30. เยียวยาครอบครัววีรชนศรีสะเกษ และน้องอ๊าท ศพสุดท้ายในเวิลด์เทรด
หลังเสร็จสิ้นการเยี่ยมอาการป่วยคุณพ่อวีรชนที่โรงพยาบาลยโสธร พวกเรากลับมาที่พักซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานนปช.ยโสธร มีเพื่อนของสมาชิกในกลุ่มที่เป็นอดีตตำรวจมาให้กำลังใจ รวมถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่แวะมาผูกข้อมือและมอบพระเครื่องเพื่อให้เดินทางปลอดภัย เย็นวันนั้น คุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) เดินทางมาจากอุบลเพื่อนำเงินบริจาคจากพี่น้องเสื้อแดงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มามอบให้อีก 10,000 บาท พร้อมพระเครื่องจำนวน 12 องค์ เพื่อให้เส้นทางสีแดงนำไปมอบให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ศรีสะเกษในวันรุ่งขึ้น
จากข้อมูลที่ได้รับ ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่สูญเสียมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมระหว่างปี 2552-2553 จำนวน 10 คน แบ่งเป็นชาวอ.ราษีไศล 2 คน อ.ขุขันธ์ 2 คน อ.ภูสิงห์ 2 คน อ.เมือง 1 คน อ.กันทรารมย์ 1 คน อ.อุทุมพรพิสัย 1 คนและอ.ปรางค์กู่ 1 คน ผมได้นำเงินบริจาคและพระเครื่องทั้งหมดแยกใส่ซองและถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน
เช้าวันที่ 1 กพ.2555 พวกเราปั่นจักรยานออกจากยโสธรมุ่งหน้าราษีไศล มีพี่น้องจากยโสธรร่วมเดินทางมาส่ง พวกเราถึงราษีไศลในเวลาประมาณ 11 โมงเช้า และได้ไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของวีรชนที่เสียชีวิตในเวิลด์เทรดในวันที่ 19 พค.2553 ผู้เสียชีวิตรายนี้ชื่อนายกิตติพงศ์ สมสุข หรือน้องอ๊าท อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถานศึกษาแห่งหนึ่ในศรีสะเกศ น้องอ๊าทเสียชีวิตในสภาพนั่งคว่ำหน้า ในมือถือถังดับเพลิง ใบหน้าถูกไฟคลอกไหม้เกรียม
ภาพของน้องอ๊าทเป็นที่แพร่หลายในอินเทอร์เนท ภาพชุดเหตุการณ์ขณะไฟไหม้และภาพที่น้องอ๊าทเสียชีวิตในขณะที่มือถือถังดับเพลิงสามารถยืนยันเป็นอย่างดีว่าทหารเป็นคนจัดฉากให้มีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ และคนเสื้อแดงอย่างน้องอ๊าทที่เห็นเหตุการได้เข้าไปช่วยดับเพลิงจนเสียชีวิตhttp://board.banrasdr.com/showthread.php?tid=10464
ขณะทานอาหารร่วมกัน คุณแม่ของน้องอ๊าทได้บอกว่าครอบครัวได้สร้างกฏิพระหลังเล็กๆเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบุตรชาย กุฏิหลังนี้เป็นสถานที่เก็บเถ้ากระดูกและภาพถ่ายของบุตรชายเพื่อให้วีกรรมที่กล้าหาญเป็นที่จดจำของชาวบ้านละแวกนั้น วัดนี้ชื่อวัดบ้านหว้านคำ ตั้งอยู่ต.หว้านคำ ผมได้ขอให้คุณแม่ของน้องอ๊าทพาพวกเราไปที่วัดแห่งนั้น เมื่อไปถึง สมาชิกเส้นทางสีแดงได้จุดธุปไหว้กระดูกของน้องอ๊าทและขอให้ดวงวิญญาณไปสู่สุขคติ
หลังจากนั้น พวกเราได้เดินทางไปยังบ้านของผู้เสียชีวิตรายที่ 2 ที่ต.หนองแค อ.ราษีไศล มีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมารออยู่ คุณอัญชลี เทพวงษา (คุณแอ๊ว) ซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านที่นี่ได้แนะนำคุณพ่อและคุณแม่ของผู้เสียชีวิตให้พวกเรารู้จัก คุณพ่อเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ ในขณะที่คุณแม่นั่งถือรูปบุตรชายด้วยใบหน้าที่เศร้าสร้อย
