วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ (ตอน 31)

29 September 2012 at 22:09

31. ขึ้นเขาพระวิหาร ดินแดนพิพาทปี 2554

ถ่ายกับมวลชนแดงอุบลที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง อุลราชธานีเช้าวันที่ 2 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากศรีสะเกษมุ่งหน้าอุบลราชธานี ระยะทาง 61 กม. เป้าหมายในวันนี้คือการไปเยี่ยมผู้ต้องขังเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนอุบลราชธานีที่กระทำความผิดในคดีเผาศาลากลางและฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคม 2553 ถนนจากศรีสะเกษมุ่งหน้าจังหวัดอุบลสวยงามมาก พวกเราแวะพักกลางทางที่ตลาดแห่งหนึ่ง แม่ค้าหลายคนเมื่อทราบข่าวว่าเราจะไปเยี่ยมผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางได้นำเงินบริจาคมาร่วมสมทบให้หลายคน

ระหว่างการเดินทาง ขบวนปั่นจักรยานเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพได้ผ่านบ้านหลังหนึ่งที่มีชาวบ้านรออยู่ข้างทาง พวกเขาเรียกให้พวกเราแวะทานน้ำเพื่อพักเหนื่อย พวกเขาบอกว่าสมาชิกในบ้านส่วนหนึ่งไปรอที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองที่เป็นจุดนัดพบแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนรออยู่ที่บ้านหลังนี้เนื่องจากทราบว่าขบวนแรลลี่จะผ่าน พวกเขาได้นำด้ายสีแดงที่เตรียมไว้มาผูกข้อมือและอวยพรให้การเดินทางปลอดภัย ภาพถ่ายเช้าวันนั้นน่ารักมาก

พวกเราแวะทานข้าวกับเสรีชนกลุ่มหนึ่งในตัวเมืองอุบล ผุ้กองเต่าหรือรอ.พิสิธ พิพุฒซึ่งได้ร่วมกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาตั้งแต่ปี 2553 มีครอบครัวที่นี่ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จได้เดินทางถึงสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองซึ่งเป็นจุดนัดหมายในเวลา 13.30 น. มีชาวบ้านนับร้อยมารอต้อนรับ หลังจากที่ผมเป็นตัวแทนกลุ่มเส้นทางสีแดงกล่าวคำทักทายชาวบ้านบนเวทีแล้ว สมาชิกเส้นทางสีแดงและพี่น้องชาวอุบลได้ร่วมกันแรลลี่ไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กอุบลราชธานีที่ ต.หัวเรือ ระยะทางประมาณ 15 กม. มีชาวบ้านส่วนหนึ่งมารอล่วงหน้า รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อุบลซึ่งเป็นบุตรชายของคุณพ่อเพิ่ม พระสุพรรณจากศรีสะเกษ ชาวบ้านบางส่วนมาจากชมรมเสียงสตรีของจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้กระทำผิดเป็นเยาวชนอายุเพียง 16 ปีซึ่งได้สารภาพต่อศาลเยาวชนว่ากระทำความผิดจริง แต่เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ศาลจึงได้ลงโทษสถานเบาเป็นกักขังที่สถานพินิจแห่งนี้และจะได้รับการปล่อยตัวในราวเดือนตุลาคม 2555 ชาวบ้านที่มาร่วมเยียนเยียนต่างกล่าวให้กำลังใจ ไม่มีใครตำหนิเด็กคนนี้ต่อการกระทำของเขา หลายคนแสดงเจตนาที่จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษาหลังจากที่ได้รับอิสรภาพ โชคดีที่กลุ่มเส้นทางสีแดงมาทำกิจกรรมที่อุบลราชธานี เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมาเยี่ยมเยียนเด็กเสื้อแดงคนนี้จนกระทั่งวันที่เส้นทางสีแดงผ่านมาถึง รอ.พิสิทธ์ พิพุฒได้เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคที่เส้นทางสีแดงได้รับในเช้าวันนั้นจำนวน 3,700 บาท

เย็นวันนั้นพวกเราไปรับประทานอาหารที่บ้านของคุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเส้นทางสีแดงตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง เช้าวันต่อมาได้ปั่นจักรยานกลับมาที่ศรีสะเกษ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จากนั้นได้ปั่นจักรยานมาที่อำเภอขุนหาญเพื่อเตรียมขึ้นเขาพระวิหารในวันที่ 4 กพ. ที่อ.ขุนหาญได้รับการต้อนรับโดยคุณธีระ ไตรสรณกุล ซึ่งเป็นสส.จากพรรคเพื่อไทย ระยะทางปั่นจักรยานในวันนั้นไม่ต่ำกว่า 80 กม.

