13. เตรียมตัวขึ้นภาคเหนือ
ผมใช้เวลาเตรียมกิจกรรมเส้นทางสีแดงภาคเหนือตลอดเดือนธันวาคมในปีนั้น ผมได้รับคำแนะนำในการเลือกเส้นทางและประสานงานแกนนำท้องถิ่นจากคุณใหญ่ สันติพงษ์ ลุงยิ้มตาสว่าง และคุณแดง แกนนำเชียงราย กิจกรรมนี้มีชื่อว่ากิจกรรม เส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-เชียงราย) ข้อเรียกร้องของกิจกรรมยังคงต่อเนื่องมาจากกิจกรรมที่อีสาน ข้อเรียกร้องหลักคือการให้ปล่อยตัวแกนนำและผู้ต้องขังนปช.
โครงการ : เส้นทางสีแดง : ราชประสงค์-เชียงราย
หลักการและเหตุผล :
โครงการเส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-หนองคาย) ได้ดำเนินสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดระยะเวลากว่า 31 วันของโครงการ ( ตั้งแต่ 31 ตค.-30 พย. ) คณะปั่นจักรยานเส้นทางสีแดงได้เดินทางกว่า 18 จังหวัดรวมระยะทางกว่า 1,700 กม.เพื่อไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจคนเสื้อแดงและได้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่ราชประสงค์ทั้งผู้ที่ถูกคุมขัง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พิการ ผู้ที่พลัดพรากจากครอบครัว ฯลฯ โครงการเพื่อมนุษยธรรมนี้ได้รับความสนใจจากคนเสื้อแดงและสื่อมวลชนทั่วประเทศ ในทุกจังหวัดที่ขบวนปั่นจักรยานผ่านไปได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนเสื้อแดงให้กลับคืนมาจากความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ สังหารหมู่ 19 พค. โครงการเส้นทางสีแดงได้สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ทราบข่าวและเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้ผู้จัดกิจกรรมมีความตั้งใจที่จะขยายกิจกรรมนี้ออกไปทุกภูมิภาคของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายที่จะเดินทางไปภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคเหนือเหนือเป็นลำดับถัดไป
โครงการเส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-เชียงราย) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อสานต่อภารกิจดังกล่าว โดยจะยึดแนวทางกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมเช่นนี้ต่อไป โดยจะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือตลอดระยะเวลา 28 วันของโครงการ
เป้าหมาย :
1. เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแกนนำนปช.และผู้ต้องขังในคดีชุมนุมทั่วประเทศ
2. เพื่อให้สังคมตระหนักถึงปัญหา 2 มาตรฐานทางกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
3. เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้นานาชาติตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยหลัง
เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549
4. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดทางให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิน ชินวัตรกลับประเทศโดยเร็วที่สุด
ระยะเวลา 16 มค.- 13 กพ. 2553 ( 28 วัน )
เส่นทาง : นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ( รวม 20 จังหวัด)
ระยะทาง 2,438 กม.
