21. ออกเดินทางครั้งประวัติศาสตร์
10 โมงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 8 มค. และแล้ว ... วันที่รอคอยก็มาถึง !
ผมและสมาชิกเส้นทางสีแดงเดินทางถึงราชประสงค์ มีเพื่อนหลายคนที่เคยแรลลี่ร่วมกันหลายครั้งเดินทางมาส่ง สื่อมวลชนจาก Voice TV และไทยรัฐได้มาสัมภาษณ์ หลังจากให้สัมภาษณ์เสร็จสิ้น ขบวนปั่นจักรยานครั้งประวัติศาสตร์ของคนเสื้อแดงได้ออกเดินทางจากราชประสงค์ในเวลาเที่ยงตรง เคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนด ถึงอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาบ่ายโมง ได้แวะถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าการเดินทางอีก 2,649 กม.ในอีก 35 วันข้างหน้ามีเป้าหมายเพื่อประชาธิปไตยของประเทศไทยอันเป็นที่รัก หลังจากนั้นได้ผ่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลาดพร้าว มุ่งหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพในเวลาบ่ายสามโมง นักปั่นจักรยานทุกคนได้ร่วมกันผูกผ้าแดงร่วมกับมวลชนที่มาส่งและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พวกเราแยกกับมวลชนที่มาส่งที่นี่ หลายคนขอจับมือและอวยพรให้เราเดินทางด้วยความปลอดภัย หลายคนน้ำตาซึม ผมรู้สึกใจหายเล็กๆที่จะต้องออกเดินทางไกลอีกครั้งถึงแม้ว่าจะผ่านประสพการณ์เช่นนี้มาหลายครั้ง สำหรับผู้ที่เคยทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงร่วมกันมา พวกเรามองตากันนิ่งและสื่อสารกันด้วยสายตามากกว่าคำพูด
คืนนั้นพวกเราค้างคืนที่วัดดอนเมือง เช้าวันถัดมาได้เดินทางมุ่งหน้าปทุมธานี แวะตลาดรังสิตเพื่อทักทายพี่น้องเสื้อแดง ถึงสถานีวิทยุเรือนไทยประมาณเที่ยงวัน ได้รับการต้อนรับโดยคุณพลท เฉลิมแสนและเจ้าหน้าที่ของสถานี มีนักจัดรายการวิทยุเพื่อประชาธิปไตยรุ่นอาวุโสที่มีชื่อเสียงในอดีต (คุณสามชัย ธีระพงษ์) มาถ่ายทอดประสพการณ์การต่อสู้ หลังจากนั้นพวกเราได้เดินทางไปที่วัดธรรมกายเพื่อพักค้างคืนภายในบริเวณมูลนิธิวัดธรรมกาย ได้มีสมาชิกเส้นทางสีแดงหลายคนตามมาสมทบเพื่อให้กำลังใจ เช่น รต.พิสิทธิ์ พิพุฒ และคุณศิริชัย เพชรแสง (น้องยุ่ง) พวกเราได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ พวกเราพบว่าทุกคนล้วนเป็นคนเสื้อแดงหรือชื่นชอบอุดมการณ์คนเสื้อแดง บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น พวกเราสนทนาถึงการเดินทางในอดีตอย่างสนุกสนาน
เช้าวันมาพวกเราได้ปั่นจักรยานไปจ.อยุธยา มีพี่น้องเสื้อแดงอยุธยาร่วมขบวนแรลลี่ไปที่วัดพนัญเชิง มีอดีตปลัดอำเภอที่เกษียณแล้วท่านหนึ่งมาขอร่วมทางด้วยโดยมอเตอร์ไซด์ ที่นี่ผมพบอดีตการ์ดเสื้อแดงและผู้ร่วมชุมนุมราชประสงค์ในปี 2553 หลายคน ที่น่าประทับใจคือพบคุณยายท่านหนึ่งอายุร่วม 70 ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุม คุณยายเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ในวัดปทุมวันที่ 19 พค.2553 ว่าตอนที่ทหารยิงเข้ามาคนเสื้อแดงไม่มีอาวุธที่จะตอบโต้ สิ่งที่คุณยายทำได้คือการนำน้ำยาล้างห้องน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดมาผสมกับน้ำและใส่ถุงปาเข้าใส่ทหาร ผมได้ยินเรื่องนี้มานานไม่คิดว่าจะไ้ด้มาเจอกับเจ้าของเรื่องนี้ด้วยตัวเอง !