ผู้เสียชีวิตชื่อนายรังสรรค์ รัตนวรรณ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 จากเหตุการณ์การขัดแย้งกันของคนไทยต่างสีเสื้อ นายรังสรรค์เสียชีวิตเนื่องจากถูกคนเสื้อเหลืองรุมทำร้ายจนพิการ สูญเสียความสามารถในการมองเห็นและได้ยิน ครอบครัวต้องนำตัวมารักษาที่บ้านจนกระทั่งทนความบาดเจ็บไม่ไหวและเสียชีวิตในที่สุด ในขณะที่นั่งฟัง ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าหากคนเราถูกรุมทำร้ายร่างกายจนต้องถึงกับหูหนวกและตาบอด ความรู้สึกเจ็บปวดขณะนั้นจะมากมายสักแค่ไหน? และความรู้สึกของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องนั่งทนดูลูกชายเสียชีวิตเนื่องจากทนความเจ็บปวดไม่ไหวจะเป็นอย่างไร? แกนนำแต่ละสีเสื้อจะได้รู้ถึงความเจ็บปวดเหล่านี้บ้างไหม? และผมจะหาทางให้สังคมได้ตระหนักถึงความเจ็บปวดสูญเสียของบุคคลเหล่านี้ได้อย่างไร? ฯลฯ
หลังจากเก็บข้อมูลและเสร็จสิ้นการเยี่ยมเยียน พวกเราได้ปั่นจักรยานมุ่งหน้าตัวเมืองศรีสะเกษ ถึงหน้าห้าง Big C ในเวลาเย็น มีคนเสื้อแดงนำรถมอเตอร์ไซด์มาร่วมขบวนแรลลี่หลายสิบคัน ขบวนแรลลี่เส้นทางสีแดงได้แรลลี่รอบตัวเมืองศรีสะเกศและมาถึงเวทีของหอการค้าตั้งอยู่บริเวณริมสถานีรถไฟซึ่งเป็นสถานที่จัดงานรำลึกวีรชน เวลาประมาณ 19.00 น. ผู้ว่าราชการศรีสะเกษได้มอบหมายให้ปลัดจังหวัด (คุณพยม ธารีชาญ) และป้องกันจังหวัด (คุณวิบูลย์ กิ่วสุวรรณ) เป็นตัวแทนขึ้นกล่าวเปิดงาน พร้อมกับมอบเงินบริจาคจำนวน 3,000 บาท ผมเป็นผู้รับมอบเงินบริจาคและได้มอบต่อให้กับคุณแอ๊วเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
หลังจากนั้นพิธีกรบนเวทีได้เชิญครอบครัวของวีรชนทั้ง 10 คนขึ้นบนเวทีเพื่อกล่าวความในใจและรับมอบเงินเยียวยา ผมจำได้ว่ามีหญิงหม้ายคนหนึ่งได้รับเกียรติกล่าวเป็นคนแรก เธอกล่าวว่า เธอได้รับโทรศัพท์จากสามีช่วงเช้าบอกว่าจะไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ต่อมาเธอได้ทราบข่าวว่าสามีเธอเสียชีวิตเนื่องจากถูกทหารยิง เธอเล่าทั้งน้ำตาว่า "หนูไม่คิดว่าประโยคนั้นจะเป็นประโยคสุดท้ายจากสามีที่เป็นที่รักยิ่งของหนู" ขณะที่เธอกล่าว ทุกคนในงานเงียบกริบ และเมื่อเธอกล่าวจบ .. น้ำตาของผมก็ร่วงออกมา
จากนั้นบรรดาญาติของวีรชนก็เปลี่ยนกันพูดถึงผู้ที่จากไป แต่ละคนได้บอกเล่าถึงความสูญเสียที่พวกเขาได้รับ ทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องเศร้าสะเทือนใจ มีชายที่ใส่แว่นดำผู้หนึ่งพูดเสียงสะอื้นว่าเขาต้องสูญเสียดวงตาไปเนื่องจากแก๊สน้ำตาในวันที่ 10 เมย. (เช่นเดียวกับคุณเกียรติศักดิ์จากอุดร) เป็นที่น่าเสียดายว่าผมไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์นี้อย่างละเอียดเท่าที่ใจต้องการ คุณแอ๊วซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านได้ขึ้นกล่าวความรู้สึกในใจบนเวทีทั้งน้ำตา เธอบอกกับผมภายหลังว่าเป็นความตั้งใจและปรารถนาที่จะจัดงานรูปแบบนี้ที่เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้บอกกล่าวให้กับสังคมได้ทราบถึงความเจ็บช้ำของผู้สูญเสีย ในขณะที่ผมรับฟังนั้น ผมบอกกับตัวเองว่าผมจะกลับมาที่ศรีสะเกษเพื่อจัดงานรำลึกวีรชนให้พวกเขาอีกครั้ง