ในการเดินทางขึ้นภาคเหนือครั้งนั้นมีสมาชิกใหม่เพิ่มเติมเข้ามาหลายคน ที่สมควรบันทึกไว้ได้แก่คุณมัยภรณ์และคุณแกเร็ท ฮันเบอร์สมา (คุณมัยภรณ์เป็นแกนนำชัยภูมิที่จัดกิจกรรมต้อนรับเส้นทางสีแดงเมื่อไปอีสาน ส่วนคุณแกเร็ทเป็นสามีชาวคานาเดียนวัย 68 ที่เป็นฝรั่งเสื้อแดง อดีตเป็นผู้อำนวยการท่องเที่ยวของคานาดา) และคุณประดิษฐ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบที่ผมเคยไปเยี่ยมที่จ.สระบุรีและนำ Voice TV ไปสัมภาษณ์ (คณประดิษฐ์เป็นชาวอ.เถิน จ.ลำปาง ในวันที่ 10 เมย. 2553 ได้ร่วมกับคนเสื้อแดงปะทะกับทหารและเป็นหนึ่งในผู้ที่ไปยึดรถถังที่ผ่านฟ้า) รอ.ปรีชา เอกฉัตร อดีตนายทหารอากาศและพนักงานการบินไทยวัย 69 ปี ลุงแดน เหยี่ยวฟ้า นักปั่นอาวุโสวัย 74 ปีที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในสงครามเวียดนามมาแล้ว
ในการเตรียมกิจกรรมขึ้นภาคเหนือนี้ผมต้องรับผิดชอบทุกเรื่องตั้งแต่การกำหนดเส้นทาง การคัดเลือกนักปั่น การประชาสัมพันธ์ การหาทุนสนับสนุน ฯลฯ สำหรับการกำหนดเส้นทางนั้นผมใช้วิธีลากแผนที่จากกรุงเทพโดยไล่ทีละจังหวัด กำหนดระยะทางในแต่ละวันระหว่าง 80-100 กม. สำหรับการประชาสัมพันธ์นั้นเนื่องจากกิจกรรมนี้ได้แรงส่งจากความสำเร็จในภาคอีสาน เมื่อ Asia Update ประชาสัมพันธ์ผ่านตัววิ่งทำให้กิจกรรมนี้เป็นที่สนใจทั่วประเทศ
สำหรับเงินทุนที่ใช้ในโครงการนั้นก็เป็นเช่นเดิมคือใช้เงินส่วนตัวสำรองของผมจ่ายก่อนออกเดินทาง ส่วนเงินที่จะนำไปมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบก็จะมาจากการเปิดบัญชีเงินฝาก และตู้บริจาคเล็กๆที่ติดโครงการไปด้วยจนเป็นเอกลักษณ์ของกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาจนถึงบัดนี้
ในเดือนธันวาคมของปีนั้นผมจัดแรลลี่ในกรุงเทพประมาณ 2 ครั้ง คือในวันอาทิตย์ที่ 12 และ 26 มีผู้เข้าร่วมแรลลี่จำนวนมาก ขบวนแรลลี่จักรยาน มอเตอร์ไซด์ รถเก๋ง รถกระบะวิ่งไปตามถนนสายสำคัญๆของกรุงเทพไม่เว้นแม้แต่ถนนเยาวราช สีลม ซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจและย่านคนเสื้อเหลือง สมาชิกนักปั่นเส้นทางสีแดงไม่กี่คนปั่นจักรยานนำหน้าขบวน
ภาพที่ผมจำติดตาได้ไม่เคยลืมคือภาพที่ขบวนเส้นทางสีแดงผ่านเยาวราช มีคนเสื้อแดงที่หัวใจรักความเป็นธรรมโบกธงแดงออกมาจากหน้าต่างตึกแถวหลายคน มีพระรุปหนึ่งยืนอยู่ข้างทาง ท่านหยิบย่ามของท่านชูขึ้นมาให้ขบวนได้เห็น ที่ย่ามมีเข็มกลัดติดอยู่และมีโลโก้กลุ่มวันอาทิตย์เป็นรูปพระอาทิตย์สีแดงอย่างชัดเจน ในวันที่ประเทศถูกปกครองด้วยเผด็จการทหาร แม้กระทั่งพระยังรักประชาธิปไตยและสนับสนุนประชาชน ภาพนั้นมีค่าเกินหมื่นแสนคำบรรยาย
วันอาทิตย์ 9 มค. ผมได้จัดกิจกรรมแรลลี่เส้นทางสีแดงในกรุงเทพอีกครั้งเนื่องจากตรงกับวันที่นปช.นัดชุมนุมใหญ่ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ขบวนแรลลี่ในกรุงเทพวันนั้นได้ผ่านเส้นทางถนนพิษณุโลกที่มีกลุ่มม็อบคนไทยหัวใจรักชาติตั้งเตนท์อยู่บนฟุทบาทเพื่อเรียกร้องรัฐบาลในขณะนั้น (รัฐบาลเผด็จการอภิสิทธิ์-สุเทพ) ดำเนินการช่วยเหลือสองคนไทย (วีระ-ราตรี) ที่ถูกกัมพูชาจับตัวไป
เมื่อขบวนแรลลี่ผ่านปรากฏว่าแทนที่จะมีการกระทบกระทั่งกันของคนที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกลับกลายเป็นว่ากลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติได้โบกมือให้กับขบวนแรลลี่อย่างเป็นมิตร บางคนเอาน้ำมาให้ดื่ม บางคนมาขอจับมือพวกเรา ผมได้ถ่ายคลิปวีดีโอภาพที่น่าประทับใจนี้ไว้และนำมาเผยแพร่ใน youtube
