18. โครงการเส้นทางสีแดงต้านรัฐประหาร (Red Path No Coup Project)
หลังจากกลับจากภาคเหนือ ผมและสมาชิกในกลุ่มเส้นทางสีแดงได้รับเชิญไปร่วมเสวนากับศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลอีกครั้ง พวกเราได้นำประสพการณ์การขึ้นเวทีคนไทยหัวใจรักชาติไปบอกเล่าให้กับผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีทั้งแดงและเหลือง สิ่งที่ทำความชื่นใจให้กับพวกเราคือกำลังใจและความรู้สีกที่ดีของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ และทำให้ได้รู้ว่าข่าวการขึ้นเวทีในวันนั้นได้จุดประกายความหวังเล็กๆของคนในสังคมที่ไม่สังกัดสีเสื้อว่าสังคมไทยอาจจะมีแนวโน้มของการปรองดองได้
ในวันที่ 9 พค.2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ประกาศยุบสภาและบรรยากาศการเมืองได้เข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ผมได้เตรียมตัวที่จะทำโครงการใหญ่ที่สุดที่เคยทำมา นั่นคือโครงการเส้นทางสีแดงต้านรัฐประหาร ( Red Path No Coup ) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทั่วประเทศเพื่อเยียมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยมีเป้าหมายคือการรณรงค์เลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม โครงการนี้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทำมาเนื่องจากต้องปั่นจักรยานถึง 3,793 กม. ใช้ระยะเวลา 42 วัน !
กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติ มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาการทำกิจกรรมที่ทรหดและอดทนอย่างที่สุดผมได้เขียนบันทึกและถ่ายคลิปกิจกรรมมาเผยแพร่ทางเวปไซด์ไทยอีนิวส์ ทำให้กิจกรรมนี้เป็นที่รู้จักในโลกไซเบอร์มากยิ่งขึ้น และผมขอนำบันทึกที่ผมได้เขียนรวมถึงคลิปที่น่าสนใจใส่ไว้ในบันทึกนี้เพื่อเป็นหลักฐานการทำกิจกรรม
ก่อนออกเดินทางผมได้แต่งบทเพลงซึ่งผมเรียกว่า "ลำนำเส้นทางสีแดง (Red Path Song)" เพื่อบรรยายความรู้สึกของนักกิจกรรมที่อุทิศตนให้กับอุดมการณ์ของคนเสื้อแดง ดังนี้
ราชประสงค์แตก คนเสื้อแดง ไร้คนเหลียวแล
ในประเทศว่าก่อการร้าย นอกประเทศก็ไม่ใยดี
เส้นทางสีแดงได้รับแรงบันดาลใจจากบก.ลายจุด ... ลุกขึ้นมาสู้
ปั่นจักรยาน 4,138 กม.ไปเยี่ยมพี่น้องที่สูญเสีย
บ้างลูกถูกยิงตาย บ้างพ่อติดคุก บ้างพิการ เด็กๆเป็นกำพร้า
ปั่นจักรยานแสนไกล ขอข้าวชาวบ้านกิน นอนวัดกับพระ
เพียงเพื่อไปพบพาพี่น้องที่ไม่เคยเห็นมาชั่วชีวิต
ลำบากยากไร้ ใส่ร้ายป้ายสี ... จะไม่ย่อท้อ
ขอเพียงได้เห็นรอยยิ้มคนเสื้อแดง กลับมาอีกครั้ง
พวกเขาจะปั่นอีกไกลแสนไกล เพื่อตามหาพี่้น้องของเขา
ทั่วประเทศไทย ... จนกว่า หมดลมหายใจ
( เรียบเรียงโดย ฟอร์ด เส้นทางสีแดง)
หลังจากกลับจากภาคเหนือ ผมและสมาชิกในกลุ่มเส้นทางสีแดงได้รับเชิญไปร่วมเสวนากับศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลอีกครั้ง พวกเราได้นำประสพการณ์การขึ้นเวทีคนไทยหัวใจรักชาติไปบอกเล่าให้กับผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีทั้งแดงและเหลือง สิ่งที่ทำความชื่นใจให้กับพวกเราคือกำลังใจและความรู้สีกที่ดีของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ และทำให้ได้รู้ว่าข่าวการขึ้นเวทีในวันนั้นได้จุดประกายความหวังเล็กๆของคนในสังคมที่ไม่สังกัดสีเสื้อว่าสังคมไทยอาจจะมีแนวโน้มของการปรองดองได้
ในวันที่ 9 พค.2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ประกาศยุบสภาและบรรยากาศการเมืองได้เข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ผมได้เตรียมตัวที่จะทำโครงการใหญ่ที่สุดที่เคยทำมา นั่นคือโครงการเส้นทางสีแดงต้านรัฐประหาร ( Red Path No Coup ) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทั่วประเทศเพื่อเยียมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยมีเป้าหมายคือการรณรงค์เลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม โครงการนี้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทำมาเนื่องจากต้องปั่นจักรยานถึง 3,793 กม. ใช้ระยะเวลา 42 วัน !
กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติ มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาการทำกิจกรรมที่ทรหดและอดทนอย่างที่สุดผมได้เขียนบันทึกและถ่ายคลิปกิจกรรมมาเผยแพร่ทางเวปไซด์ไทยอีนิวส์ ทำให้กิจกรรมนี้เป็นที่รู้จักในโลกไซเบอร์มากยิ่งขึ้น และผมขอนำบันทึกที่ผมได้เขียนรวมถึงคลิปที่น่าสนใจใส่ไว้ในบันทึกนี้เพื่อเป็นหลักฐานการทำกิจกรรม
ก่อนออกเดินทางผมได้แต่งบทเพลงซึ่งผมเรียกว่า "ลำนำเส้นทางสีแดง (Red Path Song)" เพื่อบรรยายความรู้สึกของนักกิจกรรมที่อุทิศตนให้กับอุดมการณ์ของคนเสื้อแดง ดังนี้
ราชประสงค์แตก คนเสื้อแดง ไร้คนเหลียวแล
ในประเทศว่าก่อการร้าย นอกประเทศก็ไม่ใยดี
เส้นทางสีแดงได้รับแรงบันดาลใจจากบก.ลายจุด ... ลุกขึ้นมาสู้
ปั่นจักรยาน 4,138 กม.ไปเยี่ยมพี่น้องที่สูญเสีย
บ้างลูกถูกยิงตาย บ้างพ่อติดคุก บ้างพิการ เด็กๆเป็นกำพร้า
ปั่นจักรยานแสนไกล ขอข้าวชาวบ้านกิน นอนวัดกับพระ
เพียงเพื่อไปพบพาพี่น้องที่ไม่เคยเห็นมาชั่วชีวิต
ลำบากยากไร้ ใส่ร้ายป้ายสี ... จะไม่ย่อท้อ
ขอเพียงได้เห็นรอยยิ้มคนเสื้อแดง กลับมาอีกครั้ง
พวกเขาจะปั่นอีกไกลแสนไกล เพื่อตามหาพี่้น้องของเขา
ทั่วประเทศไทย ... จนกว่า หมดลมหายใจ
( เรียบเรียงโดย ฟอร์ด เส้นทางสีแดง)