หลังเสร็จสิ้นการเยี่ยมอาการป่วยคุณพ่อวีรชนที่โรงพยาบาลยโสธร พวกเรากลับมาที่พักซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานนปช.ยโสธร มีเพื่อนของสมาชิกในกลุ่มที่เป็นอดีตตำรวจมาให้กำลังใจ รวมถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่แวะมาผูกข้อมือและมอบพระเครื่องเพื่อให้เดินทางปลอดภัย เย็นวันนั้น คุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) เดินทางมาจากอุบลเพื่อนำเงินบริจาคจากพี่น้องเสื้อแดงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มามอบให้อีก 10,000 บาท พร้อมพระเครื่องจำนวน 12 องค์ เพื่อให้เส้นทางสีแดงนำไปมอบให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ศรีสะเกษในวันรุ่งขึ้น
จากข้อมูลที่ได้รับ ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่สูญเสียมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมระหว่างปี 2552-2553 จำนวน 10 คน แบ่งเป็นชาวอ.ราษีไศล 2 คน อ.ขุขันธ์ 2 คน อ.ภูสิงห์ 2 คน อ.เมือง 1 คน อ.กันทรารมย์ 1 คน อ.อุทุมพรพิสัย 1 คนและอ.ปรางค์กู่ 1 คน ผมได้นำเงินบริจาคและพระเครื่องทั้งหมดแยกใส่ซองและถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน
เช้าวันที่ 1 กพ.2555 พวกเราปั่นจักรยานออกจากยโสธรมุ่งหน้าราษีไศล มีพี่น้องจากยโสธรร่วมเดินทางมาส่ง พวกเราถึงราษีไศลในเวลาประมาณ 11 โมงเช้า และได้ไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของวีรชนที่เสียชีวิตในเวิลด์เทรดในวันที่ 19 พค.2553 ผู้เสียชีวิตรายนี้ชื่อนายกิตติพงศ์ สมสุข หรือน้องอ๊าท อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถานศึกษาแห่งหนึ่ในศรีสะเกศ น้องอ๊าทเสียชีวิตในสภาพนั่งคว่ำหน้า ในมือถือถังดับเพลิง ใบหน้าถูกไฟคลอกไหม้เกรียม
ภาพของน้องอ๊าทเป็นที่แพร่หลายในอินเทอร์เนท ภาพชุดเหตุการณ์ขณะไฟไหม้และภาพที่น้องอ๊าทเสียชีวิตในขณะที่มือถือถังดับเพลิงสามารถยืนยันเป็นอย่างดีว่าทหารเป็นคนจัดฉากให้มีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ และคนเสื้อแดงอย่างน้องอ๊าทที่เห็นเหตุการได้เข้าไปช่วยดับเพลิงจนเสียชีวิตhttp://board.banrasdr.com/showthread.php?tid=10464
ขณะทานอาหารร่วมกัน คุณแม่ของน้องอ๊าทได้บอกว่าครอบครัวได้สร้างกฏิพระหลังเล็กๆเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบุตรชาย กุฏิหลังนี้เป็นสถานที่เก็บเถ้ากระดูกและภาพถ่ายของบุตรชายเพื่อให้วีกรรมที่กล้าหาญเป็นที่จดจำของชาวบ้านละแวกนั้น วัดนี้ชื่อวัดบ้านหว้านคำ ตั้งอยู่ต.หว้านคำ ผมได้ขอให้คุณแม่ของน้องอ๊าทพาพวกเราไปที่วัดแห่งนั้น เมื่อไปถึง สมาชิกเส้นทางสีแดงได้จุดธุปไหว้กระดูกของน้องอ๊าทและขอให้ดวงวิญญาณไปสู่สุขคติ
หลังจากนั้น พวกเราได้เดินทางไปยังบ้านของผู้เสียชีวิตรายที่ 2 ที่ต.หนองแค อ.ราษีไศล มีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมารออยู่ คุณอัญชลี เทพวงษา (คุณแอ๊ว) ซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านที่นี่ได้แนะนำคุณพ่อและคุณแม่ของผู้เสียชีวิตให้พวกเรารู้จัก คุณพ่อเป็นผู้เล่าเหตุการณ์ ในขณะที่คุณแม่นั่งถือรูปบุตรชายด้วยใบหน้าที่เศร้าสร้อย