ภายในระยะเวลาเพียง 3 วันคลิปนี้ก็มีคนเข้าไปดูกว่า 6,600 ครั้ง เหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าแปลกและน่าดีใจในสังคมไทยขณะนั้นเนื่องจากความขัดแย้งของคนสองสีเสื้อเป็นไปอย่างรุนแรง หลายคนคอมเมนท์ท้ายคลิปด้วยถ้อยคำที่สร้างสรรค์ ทำให้ผมตั้งใจที่จะนำขบวนแรลลี่เส้นทางสีแดงไปแวะทักทายม็อบต่างสีในวันเคลื่อนขบวนออกจากราชประสงค์ในวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554 โดยผมตั้งใจที่จะไปถ่ายคลิปบรรยากาศที่น่าชื่นใจนี้อีกครั้ง เจตนาจริงๆมีเพียงเท่านี้ ผมไม่เคยคิดเลยว่าเจตนาดีนี้จะนำความยุ่งยากและมีผลกระทบต่อกิจกรรมเส้นทางสีแดงอย่างรุนแรงในภายหลัง
คลิปเส้นทางสีแดงทักทายคนไทยหัวใจรักชาติ http://www.youtube.com/watch?v=sHo_EEUAAXQ
ผมใช้เวลาเตรียมกิจกรรมเส้นทางสีแดงภาคเหนือตลอดเดือนธันวาคมในปีนั้น ผมได้รับคำแนะนำในการเลือกเส้นทางและประสานงานแกนนำท้องถิ่นจากคุณใหญ่ สันติพงษ์ ลุงยิ้มตาสว่าง และคุณแดง แกนนำเชียงราย กิจกรรมนี้มีชื่อว่ากิจกรรม เส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-เชียงราย) ข้อเรียกร้องของกิจกรรมยังคงต่อเนื่องมาจากกิจกรรมที่อีสาน ข้อเรียกร้องหลักคือการให้ปล่อยตัวแกนนำและผู้ต้องขังนปช.
โครงการ : เส้นทางสีแดง : ราชประสงค์-เชียงราย
หลักการและเหตุผล :
โครงการเส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-หนองคาย) ได้ดำเนินสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดระยะเวลากว่า 31 วันของโครงการ ( ตั้งแต่ 31 ตค.-30 พย. ) คณะปั่นจักรยานเส้นทางสีแดงได้เดินทางกว่า 18 จังหวัดรวมระยะทางกว่า 1,700 กม.เพื่อไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจคนเสื้อแดงและได้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่ราชประสงค์ทั้งผู้ที่ถูกคุมขัง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ พิการ ผู้ที่พลัดพรากจากครอบครัว ฯลฯ โครงการเพื่อมนุษยธรรมนี้ได้รับความสนใจจากคนเสื้อแดงและสื่อมวลชนทั่วประเทศ ในทุกจังหวัดที่ขบวนปั่นจักรยานผ่านไปได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนเสื้อแดงให้กลับคืนมาจากความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ สังหารหมู่ 19 พค. โครงการเส้นทางสีแดงได้สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ทราบข่าวและเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้ผู้จัดกิจกรรมมีความตั้งใจที่จะขยายกิจกรรมนี้ออกไปทุกภูมิภาคของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายที่จะเดินทางไปภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคเหนือเหนือเป็นลำดับถัดไป
โครงการเส้นทางสีแดง (ราชประสงค์-เชียงราย) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อสานต่อภารกิจดังกล่าว โดยจะยึดแนวทางกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมเช่นนี้ต่อไป โดยจะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือตลอดระยะเวลา 28 วันของโครงการ
เป้าหมาย :
1. เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแกนนำนปช.และผู้ต้องขังในคดีชุมนุมทั่วประเทศ
2. เพื่อให้สังคมตระหนักถึงปัญหา 2 มาตรฐานทางกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
3. เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้นานาชาติตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยหลัง
เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549
4. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดทางให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิน ชินวัตรกลับประเทศโดยเร็วที่สุด
ระยะเวลา 16 มค.- 13 กพ. 2553 ( 28 วัน )
เส่นทาง : นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ( รวม 20 จังหวัด)
ระยะทาง 2,438 กม.
