22. มุ่งหน้าอีสานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
คืนนั้นพวกเราพักที่วัดแห่งหนึ่งในจ.อยุธยา ผู้กองเต่าต้องกลับไปปฏิบัติภารกิจที่กรุงเทพ พวกเรานัดพบกันที่อุบลเพื่อที่จะเดินทางไปเขาพระวิหารพร้อมกัน เช้าวันที่ 11 มค.พวกเราปั่นจักรยานมุ่งหน้าจ.สระบุรี กลางวันแวะพักที่วัดพระพุทธบาทและเปลี่ยนยางทุกเส้นสำหรับการเดินทางสองพันกว่ากิโลทีรออยู่ข้างหน้า คณะปั่นจักรยานถึงอ.บ้านหมอ จ.สระบุรี พร้อมกับขบวนแรลลี่ของคนเสื้อแดงที่มารอต้อนรับ ที่อ.บ้านหมอมีงานเลี้ยงต้อนรับที่บ้านของสจ.ใหญ่ซึ่งเปิดบ้านพักรับรองและลงมือทำกับข้าวด้วยตนเอง งานเลี้ยงรับรองเป็นไปอย่างอบอุ่น มีคนเสื้อแดงจากอ.บ้านหมอและอ.เมืองสระบุรีมาร่วมงานนับร้อยคน ที่นี่พวกเราได้ขึ้นเวทีแนะนำกิจกรรม คุณลุงปรีชาลงทุนคาดผ้าขาวม้าถือตู้บริจาคเพื่อเดินรับน้ำใจจากพี่น้องเสื้อแดงที่ร่วมกันมอบเงินบริจาคให้กับผู้ได้รับผลกระทบที่อีสาน ระยะทางในการปั่นจักรยานวันนั้น 85 กม.
เช้าวันที่ 12 มค.พวกเราออกจากอ.บ้านหมอ สระบุรีมุ่งหน้าอ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ถึงด่านขุนทดในเวลาเย็น ได้พักกับชาวบ้านที่เห็นพวกเราปั่นจักรยานในเวลาไกล้ค่ำ อากาศที่ด่านขุนทดหนาวและลมแรงมากจนต้องก่อไฟเพื่อแก้หนาวตั้งแต่ยังไม่พลบค่ำ ไม่เกินสองทุ่มต้องเข้านอน ลมพัดหลังคาสังกะสีสั่นไหวอยู่นับชั่วโมง ระยะทางในการปั่นจักรยานตามที่กำหนดไว้คือ 100 กม.
เช้าวันที่ 13 มค.ก่อนออกเดินทางผมได้ถ่ายรูปกับชาวบ้านไว้เป็นที่ระลึก สำหรับผมภาพนี้เป็นภาพที่เป็นธรรมชาติและแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำกิจกรรมที่สัมผัสกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างไกล้ชิด พวกเราปั่นจักรยานมุ่งหน้าอ.พิมาย ระยะทางที่กำหนดไว้คือ 101 กม.แต่พอเดินทางจริงๆไกลกว่านั้นมาก ราวบ่ายสามโมงพวกเราต้องพักเหนื่อยริมถนนเล็กๆนั่งดูชาวบ้านวิดปลา ความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปสู่ชนบทในอดีต รอบตัวมีแต่ทุ่งนา แสงแดดและเสียงวิทยุทรานซิสเตอร์
พวกเราถึงอ.พิมายในเวลาเกือบทุ่มในสภาพเหนื่อยหอบ มีชาวบ้านมายืนรอต้อนรับที่หน้าปราสาทหินพิมายนับร้อยคน มีสื่อมวลชนท้องถิ่นมายืนรอสัมภาษณ์ทั้งหนังสือพิมพ์และเคเบิล้ท้องถิ่น ผมต้องขออนุญาตพักเหนื่อยและดื่มน้ำเพราะหายใจไม่ทัน ชาวบ้านต้องเอาน้ำมาให้ดื่มและเช็ดหน้าให้
