วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

About Us

กลุ่มเส้นทางสีแดงกำเนิดขึ้นหลังเวทีราชประสงค์แตกในปี 2553 จุดประสงค์เพื่อปลุกใจให้คนเสื้อแดงกลับมาต่อสู้กับเผด็จการเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรมกลับสู่สังคมไทย 


กลุ่มฯได้ออกแบบกิจกรรมให้เป็นการเดินทางด้วยแรงกายของมนุษย์เยี่ยมเยียนเพื่อให้กำลังใจคนเสื้อแดงในชนบท นำเงินบริจาคที่ได้รับไปมอบให้กับครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เช่น ครอบครัวของผู้เสียชีวิต ผู้ต้องขัง คนพิการ และเด็กกำพร้า กลุ่มฯเห็นว่ากำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเรียกร้องและสร้างประชาธิปไตยให้กับประเทศนในระยะยาว































สาเหตุของการออกแบบกิจกรรมให้เป็นการปั่นจักรยานทางไกล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงในการอุทิศตนเองเพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย
การเดินทางด้วยการปั่นจักรยานจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ เช่น ความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบาก ความหิวกระหาย ต้องอดทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนระอุในยามกลางวัน อากาศที่หนาวเหน็บยามค่ำคืน บางครั้งต้องปั่นจักรยานตากฝนเพื่อไปให้ถึงที่หมายที่มีบุคคลรอคอยความช่วยเหลือ



โครงการทั้งหมดที่กลุ่มเส้นทางสีแดง ได้ มีกิจกรรม ผ่านมา ในระยะเวลา 3 ปี มีดังนี้ครับ
โครงการแรกได้แก่การเยี่ยมผุ้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในภาคอีสานในเดือนพฤศจิกายน 2553 ระยะทาง 1,700 กม. โครงการที่สองได้แก่การเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในภาคเหนือระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ระยะทาง 2,438 กม. 

โครงการที่สามได้แก่การปั่นจักรยานต้านรัฐประหารและตระเวนเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2554 ระยะทาง 3,793 กม. 
โครงการที่สี่ได้แก่โครงการเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ ( Red Path for Peace Project) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทางไกล 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย (ภาคอีสาน) ลาว และกัมพูชา ระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ระยะทาง 2,639 กม. 

โครงการที่ห้าคือโครงการเส้นทางสีแดงสู่ประชาธิปไตย (Red path to Democracy Project) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทางไกล 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย (ภาคอีสาน) ลาว (แขวงคำม่วน) เวียดนาม (เมืองวินช์) และกัมพูชา (เมืองเสียมเรียบ)  ระหว่างเดือนพย- ธค. 2555 เป็นกิจกรรมปั่นจักรยานทางไกลเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและติดตามการเยียวยาของรัฐบาล 

โครงการที่หกคือโครงการ เส้นทางสีแดง สู่ประตูอาเซียน (Red Path to ASEAN Gateway(ไม่นับรวมกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยในปี 2554  กิจกรรมแรลลี่ในกรุงเทพมหานคร ฯลฯ) 

รวมระยะทางที่กลุ่มเส้นทางสีแดงทำกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมตลอด 3 ปี กว่า 14,000 กม.