เช้าวันที่ 4 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากอ.ขุนหาญผ่านหมู่บ้านโนนเอาว์ อ.กันทรลักษณ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านไกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา แวะเยี่ยมชาวบ้านและรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับสนทนาเก็บข้อมูลการเข้าร่วมชุมนุมของชาวบ้าน พวกเขายืนยันว่าเดินทางไปร่วมชุมนุมเองโดยไม่มีใครจ้าง พวกเขารักและอาลัยเสธแดงมาก และต้องการให้นายกทักษิณกลับประเทศโดยเร็ว

หลังจากถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พวกเราได้ปั่นจักรยานขึ้นเขาพระวิหารในเวลาบ่าย เส้นทางสูงชัน นักปั่นบางคนที่ไม่เคยชินต้องใช้รถ service ช่วยบรรทุกจักรยานขึ้นเขา พวกเราผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมุ่งหน้าผามออีแดงที่อยู่ยอดบนสุดของเขาพระวิหาร ที่นั่นผมพบชายพิการ 2 คน ทั้งคู่มีอาชีพขายดอกไม้ธูปเทียนให้กับผู้ที่มาเขาพระวิหาร หนึ่งในนั้นเป็นอดีตอาสาสมัครผู้พัฒนาป้องกันหมู่บ้านชายแดน (อพป.) ชื่อนายวิชิน ประสานจิตร อายุ 56 ปี ซึ่งพิการจากการเหยียบกับระเบิดที่ภูมะเขือเมื่อปี 2532

เขาเล่าว่าเมื่อก่อนเกิดเหตุการณ์พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ได้มีกลุ่มคนต่างถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนใต้ คนพวกนี้ใส่เสื้อเหลือง เที่ยวอ้่างว่ารักชาติ รักในหลวง คนกลุ่มนี้ได้เข้ามาทำการยั่วยุสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในพื้นที่พิพาทผามออีแดงเพื่อให้สื่อมวลชนประโคมข่าว  ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและวิวาทกับชาวบ้านที่ซึ่งต้องการอยู่อย่างสงบ หลังจากทำการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง ทหารไทยและกัมพูชาก็ได้เปิดฉากยิงใส่กันจนเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทำให้รัฐบาลสองประเทศต้องปิดชายแดน ส่งผลให้การท่องเที่ยวและการค้าตามแนวชายแดนต้องหยุดชะงัก ร้านค้าเงียบเหงา มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน 

พวกเราได้เดินต่อไปยังผามออีแดงซึ่งเป็นจุดที่เกิดข้อพิพาททางประวัติศาสตร์ ได้พบกับทหารที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณนั้นหลายนาย จากจุดที่ผมถ่ายรูปที่มีป้ายคำว่า "ผามออีแดง" นั่นคือพื้นที่ในเขตประเทศไทย ด้านล่างหน้าผาคืออาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีทหารกัมพูชาประจำการอยู่คนละฝั่งของภูเขา ต่างฝ่ายต่างมีกล้องส่องทางไกลเพื่อตรวจดูเหตุการณ์ ด้านขวามือของผามออีแดงคือภูมะเขือ อีกหนึ่งสถานที่มีการปะทะกันของทหารสองฝ่าย