คืนนั้นมีงานเลี้ยงรับรองที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านซึ่งเปิดบ้านรับรองพวกเราโดยการประสานงานของสมาชิกอบต.ชื่อคุณแดง ผมพบว่าคนเสื้อแดงที่นี่เข้มแข็งและเหนียวแน่น บางคนเป็นอดีตข้าราชการครู บางคนเป็นตำรวจซึ่งมาในเครื่องแบบ มีการสอบถามแบบส่วนตัวจากนักข่าวท้องถิ่นเนื่องจากทราบว่าผมเคยไปขึ้นเวทีคนไทยหัวใจรักชาติเมื่อต้นปีก่อน เขาถามว่าทำไมไม่ใส่เสื้อสีอื่นที่ไม่ใช่สีแดงและทำกิจกรรมเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทุกสีเสื้อ ผมไม่แน่ใจว่าเขาลองใจผมหรือไม่ แต่ผมตอบไปว่าผมเป็นคนเสื้อแดงและจะใส่เฉพาะเสื้อสีแดงในการทำกิจกรรมเพื่อแสดงว่าผมมั่นคงต่ออุดมการณ์ แต่ผมยินดีที่จะไปเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทุกสีเสื้อหากได้รับการประสานมา ผมเข้าใจว่าคำตอบนั้นคงจะทำให้พี่น้องเสื้อแดงหลายคนที่พิมายเกิดความกระจ่างในจุดยืนของผมและเส้นทางสีแดง ทุกคนพอใจกับคำตอบนี้
งานเลี้ยงในวันนั้นเป็นไปอย่างอบอุ่น รอ.ปรีชาได้มีโอกาสเจอกับเพื่อนในชมรม SRP ที่คุ้นเคยกันเป็นครั้งแรก มีคนเสื้อแดงมาจากหมู่บ้านต่างๆในอ.พิมายหลายสิบคน มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งมอบพระเครื่องให้ 1 องค์และเชิญพวกเราไปเยี่ยมที่หมู่บ้านเขาในวันรุ่งขึ้น ระยะทางในการปั่นจักรยานวันนั้นไม่ต่ำกว่า 140 กม.และน่าจะเป็นระยะทางไกลที่สุดที่ผมเคยปั่นมาในหนึ่งวันตั้งแต่มาเป็นนักกิจกรรม
เช้าวันที่ 14 มค.ซึ่่งครบ 1 สัปดาห์ของการทำกิจกรรม พวกเราออกเดินทางมุ่งหน้าหมู่บ้านเก่าพัฒนา อ.พิมายตามคำเชิญ พบว่ามีกิจกรรมเล็กๆของหมู่บ้านและมีคนเสื้อแดงมารอหลายสิบคน พวกเราได้รับประทานอาหารเช้ากับชาวบ้านพร้อมกับถ่ายรูปเป็นที่ระลึก มีชาวบ้านที่ใส่เสื้อเหลืองมาร่วมงาน 1 คนและมอบเงินบริจาคให้กับพี่น้องของเขาที่อีสาน ผมไม่พลาดที่จะเก็บภาพนั้นเป็นที่ระลึก ผู้สูงอายุบางคนกอดผมแน่นก่อนจะจากกัน จากนั้นพวกเราได้ออกเดินทางไปอ.บัวใหญ่เพื่อเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบรายแรก ถึงอ.บัวใหญ่ประมาณเที่ยงตรง มีกำนันนุมาคอยต้อนรับ กำนันนุเป็นแกนนำชาวบ้านที่นี่ (ผมพบกำนันนุเป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกพบเมื่อเดือนพย.2553 ที่อ.