ตกค่ำมีงานเลี้ยงต้อนรับคณะปั่นจักรยานเสนทางสีแดงโดยสถานีวิทยุศรีรามและกลุ่มคนกรุงเก่าไม่เอาเผด็จการ สิ่งที่น่าประทับใจคือพวกเราพบว่ามวลชนของที่นี่เข้มแข็งมาก พวกเขาสามารถจัดชุมนุมด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากส่วนกลาง ผู้ร่วมจัดกิจกรรมสามารถขึ้นเวทีปราศัยได้ไม่น้อยหน้าแกนนำนปช. มวลชนหลายคนขึ้นไปร้องเพลงสร้างความบันเทิงไม่น้อยหน้าศิลปินอาชีพ หลายคนไปพบกับพวกเราหลังเวทีเพื่อร่วมลงชื่อในป้ายโครงการที่เราจะนำไปมอบให้ "เพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่กัมพูชา"
การเดินทางสามวันแรกรวมระยะทางตามปูมเดินทางคือ 176 กม.แต่การเดินทางจริงๆแล้วมากกว่านั้น สมควรบันทึกไว้ด้วยว่าในการเดินทางครั้งนี้ได้มีสมาชิกนักปั่นใหม่คนหนึ่งร่วมทางด้วยตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายที่พนมเปญ นักปั่นท่านนี้มีอายุ 60 ปีอดีตเป็นตำรวจพลร่ม เขาเคยร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้า เคยถูกศอฉ.จับกุมและนำตัวไปคุมขังที่คุกมืดแห่งหนึ่งหลายสิบวัน เขาเล่าว่าได้รับการทรมานหลายอย่างเพื่อบังคับให้รับสารภาพว่าเป็นชายชุดดำที่ยิงใส่ทหารในวันที่ 10 เมย. เขาเล่าว่าวิธีการทรมานคือการจับมัดใส่ขื่อและมีน้ำหยดลงบนศีรษะเพื่อประทังชีวิต เขาเล่าว่าเขาปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงและบอกกับพวกเราว่าศอฉ.ได้จับกุมตามข่าวลือที่ออกมาทางอินเทอร์เนท ผมแน่ใจว่าเรื่องที่เขาเล่านี้เป็นเรื่องจริงในวันที่ 4 กพ. (หรือหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมกันมากว่าสองพันกิโล) ในงานเลี้ยงรับรองที่อ.ขุนหาญ จ.ศรีษะเกษโดยสส.ท่านหนึ่ง ผู้ติดตามสส.คนหนึ่งกล่าวในงานว่าจำอดีตผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นชายชุดดำคนนี้ได้เนื่องจากเคยอ่านข่าวนี้จากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มีรูปตรงกับที่เคยเห็น ... ชื่อเล่นของนักปั่นท่านนี้คือ "พี่โต้ง ดอนเมือง"
หมายเหตุ : กิจกรรมนี้เริ่มต้นด้วยเงินจำนวน 2,000 บาทที่คุณอ้อนจากเฟซบุ้คมอบให้สำหรับจัดทำเสื้อโครงการ เพื่อนในเฟซบุ้คหลายท่านได้โอนเงินให้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางและมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบ จึงขอขอบคุณในน้ำใจที่ได้ให้กับเส้นทางสีแดง ขอความเข้มแข็ง ความเสียสละอยู่กับท่านตลอดไป.
