวนาชาวไร่มากที่สุด ที่เหลือคืออาชีพครู พยาบาล ข้าราชการ แม่บ้านตำรวจ พนักงานเอกชน นักธุรกิจ นักศึกษา ฯลน) ผู้เข้าร่วมชุมนุมเหล่านี้มาจากทุกสาขาอาชีพ ภูมิภาคที่คนเข้าร่วมชุมนุมมากที่สุดคือภาคอีสาน รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้
สำหรับแรงจูงใจหรือสาเหตุการเข้าร่วมชุมนุมนั้น ผมแปลกใจว่าจากการพูดคุยกับชาวบ้านโดยเฉพาะคนยากจนในชนบท (ที่รัฐบาลขณะนั้นพยายามประโคมข่าวว่ารับเงินมาชุมนุม) ผมพบว่าพวกเขาเหล่านั้นเข้ามาร่วมชุมนุมด้วยความตั้งใจที่จะมาด้วยตนเอง ผมไม่สังเกตุเห็นวี่แววของการรับจ้างมาชุมนุม แต่พบว่าทุกคนมาด้วยความสมัครใจ ลงเงินเช่ารถกันมาบ้าง ลงขันค่าน้ำมันกันมาเองบ้าง นำข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ มาเป็นเสบียงหุงหาเองบ้าง ... ด้วยความสัตย์จริงผมไม่พบแม้แต่คนเดียวที่มีวี่แววว่ารับเงินใครมาชุมนุม !
เงื่อนไขในการชุมนุม 2 ประการนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคนมาร่วมชุมนุมมีจำนวนน้อย ไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ของสังคม แต่หากคนมาหลักหมืนหรือหลายๆหมื่นเป็นเรื่องน่าคิด ยิ่งมาจากทุกเพศทุกวัย มาจากหลากหลายสาขาอาชีพยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องเก็บมาคิด เพราะเท่ากับว่าเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนของสังคม และยิ่งมาจากชาวไร่ชาวนา ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือเป็นเรื่องที่สามารถบอกได้ว่าผู้ชุมนุมเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในประเทศ และที่สำคัญที่สุดหากผู้ชุมนุมมากันเองโดยที่ไม่มีใครว่าจ้างมา จึงสามารถกล่าวได้ว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์เป็นการชุมนุมที่มีความชอบธรรม เนื่องจากเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในประเทศ และเป็นการชุมนุมที่มาจากอุดมการณ์อันบริสุทธิ์ที่ต้องการให้รัฐบาลยุบสภา ... ความจริง 2 ข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญให้เกิดขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงหลัง 19 พค. 2553 !
23.30 น. 19/2/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น