บัวลาย ขณะนั้นมาทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงครั้งแรก) กำนันนุพาไปเยี่ยมคุณยายของคุณอ้วน บัวใหญ่ (หรือคุณศักดิ์นรินทร์ กองแก้ว) อดีตการ์ดนปช.ที่ถูกยิงเสียชีวิตปริศนาหน้าบ้านของตนเองหลังเวทีแตก ผมได้มอบเงินบริจาคที่ได้รับให้กับคุณยายของอ้วนบัวใหญ่จำนวน 1,000 บาทพร้อมกับถ่ายรุปกับคุณยายและหลานชายของอ้วน บัวใหญ่เป็นที่ระลึก
บ่ายวันนั้นพวกเราออกเดินทางจากอ.บัวใหญ่มุ่งหน้าจ.ชัยภูมิเป็นเป้าหมายถัดไป มีพี่น้องเสื้อแดงชัยภูมิมารอให้น้ำระหว่างทาง ถึงชัยภูมิประมาณบ่าย 4 โมง เข้าพักที่บ้านของอาจารย์มัยภรณ์ และคุณ Gerrit Hunbersma สมาชิกของเส้นทางสีแดงที่เคยเดินทางไปภาคเหนือด้วยกันเมื่อต้นปี 2554 ทั้งสองท่านพาเราไปร่วมงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ผมไม่สามารถอยู่ได้นานนักเพราะเจ็บตาเนื่องจากติดเชื้อจากการใส่คอนเทคเลนส์ น้ำตาไหลตลอดเวลาและตามีอาการบวมมาก คุณ Gerrit พาไปร้านขายยาเพื่อซื้อยาหยอดตา อาการเจ็บตาเพราะตาอักเสบนี้เป็นตั้งแต่วันแรกที่ออกเดินทางจนต้องใส่แว่นสายตาในการทำกิจกรรมชั่วคราว
ระยะทางในการปั่นจักรยานในวันนั้นคือ 52 กม. รวมระยะทางในการปั่นจักรยานในสัปดาห์แรก 514 กม.และตั้งแต่พรุ่งนี้พวกเราจะเข้าอีสานเต็มตัวและเริ่มภารกิจเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง
คืนนั้นพวกเราพักที่วัดแห่งหนึ่งในจ.อยุธยา ผู้กองเต่าต้องกลับไปปฏิบัติภารกิจที่กรุงเทพ พวกเรานัดพบกันที่อุบลเพื่อที่จะเดินทางไปเขาพระวิหารพร้อมกัน เช้าวันที่ 11 มค.พวกเราปั่นจักรยานมุ่งหน้าจ.สระบุรี กลางวันแวะพักที่วัดพระพุทธบาทและเปลี่ยนยางทุกเส้นสำหรับการเดินทางสองพันกว่ากิโลทีรออยู่ข้างหน้า คณะปั่นจักรยานถึงอ.บ้านหมอ จ.สระบุรี พร้อมกับขบวนแรลลี่ของคนเสื้อแดงที่มารอต้อนรับ ที่อ.บ้านหมอมีงานเลี้ยงต้อนรับที่บ้านของสจ.ใหญ่ซึ่งเปิดบ้านพักรับรองและลงมือทำกับข้าวด้วยตนเอง งานเลี้ยงรับรองเป็นไปอย่างอบอุ่น มีคนเสื้อแดงจากอ.บ้านหมอและอ.เมืองสระบุรีมาร่วมงานนับร้อยคน ที่นี่พวกเราได้ขึ้นเวทีแนะนำกิจกรรม คุณลุงปรีชาลงทุนคาดผ้าขาวม้าถือตู้บริจาคเพื่อเดินรับน้ำใจจากพี่น้องเสื้อแดงที่ร่วมกันมอบเงินบริจาคให้กับผู้ได้รับผลกระทบที่อีสาน ระยะทางในการปั่นจักรยานวันนั้น 85 กม.