ผมได้ทำการสอบถามข้อมูลช่วงที่เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีทหารไทยคนใดต้องการให้เกิดสงคราม หนึ่งในทหารที่ผมสนทนาด้วยกล่าวว่า ผมอยากให้เจรจาให้มีสันติภาพ อยู่แดนใครแดนมัน อยู่อย่างมีสันติ คนเสื้อเหลืองมาจากต่างถิ่น มาสร้างความขัดแย้ง จุดชนวนสงครามแล้วจากไป คนที่ได้รับผลกระทบคือชาวบ้านและทหารที่ต้องบาดเจ็บล้มตายจากการทำสงครามสองประเทศ"

ผมได้ขอถ่ายรุปกับหนึ่งในทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดที่มีข้อพิพาทบริเวณหน้าผามออีแดง ภาพนี้ผมถือเสมือนหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ของเส้นทางสีแดง เป็นการสื่อความหมายว่าคนเสื้อแดงไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกับทหาร และมิตรภาพระหว่างคนเสื้อแดงและทหารสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังเหตุการณ์สังหารประชาชนในปี 2553 ... เส้นทางสีแดงให้กำลังใจทหารประชาธิปไตยที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศชาติและประชาชนเสมอ 


ถ่ายกับมวลชนแดงอุบลที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง อุลราชธานี



รอ.พิสิท พิพุท และรอ.ปรีชา เอกฉัตร ขณะปั่นจักรยานมุ่งหน้าอุบลราชธานี
รอ.พิสิท พิพุท และรอ.ปรีชา เอกฉัตร ขณะปั่นจักรยานมุ่งหน้าอุบลราชธานี


แวะพักข้างทางที่ตลาดแห่งหนึ่ง
แวะพักข้างทางที่ตลาดแห่งหนึ่ง


น้ำใจจากแม่ค้าเสื้อเหลืองมอบให้นักปั่นเสื้อแดง
น้ำใจจากแม่ค้าเสื้อเหลืองมอบให้นักปั่นเสื้อแดง


น้ำใจจากแม่ค้าสมทบให้เยาวชนเสื้อแดง
น้ำใจจากแม่ค้าสมทบให้เยาวชนเสื้อแดง


แวะทักทายชาวบ้านข้างทางก่อนผูกข้อมือ
แวะทักทายชาวบ้านข้างทางก่อนผูกข้อมือ


ถ่ายกับชาวบ้านก่อนออกเดินทางเข้าอุบล
ถ่ายกับชาวบ้านก่อนออกเดินทางเข้าอุบล


บรรยากาศขณะเยี่ยมเยาวชนเสื้อแดงที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กอุบลราชธานี
บรรยากาศขณะเยี่ยมเยาวชนเสื้อแดงที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กอุบลราชธานี


รอ. พิสิท พิพุฒ ขณะมอบเงินบริจาคจำนวน 3,700 บาท
รอ. พิสิท พิพุฒ ขณะมอบเงินบริจาคจำนวน 3,700 บาท


ถ่ายหน้าบ้านสส.ธีระ ไตรสรณกุล
ถ่ายหน้าบ้านสส.ธีระ ไตรสรณกุล


นั่งรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านโนนอาว์
นั่งรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านโนนอาว์


ถ่ายภาพหมู่กับชาวบ้านโนนอาว์
ถ่ายภาพหมู่กับชาวบ้านโนนอาว์


แวะโหลดจักรยานขณะขึ้นเขาพระวิหาร
แวะโหลดจักรยานขณะขึ้นเขาพระวิหาร


ปลอกกระสุนข้างทางขึ้นเขาพระวิหาร จากการยิงสู้รบกับทหารกัมพูชา
ปลอกกระสุนข้างทางขึ้นเขาพระวิหาร จากการยิงสู้รบกับทหารกัมพูชา


อดีตอาสาสมัครผู้พัฒนาป้องกันหมู่บ้านชายแดน (อพป.) ที่ใส่ขาเทียมเนื่องจากเหยีบกับระเบิดที่ภูมะเขือเมื่อปี 2532
อดีตอาสาสมัครผู้พัฒนาป้องกันหมู่บ้านชายแดน (อพป.) ที่ใส่ขาเทียมเนื่องจากเหยีบกับระเบิดที่ภูมะเขือเมื่อปี 2532