ผู้เสียชีวิตชื่อนายรังสรรค์ รัตนวรรณ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 จากเหตุการณ์การขัดแย้งกันของคนไทยต่างสีเสื้อ นายรังสรรค์เสียชีวิตเนื่องจากถูกคนเสื้อเหลืองรุมทำร้ายจนพิการ สูญเสียความสามารถในการมองเห็นและได้ยิน ครอบครัวต้องนำตัวมารักษาที่บ้านจนกระทั่งทนความบาดเจ็บไม่ไหวและเสียชีวิตในที่สุด ในขณะที่นั่งฟัง ผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าหากคนเราถูกรุมทำร้ายร่างกายจนต้องถึงกับหูหนวกและตาบอด ความรู้สึกเจ็บปวดขณะนั้นจะมากมายสักแค่ไหน? และความรู้สึกของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องนั่งทนดูลูกชายเสียชีวิตเนื่องจากทนความเจ็บปวดไม่ไหวจะเป็นอย่างไร? แกนนำแต่ละสีเสื้อจะได้รู้ถึงความเจ็บปวดเหล่านี้บ้างไหม? และผมจะหาทางให้สังคมได้ตระหนักถึงความเจ็บปวดสูญเสียของบุคคลเหล่านี้ได้อย่างไร? ฯลฯ
หลังจากเก็บข้อมูลและเสร็จสิ้นการเยี่ยมเยียน พวกเราได้ปั่นจักรยานมุ่งหน้าตัวเมืองศรีสะเกษ ถึงหน้าห้าง Big C ในเวลาเย็น มีคนเสื้อแดงนำรถมอเตอร์ไซด์มาร่วมขบวนแรลลี่หลายสิบคัน ขบวนแรลลี่เส้นทางสีแดงได้แรลลี่รอบตัวเมืองศรีสะเกศและมาถึงเวทีของหอการค้าตั้งอยู่บริเวณริมสถานีรถไฟซึ่งเป็นสถานที่จัดงานรำลึกวีรชน เวลาประมาณ 19.00 น. ผู้ว่าราชการศรีสะเกษได้มอบหมายให้ปลัดจังหวัด (คุณพยม ธารีชาญ) และป้องกันจังหวัด (คุณวิบูลย์ กิ่วสุวรรณ) เป็นตัวแทนขึ้นกล่าวเปิดงาน พร้อมกับมอบเงินบริจาคจำนวน 3,000 บาท ผมเป็นผู้รับมอบเงินบริจาคและได้มอบต่อให้กับคุณแอ๊วเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
หลังจากนั้นพิธีกรบนเวทีได้เชิญครอบครัวของวีรชนทั้ง 10 คนขึ้นบนเวทีเพื่อกล่าวความในใจและรับมอบเงินเยียวยา ผมจำได้ว่ามีหญิงหม้ายคนหนึ่งได้รับเกียรติกล่าวเป็นคนแรก เธอกล่าวว่า เธอได้รับโทรศัพท์จากสามีช่วงเช้าบอกว่าจะไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ต่อมาเธอได้ทราบข่าวว่าสามีเธอเสียชีวิตเนื่องจากถูกทหารยิง เธอเล่าทั้งน้ำตาว่า "หนูไม่คิดว่าประโยคนั้นจะเป็นประโยคสุดท้ายจากสามีที่เป็นที่รักยิ่งของหนู" ขณะที่เธอกล่าว ทุกคนในงานเงียบกริบ และเมื่อเธอกล่าวจบ .. น้ำตาของผมก็ร่วงออกมา
จากนั้นบรรดาญาติของวีรชนก็เปลี่ยนกันพูดถึงผู้ที่จากไป แต่ละคนได้บอกเล่าถึงความสูญเสียที่พวกเขาได้รับ ทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องเศร้าสะเทือนใจ มีชายที่ใส่แว่นดำผู้หนึ่งพูดเสียงสะอื้นว่าเขาต้องสูญเสียดวงตาไปเนื่องจากแก๊สน้ำตาในวันที่ 10 เมย. (เช่นเดียวกับคุณเกียรติศักดิ์จากอุดร) เป็นที่น่าเสียดายว่าผมไม่สามารถบันทึกเหตุการณ์นี้อย่างละเอียดเท่าที่ใจต้องการ คุณแอ๊วซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้านได้ขึ้นกล่าวความรู้สึกในใจบนเวทีทั้งน้ำตา เธอบอกกับผมภายหลังว่าเป็นความตั้งใจและปรารถนาที่จะจัดงานรูปแบบนี้ที่เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้บอกกล่าวให้กับสังคมได้ทราบถึงความเจ็บช้ำของผู้สูญเสีย ในขณะที่ผมรับฟังนั้น ผมบอกกับตัวเองว่าผมจะกลับมาที่ศรีสะเกษเพื่อจัดงานรำลึกวีรชนให้พวกเขาอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น