เช้าวันที่ 12 มค.พวกเราออกจากอ.บ้านหมอ สระบุรีมุ่งหน้าอ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ถึงด่านขุนทดในเวลาเย็น ได้พักกับชาวบ้านที่เห็นพวกเราปั่นจักรยานในเวลาไกล้ค่ำ อากาศที่ด่านขุนทดหนาวและลมแรงมากจนต้องก่อไฟเพื่อแก้หนาวตั้งแต่ยังไม่พลบค่ำ ไม่เกินสองทุ่มต้องเข้านอน ลมพัดหลังคาสังกะสีสั่นไหวอยู่นับชั่วโมง ระยะทางในการปั่นจักรยานตามที่กำหนดไว้คือ 100 กม.
เช้าวันที่ 13 มค.ก่อนออกเดินทางผมได้ถ่ายรูปกับชาวบ้านไว้เป็นที่ระลึก สำหรับผมภาพนี้เป็นภาพที่เป็นธรรมชาติและแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำกิจกรรมที่สัมผัสกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างไกล้ชิด พวกเราปั่นจักรยานมุ่งหน้าอ.พิมาย ระยะทางที่กำหนดไว้คือ 101 กม.แต่พอเดินทางจริงๆไกลกว่านั้นมาก ราวบ่ายสามโมงพวกเราต้องพักเหนื่อยริมถนนเล็กๆนั่งดูชาวบ้านวิดปลา ความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปสู่ชนบทในอดีต รอบตัวมีแต่ทุ่งนา แสงแดดและเสียงวิทยุทรานซิสเตอร์
พวกเราถึงอ.พิมายในเวลาเกือบทุ่มในสภาพเหนื่อยหอบ มีชาวบ้านมายืนรอต้อนรับที่หน้าปราสาทหินพิมายนับร้อยคน มีสื่อมวลชนท้องถิ่นมายืนรอสัมภาษณ์ทั้งหนังสือพิมพ์และเคเบิล้ท้องถิ่น ผมต้องขออนุญาตพักเหนื่อยและดื่มน้ำเพราะหายใจไม่ทัน ชาวบ้านต้องเอาน้ำมาให้ดื่มและเช็ดหน้าให้
คืนนั้นมีงานเลี้ยงรับรองที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านซึ่งเปิดบ้านรับรองพวกเราโดยการประสานงานของสมาชิกอบต.ชื่อคุณแดง ผมพบว่าคนเสื้อแดงที่นี่เข้มแข็งและเหนียวแน่น บางคนเป็นอดีตข้าราชการครู บางคนเป็นตำรวจซึ่งมาในเครื่องแบบ มีการสอบถามแบบส่วนตัวจากนักข่าวท้องถิ่นเนื่องจากทราบว่าผมเคยไปขึ้นเวทีคนไทยหัวใจรักชาติเมื่อต้นปีก่อน เขาถามว่าทำไมไม่ใส่เสื้อสีอื่นที่ไม่ใช่สีแดงและทำกิจกรรมเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทุกสีเสื้อ ผมไม่แน่ใจว่าเขาลองใจผมหรือไม่ แต่ผมตอบไปว่าผมเป็นคนเสื้อแดงและจะใส่เฉพาะเสื้อสีแดงในการทำกิจกรรมเพื่อแสดงว่าผมมั่นคงต่ออุดมการณ์ แต่ผมยินดีที่จะไปเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทุกสีเสื้อหากได้รับการประสานมา ผมเข้าใจว่าคำตอบนั้นคงจะทำให้พี่น้องเสื้อแดงหลายคนที่พิมายเกิดความกระจ่างในจุดยืนของผมและเส้นทางสีแดง ทุกคนพอใจกับคำตอบนี้