ถ่ายกับทหารไทยบนเขาพระวิหาร ด้านหลังคือปราสาทเขาพระวิหาร เขตแดนกัมพูชา
ถ่ายกับทหารไทยบนเขาพระวิหาร ด้านหลังคือปราสาทเขาพระวิหาร เขตแดนกัมพูชา


ถ่ายคู่กับทหารไทยบนผามออีแดง 4 กพ. 2555
ถ่ายคู่กับทหารไทยบนผามออีแดง 4 กพ. 2555


ป้ายผามออีดแดงบนเขาพระวิหาร
ป้ายผามออีดแดงบนเขาพระวิหาร


ถ่ายกับสมาชิกกลุ่มเส้นทางสีแดงหน้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ถ่ายกับสมาชิกกลุ่มเส้นทางสีแดงหน้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
  • Rugthai Thailand สุดยอดเลยค่ะพระเอกของเราคนเสื้อแดง
  • ฟอร์ด เส้นทางสีแดง ไฟสงครามครั้งนี้ ถูกจุดขึ้นจากความจงใจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ต้องการปลุกระแสคลั่งชาติเพื่อเบี่ยงเบนความผิดจากการสังหารประชาชนระหว่างเดือนมีค.-พค. 2553 โดยคาดหวังว่าจะส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งในเดือนกค. 2554
  • ฟอร์ด เส้นทางสีแดง เป็นที่น่าเสียดายว่าไฟสงครามที่เกิดขึนนี้ นอกจากจะจุดไม่ติดและทำให้พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างย่อยยับแล้ว ยังส่งผลให้ทหารไทยและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญ เป็นการทำลายความสัมพันธ์ของสองประเทศอย่างไร้ค่าและน่าเสียดายอย่างที่สุด
  • ฟอร์ด เส้นทางสีแดง นี่คือความเห็นของผมจากการติดตามสถานการณ์ทางการเมืองและลงพื้นที่ทำกิจกรรมเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ขอให้บันทึกฉบับนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งที่ประจานความชั่วช้าเลวทรามของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในการเข่นฆ่าประชาชน และส่งทหารไทยไปตายอย่างไรค่า เพราะความคดในข้องอในกระดูกของนักการเมืองที่ไม่เคยรู้จักคำว่า ประชาธิปไตยและความยุติธรรม !
  • Michelle Maleeblue เยี่ยมเลยค่ะ
  • Michelle Maleeblue เป็นการเดินทางที่แสนวิเศษ กับฟอร์ดเส้นทางสีแดง ยอดเยี่ยมมากค่ะ
  • Kanidtha Lbr สุดยอดจริงๆๆ..สู้ๆๆขอให้ประสบความสำเร็จกับการตามหาประชาธิปไตย...และเป็นการยึดมั่นที่ดีสู่เป้าหมาย ขอเอาใจช่วยจ้าสู้ๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • ฟอร์ด เส้นทางสีแดง คุณยุทธนึกถึงเหตุการณ์ที่พี่ขึ้นเวทีคนไทยเมื่อต้นปี 2554 แล้วคิดว่าพี่จะมาถึงวันนี้ไหมครับ?
  • Nisachon Red เจ๋งมากพี่ฟอร์ด ยกนิ้วหั้ยเลยจ้าาา สมแล้วววที่เป้นฝ่ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมความเคลื่อนไหวของพี่น้องเสื้อแดง ขอให้สู้ๆ เพื่อเพื่อนพ้อง พี่น้องเสื้อแดงทุกคนนะคร่า เป็นกำลังใจคร่าาาา คริๆ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

เส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ ( ตอน 30)


23 September 2012 at 15:51
30. เยียวยาครอบครัววีรชนศรีสะเกษ และน้องอ๊าท ศพสุดท้ายในเวิลด์เทรด

หลังเสร็จสิ้นการเยี่ยมอาการป่วยคุณพ่อวีรชนที่โรงพยาบาลยโสธร พวกเรากลับมาที่พักซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานนปช.ยโสธร มีเพื่อนของสมาชิกในกลุ่มที่เป็นอดีตตำรวจมาให้กำลังใจ รวมถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่แวะมาผูกข้อมือและมอบพระเครื่องเพื่อให้เดินทางปลอดภัย เย็นวันนั้น คุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) เดินทางมาจากอุบลเพื่อนำเงินบริจาคจากพี่น้องเสื้อแดงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มามอบให้อีก 10,000 บาท พร้อมพระเครื่องจำนวน 12 องค์ เพื่อให้เส้นทางสีแดงนำไปมอบให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ศรีสะเกษในวันรุ่งขึ้น