ในการเดินทางขึ้นภาคเหนือครั้งนั้นมีสมาชิกใหม่เพิ่มเติมเข้ามาหลายคน ที่สมควรบันทึกไว้ได้แก่คุณมัยภรณ์และคุณแกเร็ท ฮันเบอร์สมา (คุณมัยภรณ์เป็นแกนนำชัยภูมิที่จัดกิจกรรมต้อนรับเส้นทางสีแดงเมื่อไปอีสาน ส่วนคุณแกเร็ทเป็นสามีชาวคานาเดียนวัย 68 ที่เป็นฝรั่งเสื้อแดง อดีตเป็นผู้อำนวยการท่องเที่ยวของคานาดา) และคุณประดิษฐ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบที่ผมเคยไปเยี่ยมที่จ.สระบุรีและนำ Voice TV ไปสัมภาษณ์ (คณประดิษฐ์เป็นชาวอ.เถิน จ.ลำปาง ในวันที่ 10 เมย. 2553 ได้ร่วมกับคนเสื้อแดงปะทะกับทหารและเป็นหนึ่งในผู้ที่ไปยึดรถถังที่ผ่านฟ้า) รอ.ปรีชา เอกฉัตร อดีตนายทหารอากาศและพนักงานการบินไทยวัย 69 ปี ลุงแดน เหยี่ยวฟ้า นักปั่นอาวุโสวัย 74 ปีที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในสงครามเวียดนามมาแล้ว
ในการเตรียมกิจกรรมขึ้นภาคเหนือนี้ผมต้องรับผิดชอบทุกเรื่องตั้งแต่การกำหนดเส้นทาง การคัดเลือกนักปั่น การประชาสัมพันธ์ การหาทุนสนับสนุน ฯลฯ สำหรับการกำหนดเส้นทางนั้นผมใช้วิธีลากแผนที่จากกรุงเทพโดยไล่ทีละจังหวัด กำหนดระยะทางในแต่ละวันระหว่าง 80-100 กม. สำหรับการประชาสัมพันธ์นั้นเนื่องจากกิจกรรมนี้ได้แรงส่งจากความสำเร็จในภาคอีสาน เมื่อ Asia Update ประชาสัมพันธ์ผ่านตัววิ่งทำให้กิจกรรมนี้เป็นที่สนใจทั่วประเทศ
สำหรับเงินทุนที่ใช้ในโครงการนั้นก็เป็นเช่นเดิมคือใช้เงินส่วนตัวสำรองของผมจ่ายก่อนออกเดินทาง ส่วนเงินที่จะนำไปมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบก็จะมาจากการเปิดบัญชีเงินฝาก และตู้บริจาคเล็กๆที่ติดโครงการไปด้วยจนเป็นเอกลักษณ์ของกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาจนถึงบัดนี้
ในเดือนธันวาคมของปีนั้นผมจัดแรลลี่ในกรุงเทพประมาณ 2 ครั้ง คือในวันอาทิตย์ที่ 12 และ 26 มีผู้เข้าร่วมแรลลี่จำนวนมาก ขบวนแรลลี่จักรยาน มอเตอร์ไซด์ รถเก๋ง รถกระบะวิ่งไปตามถนนสายสำคัญๆของกรุงเทพไม่เว้นแม้แต่ถนนเยาวราช สีลม ซึ่งเป็นแหล่งธุรกิจและย่านคนเสื้อเหลือง สมาชิกนักปั่นเส้นทางสีแดงไม่กี่คนปั่นจักรยานนำหน้าขบวน