10 โมงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 8 มค. และแล้ว ... วันที่รอคอยก็มาถึง !
ผมและสมาชิกเส้นทางสีแดงเดินทางถึงราชประสงค์ มีเพื่อนหลายคนที่เคยแรลลี่ร่วมกันหลายครั้งเดินทางมาส่ง สื่อมวลชนจาก Voice TV และไทยรัฐได้มาสัมภาษณ์ หลังจากให้สัมภาษณ์เสร็จสิ้น ขบวนปั่นจักรยานครั้งประวัติศาสตร์ของคนเสื้อแดงได้ออกเดินทางจากราชประสงค์ในเวลาเที่ยงตรง เคลื่อนขบวนไปตามเส้นทางที่กำหนด ถึงอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาบ่ายโมง ได้แวะถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าการเดินทางอีก 2,649 กม.ในอีก 35 วันข้างหน้ามีเป้าหมายเพื่อประชาธิปไตยของประเทศไทยอันเป็นที่รัก หลังจากนั้นได้ผ่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลาดพร้าว มุ่งหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพในเวลาบ่ายสามโมง นักปั่นจักรยานทุกคนได้ร่วมกันผูกผ้าแดงร่วมกับมวลชนที่มาส่งและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พวกเราแยกกับมวลชนที่มาส่งที่นี่ หลายคนขอจับมือและอวยพรให้เราเดินทางด้วยความปลอดภัย หลายคนน้ำตาซึม ผมรู้สึกใจหายเล็กๆที่จะต้องออกเดินทางไกลอีกครั้งถึงแม้ว่าจะผ่านประสพการณ์เช่นนี้มาหลายครั้ง สำหรับผู้ที่เคยทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงร่วมกันมา พวกเรามองตากันนิ่งและสื่อสารกันด้วยสายตามากกว่าคำพูด
คืนนั้นพวกเราค้างคืนที่วัดดอนเมือง เช้าวันถัดมาได้เดินทางมุ่งหน้าปทุมธานี แวะตลาดรังสิตเพื่อทักทายพี่น้องเสื้อแดง ถึงสถานีวิทยุเรือนไทยประมาณเที่ยงวัน ได้รับการต้อนรับโดยคุณพลท เฉลิมแสนและเจ้าหน้าที่ของสถานี มีนักจัดรายการวิทยุเพื่อประชาธิปไตยรุ่นอาวุโสที่มีชื่อเสียงในอดีต (คุณสามชัย ธีระพงษ์) มาถ่ายทอดประสพการณ์การต่อสู้ หลังจากนั้นพวกเราได้เดินทางไปที่วัดธรรมกายเพื่อพักค้างคืนภายในบริเวณมูลนิธิวัดธรรมกาย ได้มีสมาชิกเส้นทางสีแดงหลายคนตามมาสมทบเพื่อให้กำลังใจ เช่น รต.พิสิทธิ์ พิพุฒ และคุณศิริชัย เพชรแสง (น้องยุ่ง) พวกเราได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ พวกเราพบว่าทุกคนล้วนเป็นคนเสื้อแดงหรือชื่นชอบอุดมการณ์คนเสื้อแดง บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น พวกเราสนทนาถึงการเดินทางในอดีตอย่างสนุกสนาน
เช้าวันมาพวกเราได้ปั่นจักรยานไปจ.อยุธยา มีพี่น้องเสื้อแดงอยุธยาร่วมขบวนแรลลี่ไปที่วัดพนัญเชิง มีอดีตปลัดอำเภอที่เกษียณแล้วท่านหนึ่งมาขอร่วมทางด้วยโดยมอเตอร์ไซด์ ที่นี่ผมพบอดีตการ์ดเสื้อแดงและผู้ร่วมชุมนุมราชประสงค์ในปี 2553 หลายคน ที่น่าประทับใจคือพบคุณยายท่านหนึ่งอายุร่วม 70 ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุม คุณยายเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ในวัดปทุมวันที่ 19 พค.2553 ว่าตอนที่ทหารยิงเข้ามาคนเสื้อแดงไม่มีอาวุธที่จะตอบโต้ สิ่งที่คุณยายทำได้คือการนำน้ำยาล้างห้องน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดมาผสมกับน้ำและใส่ถุงปาเข้าใส่ทหาร ผมได้ยินเรื่องนี้มานานไม่คิดว่าจะไ้ด้มาเจอกับเจ้าของเรื่องนี้ด้วยตัวเอง !