จากข้อมูลที่ได้รับ ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่สูญเสียมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมระหว่างปี 2552-2553 จำนวน 10 คน แบ่งเป็นชาวอ.ราษีไศล 2 คน อ.ขุขันธ์ 2 คน อ.ภูสิงห์ 2 คน อ.เมือง 1 คน อ.กันทรารมย์ 1 คน อ.อุทุมพรพิสัย 1 คนและอ.ปรางค์กู่ 1 คน ผมได้นำเงินบริจาคและพระเครื่องทั้งหมดแยกใส่ซองและถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน

เช้าวันที่ 1 กพ.2555 พวกเราปั่นจักรยานออกจากยโสธรมุ่งหน้าราษีไศล มีพี่น้องจากยโสธรร่วมเดินทางมาส่ง พวกเราถึงราษีไศลในเวลาประมาณ 11 โมงเช้า และได้ไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของวีรชนที่เสียชีวิตในเวิลด์เทรดในวันที่ 19 พค.2553 ผู้เสียชีวิตรายนี้ชื่อนายกิตติพงศ์ สมสุข หรือน้องอ๊าท อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถานศึกษาแห่งหนึ่ในศรีสะเกศ น้องอ๊าทเสียชีวิตในสภาพนั่งคว่ำหน้า ในมือถือถังดับเพลิง ใบหน้าถูกไฟคลอกไหม้เกรียม

ภาพของน้องอ๊าทเป็นที่แพร่หลายในอินเทอร์เนท ภาพชุดเหตุการณ์ขณะไฟไหม้และภาพที่น้องอ๊าทเสียชีวิตในขณะที่มือถือถังดับเพลิงสามารถยืนยันเป็นอย่างดีว่าทหารเป็นคนจัดฉากให้มีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ และคนเสื้อแดงอย่างน้องอ๊าทที่เห็นเหตุการได้เข้าไปช่วยดับเพลิงจนเสียชีวิตhttp://board.banrasdr.com/showthread.php?tid=10464

ขณะทานอาหารร่วมกัน คุณแม่ของน้องอ๊าทได้บอกว่าครอบครัวได้สร้างกฏิพระหลังเล็กๆเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบุตรชาย กุฏิหลังนี้เป็นสถานที่เก็บเถ้ากระดูกและภาพถ่ายของบุตรชายเพื่อให้วีกรรมที่กล้าหาญเป็นที่จดจำของชาวบ้านละแวกนั้น วัดนี้ชื่อวัดบ้านหว้านคำ ตั้งอยู่ต.หว้านคำ ผมได้ขอให้คุณแม่ของน้องอ๊าทพาพวกเราไปที่วัดแห่งนั้น เมื่อไปถึง สมาชิกเส้นทางสีแดงได้จุดธุปไหว้กระดูกของน้องอ๊าทและขอให้ดวงวิญญาณไปสู่สุขคติ

หลังจากนั้น พวกเราได้เดินทางไปยังบ้านของผู้เสียชีวิตรายที่ 2 ที่ต.หนองแค อ.ราษีไศล มีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมารออยู่ คุณอัญชลี เทพวงษา (คุณแอ๊ว) ซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านที่นี่ได้แนะนำคุณพ่อและคุณแม่ของผู้เสียชีวิตให้พวกเรารู้จัก คุณพ่อเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ ในขณะที่คุณแม่นั่งถือรูปบุตรชายด้วยใบหน้าที่เศร้าสร้อย