ภาพที่ผมจำติดตาได้ไม่เคยลืมคือภาพที่ขบวนเส้นทางสีแดงผ่านเยาวราช มีคนเสื้อแดงที่หัวใจรักความเป็นธรรมโบกธงแดงออกมาจากหน้าต่างตึกแถวหลายคน มีพระรุปหนึ่งยืนอยู่ข้างทาง ท่านหยิบย่ามของท่านชูขึ้นมาให้ขบวนได้เห็น ที่ย่ามมีเข็มกลัดติดอยู่และมีโลโก้กลุ่มวันอาทิตย์เป็นรูปพระอาทิตย์สีแดงอย่างชัดเจน ในวันที่ประเทศถูกปกครองด้วยเผด็จการทหาร แม้กระทั่งพระยังรักประชาธิปไตยและสนับสนุนประชาชน ภาพนั้นมีค่าเกินหมื่นแสนคำบรรยาย
วันอาทิตย์ 9 มค. ผมได้จัดกิจกรรมแรลลี่เส้นทางสีแดงในกรุงเทพอีกครั้งเนื่องจากตรงกับวันที่นปช.นัดชุมนุมใหญ่ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ขบวนแรลลี่ในกรุงเทพวันนั้นได้ผ่านเส้นทางถนนพิษณุโลกที่มีกลุ่มม็อบคนไทยหัวใจรักชาติตั้งเตนท์อยู่บนฟุทบาทเพื่อเรียกร้องรัฐบาลในขณะนั้น (รัฐบาลเผด็จการอภิสิทธิ์-สุเทพ) ดำเนินการช่วยเหลือสองคนไทย (วีระ-ราตรี) ที่ถูกกัมพูชาจับตัวไป
เมื่อขบวนแรลลี่ผ่านปรากฏว่าแทนที่จะมีการกระทบกระทั่งกันของคนที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกลับกลายเป็นว่ากลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติได้โบกมือให้กับขบวนแรลลี่อย่างเป็นมิตร บางคนเอาน้ำมาให้ดื่ม บางคนมาขอจับมือพวกเรา ผมได้ถ่ายคลิปวีดีโอภาพที่น่าประทับใจนี้ไว้และนำมาเผยแพร่ใน youtube
ภายในระยะเวลาเพียง 3 วันคลิปนี้ก็มีคนเข้าไปดูกว่า 6,600 ครั้ง เหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าแปลกและน่าดีใจในสังคมไทยขณะนั้นเนื่องจากความขัดแย้งของคนสองสีเสื้อเป็นไปอย่างรุนแรง หลายคนคอมเมนท์ท้ายคลิปด้วยถ้อยคำที่สร้างสรรค์ ทำให้ผมตั้งใจที่จะนำขบวนแรลลี่เส้นทางสีแดงไปแวะทักทายม็อบต่างสีในวันเคลื่อนขบวนออกจากราชประสงค์ในวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2554 โดยผมตั้งใจที่จะไปถ่ายคลิปบรรยากาศที่น่าชื่นใจนี้อีกครั้ง เจตนาจริงๆมีเพียงเท่านี้ ผมไม่เคยคิดเลยว่าเจตนาดีนี้จะนำความยุ่งยากและมีผลกระทบต่อกิจกรรมเส้นทางสีแดงอย่างรุนแรงในภายหลัง
คลิปเส้นทางสีแดงทักทายคนไทยหัวใจรักชาติ http://www.youtube.com/watch?v=sHo_EEUAAXQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น