ตกค่ำมีงานเลี้ยงต้อนรับคณะปั่นจักรยานเสนทางสีแดงโดยสถานีวิทยุศรีรามและกลุ่มคนกรุงเก่าไม่เอาเผด็จการ สิ่งที่น่าประทับใจคือพวกเราพบว่ามวลชนของที่นี่เข้มแข็งมาก พวกเขาสามารถจัดชุมนุมด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากส่วนกลาง ผู้ร่วมจัดกิจกรรมสามารถขึ้นเวทีปราศัยได้ไม่น้อยหน้าแกนนำนปช. มวลชนหลายคนขึ้นไปร้องเพลงสร้างความบันเทิงไม่น้อยหน้าศิลปินอาชีพ หลายคนไปพบกับพวกเราหลังเวทีเพื่อร่วมลงชื่อในป้ายโครงการที่เราจะนำไปมอบให้ "เพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่กัมพูชา"
การเดินทางสามวันแรกรวมระยะทางตามปูมเดินทางคือ 176 กม.แต่การเดินทางจริงๆแล้วมากกว่านั้น สมควรบันทึกไว้ด้วยว่าในการเดินทางครั้งนี้ได้มีสมาชิกนักปั่นใหม่คนหนึ่งร่วมทางด้วยตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายที่พนมเปญ นักปั่นท่านนี้มีอายุ 60 ปีอดีตเป็นตำรวจพลร่ม เขาเคยร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้า เคยถูกศอฉ.จับกุมและนำตัวไปคุมขังที่คุกมืดแห่งหนึ่งหลายสิบวัน เขาเล่าว่าได้รับการทรมานหลายอย่างเพื่อบังคับให้รับสารภาพว่าเป็นชายชุดดำที่ยิงใส่ทหารในวันที่ 10 เมย. เขาเล่าว่าวิธีการทรมานคือการจับมัดใส่ขื่อและมีน้ำหยดลงบนศีรษะเพื่อประทังชีวิต เขาเล่าว่าเขาปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงและบอกกับพวกเราว่าศอฉ.ได้จับกุมตามข่าวลือที่ออกมาทางอินเทอร์เนท ผมแน่ใจว่าเรื่องที่เขาเล่านี้เป็นเรื่องจริงในวันที่ 4 กพ. (หรือหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมกันมากว่าสองพันกิโล) ในงานเลี้ยงรับรองที่อ.ขุนหาญ จ.ศรีษะเกษโดยสส.ท่านหนึ่ง ผู้ติดตามสส.คนหนึ่งกล่าวในงานว่าจำอดีตผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นชายชุดดำคนนี้ได้เนื่องจากเคยอ่านข่าวนี้จากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มีรูปตรงกับที่เคยเห็น ... ชื่อเล่นของนักปั่นท่านนี้คือ "พี่โต้ง ดอนเมือง"
หมายเหตุ : กิจกรรมนี้เริ่มต้นด้วยเงินจำนวน 2,000 บาทที่คุณอ้อนจากเฟซบุ้คมอบให้สำหรับจัดทำเสื้อโครงการ เพื่อนในเฟซบุ้คหลายท่านได้โอนเงินให้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางและมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบ จึงขอขอบคุณในน้ำใจที่ได้ให้กับเส้นทางสีแดง ขอความเข้มแข็ง ความเสียสละอยู่กับท่านตลอดไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น