ผู้เสียชีวิตชื่อนายรังสรรค์ รัตนวรรณ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 จากเหตุการณ์การขัดแย้งกันของคนไทยต่างสีเสื้อ นายรังสรรค์เสียชีวิตเนื่องจากถูกคนเสื้อเหลืองรุมทำร้ายจนพิการ สูญเสียความสามารถในการมองเห็นและได้ยิน ครอบครัวต้องนำตัวมารักษาที่บ้านจนกระทั่งทนความบาดเจ็บไม่ไหวและเสียชีวิตในที่สุด ในขณะที่นั่งฟัง ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าหากคนเราถูกรุมทำร้ายร่างกายจนต้องถึงกับหูหนวกและตาบอด ความรู้สึกเจ็บปวดขณะนั้นจะมากมายสักแค่ไหน? และความรู้สึกของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องนั่งทนดูลูกชายเสียชีวิตเนื่องจากทนความเจ็บปวดไม่ไหวจะเป็นอย่างไร? แกนนำแต่ละสีเสื้อจะได้รู้ถึงความเจ็บปวดเหล่านี้บ้างไหม? และผมจะหาทางให้สังคมได้ตระหนักถึงความเจ็บปวดสูญเสียของบุคคลเหล่านี้ได้อย่างไร? ฯลฯ

หลังจากเก็บข้อมูลและเสร็จสิ้นการเยี่ยมเยียน พวกเราได้ปั่นจักรยานมุ่งหน้าตัวเมืองศรีสะเกษ ถึงหน้าห้าง Big C ในเวลาเย็น มีคนเสื้อแดงนำรถมอเตอร์ไซด์มาร่วมขบวนแรลลี่หลายสิบคัน ขบวนแรลลี่เส้นทางสีแดงได้แรลลี่รอบตัวเมืองศรีสะเกศและมาถึงเวทีของหอการค้าตั้งอยู่บริเวณริมสถานีรถไฟซึ่งเป็นสถานที่จัดงานรำลึกวีรชน เวลาประมาณ 19.00 น. ผู้ว่าราชการศรีสะเกษได้มอบหมายให้ปลัดจังหวัด (คุณพยม ธารีชาญ) และป้องกันจังหวัด (คุณวิบูลย์ กิ่วสุวรรณ) เป็นตัวแทนขึ้นกล่าวเปิดงาน พร้อมกับมอบเงินบริจาคจำนวน 3,000 บาท ผมเป็นผู้รับมอบเงินบริจาคและได้มอบต่อให้กับคุณแอ๊วเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม

หลังจากนั้นพิธีกรบนเวทีได้เชิญครอบครัวของวีรชนทั้ง 10 คนขึ้นบนเวทีเพื่อกล่าวความในใจและรับมอบเงินเยียวยา ผมจำได้ว่ามีหญิงหม้ายคนหนึ่งได้รับเกียรติกล่าวเป็นคนแรก เธอกล่าวว่า เธอได้รับโทรศัพท์จากสามีช่วงเช้าบอกว่าจะไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ต่อมาเธอได้ทราบข่าวว่าสามีเธอเสียชีวิตเนื่องจากถูกทหารยิง เธอเล่าทั้งน้ำตาว่า "หนูไม่คิดว่าประโยคนั้นจะเป็นประโยคสุดท้ายจากสามีที่เป็นที่รักยิ่งของหนู" ขณะที่เธอกล่าว ทุกคนในงานเงียบกริบ และเมื่อเธอกล่าวจบ .. น้ำตาของผมก็ร่วงออกมา

จากนั้นบรรดาญาติของวีรชนก็เปลี่ยนกันพูดถึงผู้ที่จากไป แต่ละคนได้บอกเล่าถึงความสูญเสียที่พวกเขาได้รับ ทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องเศร้าสะเทือนใจ มีชายที่ใส่แว่นดำผู้หนึ่งพูดเสียงสะอื้นว่าเขาต้องสูญเสียดวงตาไปเนื่องจากแก๊สน้ำตาในวันที่ 10 เมย. (เช่นเดียวกับคุณเกียรติศักดิ์จากอุดร) เป็นที่น่าเสียดายว่าผมไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์นี้อย่างละเอียดเท่าที่ใจต้องการ คุณแอ๊วซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านได้ขึ้นกล่าวความรู้สึกในใจบนเวทีทั้งน้ำตา เธอบอกกับผมภายหลังว่าเป็นความตั้งใจและปรารถนาที่จะจัดงานรูปแบบนี้ที่เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้บอกกล่าวให้กับสังคมได้ทราบถึงความเจ็บช้ำของผู้สูญเสีย ในขณะที่ผมรับฟังนั้น ผมบอกกับตัวเองว่าผมจะกลับมาที่ศรีสะเกษเพื่อจัดงานรำลึกวีรชนให้พวกเขาอีกครั้ง