งานเลี้ยงในวันนั้นเป็นไปอย่างอบอุ่น รอ.ปรีชาได้มีโอกาสเจอกับเพื่อนในชมรม SRP ที่คุ้นเคยกันเป็นครั้งแรก มีคนเสื้อแดงมาจากหมู่บ้านต่างๆในอ.พิมายหลายสิบคน มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งมอบพระเครื่องให้ 1 องค์และเชิญพวกเราไปเยี่ยมที่หมู่บ้านเขาในวันรุ่งขึ้น ระยะทางในการปั่นจักรยานวันนั้นไม่ต่ำกว่า 140 กม.และน่าจะเป็นระยะทางไกลที่สุดที่ผมเคยปั่นมาในหนึ่งวันตั้งแต่มาเป็นนักกิจกรรม
เช้าวันที่ 14 มค.ซึ่่งครบ 1 สัปดาห์ของการทำกิจกรรม พวกเราออกเดินทางมุ่งหน้าหมู่บ้านเก่าพัฒนา อ.พิมายตามคำเชิญ พบว่ามีกิจกรรมเล็กๆของหมู่บ้านและมีคนเสื้อแดงมารอหลายสิบคน พวกเราได้รับประทานอาหารเช้ากับชาวบ้านพร้อมกับถ่ายรูปเป็นที่ระลึก มีชาวบ้านที่ใส่เสื้อเหลืองมาร่วมงาน 1 คนและมอบเงินบริจาคให้กับพี่น้องของเขาที่อีสาน ผมไม่พลาดที่จะเก็บภาพนั้นเป็นที่ระลึก ผู้สูงอายุบางคนกอดผมแน่นก่อนจะจากกัน จากนั้นพวกเราได้ออกเดินทางไปอ.บัวใหญ่เพื่อเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบรายแรก ถึงอ.บัวใหญ่ประมาณเที่ยงตรง มีกำนันนุมาคอยต้อนรับ กำนันนุเป็นแกนนำชาวบ้านที่นี่ (ผมพบกำนันนุเป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกพบเมื่อเดือนพย.2553 ที่อ.บัวลาย ขณะนั้นมาทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงครั้งแรก) กำนันนุพาไปเยี่ยมคุณยายของคุณอ้วน บัวใหญ่ (หรือคุณศักดิ์นรินทร์ กองแก้ว) อดีตการ์ดนปช.ที่ถูกยิงเสียชีวิตปริศนาหน้าบ้านของตนเองหลังเวทีแตก ผมได้มอบเงินบริจาคที่ได้รับให้กับคุณยายของอ้วนบัวใหญ่จำนวน 1,000 บาทพร้อมกับถ่ายรุปกับคุณยายและหลานชายของอ้วน บัวใหญ่เป็นที่ระลึก
บ่ายวันนั้นพวกเราออกเดินทางจากอ.บัวใหญ่มุ่งหน้าจ.ชัยภูมิเป็นเป้าหมายถัดไป มีพี่น้องเสื้อแดงชัยภูมิมารอให้น้ำระหว่างทาง ถึงชัยภูมิประมาณบ่าย 4 โมง เข้าพักที่บ้านของอาจารย์มัยภรณ์ และคุณ Gerrit Hunbersma สมาชิกของเส้นทางสีแดงที่เคยเดินทางไปภาคเหนือด้วยกันเมื่อต้นปี 2554 ทั้งสองท่านพาเราไปร่วมงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ผมไม่สามารถอยู่ได้นานนักเพราะเจ็บตาเนื่องจากติดเชื้อจากการใส่คอนเทคเลนส์ น้ำตาไหลตลอดเวลาและตามีอาการบวมมาก คุณ Gerrit พาไปร้านขายยาเพื่อซื้อยาหยอดตา อาการเจ็บตาเพราะตาอักเสบนี้เป็นตั้งแต่วันแรกที่ออกเดินทางจนต้องใส่แว่นสายตาในการทำกิจกรรมชั่วคราว
ระยะทางในการปั่นจักรยานในวันนั้นคือ 52 กม. รวมระยะทางในการปั่นจักรยานในสัปดาห์แรก 514 กม.และตั้งแต่พรุ่งนี้พวกเราจะเข้าอีสานเต็มตัวและเริ่มภารกิจเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น