ถ่ายภาพหมู่กับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากศรีสะเกษ กิจกรรมรำลึกวีรชน เวทีหอการค้า ริมสถานีรถไฟศรีสะเกษ 1 กพ. 2555
ถ่ายภาพหมู่กับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากศรีสะเกษ กิจกรรมรำลึกวีรชน เวทีหอการค้า ริมสถานีรถไฟศรีสะเกษ 1 กพ. 2555


คุณมัทรี รัตโน นำเงินบริจาและพระเครื่องมามอบให้เส้นทางสีแดงที่ยโสธร 31 มค.2555
คุณมัทรี รัตโน นำเงินบริจาและพระเครื่องมามอบให้เส้นทางสีแดงที่ยโสธร 31 มค.2555


ภาพเงินบริจาคและพระเครื่องที่เตรียมมอบให้กับครอบครัววีรชนที่ศรีสะเกษ
ภาพเงินบริจาคและพระเครื่องที่เตรียมมอบให้กับครอบครัววีรชนที่ศรีสะเกษ


ถ่ายกับพ่อแม่น้องอ๊าทและพี่น้องจากยโสธร  1 กพ. 2555
ถ่ายกับพ่อแม่น้องอ๊าทและพี่น้องจากยโสธร 1 กพ. 2555


ภาพโกฏบรรจุกระดูกของน้องอ๊าทที่วัดบ้านหว้านคำ ต.หว้านคำ อ.ราษีไศล
ภาพโกฏบรรจุกระดูกของน้องอ๊าทที่วัดบ้านหว้านคำ ต.หว้านคำ อ.ราษีไศล


สมาชิกเส้นทางสีแดงไหว้กระดูกน้องอ๊าท ศพสุดท้ายที่เวิลด์เทรด
สมาชิกเส้นทางสีแดงไหว้กระดูกน้องอ๊าท ศพสุดท้ายที่เวิลด์เทรด


ครอบครัวผู้เสียชีวิต นายรังสรรค์ รัตนวรรณ
ครอบครัวผู้เสียชีวิต นายรังสรรค์ รัตนวรรณ


ปลัดจังหวัดศรีสะเกษมอบเงินสมทบการจัดกิจกรรม
ปลัดจังหวัดศรีสะเกษมอบเงินสมทบการจัดกิจกรรม


หญิงหม้ายขณะกล่าวคำอาลัยสามีผู้เป็นที่รัก
หญิงหม้ายขณะกล่าวคำอาลัยสามีผู้เป็นที่รัก


ครอบครัววีรชนบนเวทีก่อนรับมอบเงินบริจาค
ครอบครัววีรชนบนเวทีก่อนรับมอบเงินบริจาค

ภาพวีรชน น้องอ๊าท (ศพสุดท้ายในเวิลดืเทรด) ที่กุฏิที่พ่อแม่สร้างถวายวัดอุทิศส่วนบุญกุศลให้บุตรชาย
ภาพวีรชน น้องอ๊าท (ศพสุดท้ายในเวิลดืเทรด) ที่กุฏิที่พ่อแม่สร้างถวายวัดอุทิศส่วนบุญกุศลให้บุตรชาย
ภาพวีรชน นายรังสรรค์ รัตนวรรณ ที่เสียชีวิตจากการทำร้ายร่างกายของกลุ่มคนเสื้อเหลือง
ภาพวีรชน นายรังสรรค์ รัตนวรรณ ที่เสียชีวิตจากการทำร้ายร่างกายของกลุ่มคนเสื้อเหลือง