29 September 2012 at 22:09
31. ขึ้นเขาพระวิหาร ดินแดนพิพาทปี 2554
เช้าวันที่ 2 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากศรีสะเกษมุ่งหน้าอุบลราชธานี ระยะทาง 61 กม. เป้าหมายในวันนี้คือการไปเยี่ยมผู้ต้องขังเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนอุบลราชธานีที่กระทำความผิดในคดีเผาศาลากลางและฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคม 2553 ถนนจากศรีสะเกษมุ่งหน้าจังหวัดอุบลสวยงามมาก พวกเราแวะพักกลางทางที่ตลาดแห่งหนึ่ง แม่ค้าหลายคนเมื่อทราบข่าวว่าเราจะไปเยี่ยมผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางได้นำเงินบริจาคมาร่วมสมทบให้หลายคน
ระหว่างการเดินทาง ขบวนปั่นจักรยานเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพได้ผ่านบ้านหลังหนึ่งที่มีชาวบ้านรออยู่ข้างทาง พวกเขาเรียกให้พวกเราแวะทานน้ำเพื่อพักเหนื่อย พวกเขาบอกว่าสมาชิกในบ้านส่วนหนึ่งไปรอที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองที่เป็นจุดนัดพบแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนรออยู่ที่บ้านหลังนี้เนื่องจากทราบว่าขบวนแรลลี่จะผ่าน พวกเขาได้นำด้ายสีแดงที่เตรียมไว้มาผูกข้อมือและอวยพรให้การเดินทางปลอดภัย ภาพถ่ายเช้าวันนั้นน่ารักมาก
พวกเราแวะทานข้าวกับเสรีชนกลุ่มหนึ่งในตัวเมืองอุบล ผุ้กองเต่าหรือรอ.พิสิธ พิพุฒซึ่งได้ร่วมกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาตั้งแต่ปี 2553 มีครอบครัวที่นี่ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จได้เดินทางถึงสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองซึ่งเป็นจุดนัดหมายในเวลา 13.30 น. มีชาวบ้านนับร้อยมารอต้อนรับ หลังจากที่ผมเป็นตัวแทนกลุ่มเส้นทางสีแดงกล่าวคำทักทายชาวบ้านบนเวทีแล้ว สมาชิกเส้นทางสีแดงและพี่น้องชาวอุบลได้ร่วมกันแรลลี่ไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กอุบลราชธานีที่ ต.หัวเรือ ระยะทางประมาณ 15 กม. มีชาวบ้านส่วนหนึ่งมารอล่วงหน้า รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อุบลซึ่งเป็นบุตรชายของคุณพ่อเพิ่ม พระสุพรรณจากศรีสะเกษ ชาวบ้านบางส่วนมาจากชมรมเสียงสตรีของจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้กระทำผิดเป็นเยาวชนอายุเพียง 16 ปีซึ่งได้สารภาพต่อศาลเยาวชนว่ากระทำความผิดจริง แต่เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ศาลจึงได้ลงโทษสถานเบาเป็นกักขังที่สถานพินิจแห่งนี้และจะได้รับการปล่อยตัวในราวเดือนตุลาคม 2555 ชาวบ้านที่มาร่วมเยียนเยียนต่างกล่าวให้กำลังใจ ไม่มีใครตำหนิเด็กคนนี้ต่อการกระทำของเขา หลายคนแสดงเจตนาที่จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษาหลังจากที่ได้รับอิสรภาพ โชคดีที่กลุ่มเส้นทางสีแดงมาทำกิจกรรมที่อุบลราชธานี เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมาเยี่ยมเยียนเด็กเสื้อแดงคนนี้จนกระทั่งวันที่เส้นทางสีแดงผ่านมาถึง รอ.พิสิทธ์ พิพุฒได้เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคที่เส้นทางสีแดงได้รับในเช้าวันนั้นจำนวน 3,700 บาท
เย็นวันนั้นพวกเราไปรับประทานอาหารที่บ้านของคุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเส้นทางสีแดงตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง เช้าวันต่อมาได้ปั่นจักรยานกลับมาที่ศรีสะเกษ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จากนั้นได้ปั่นจักรยานมาที่อำเภอขุนหาญเพื่อเตรียมขึ้นเขาพระวิหารในวันที่ 4 กพ. ที่อ.ขุนหาญได้รับการต้อนรับโดยคุณธีระ ไตรสรณกุล ซึ่งเป็นสส.จากพรรคเพื่อไทย ระยะทางปั่นจักรยานในวันนั้นไม่ต่ำกว่า 80 กม.
เช้าวันที่ 4 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากอ.ขุนหาญผ่านหมู่บ้านโนนเอาว์ อ.กันทรลักษณ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านไกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา แวะเยี่ยมชาวบ้านและรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับสนทนาเก็บข้อมูลการเข้าร่วมชุมนุมของชาวบ้าน พวกเขายืนยันว่าเดินทางไปร่วมชุมนุมเองโดยไม่มีใครจ้าง พวกเขารักและอาลัยเสธแดงมาก และต้องการให้นายกทักษิณกลับประเทศโดยเร็ว
หลังจากถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พวกเราได้ปั่นจักรยานขึ้นเขาพระวิหารในเวลาบ่าย เส้นทางสูงชัน นักปั่นบางคนที่ไม่เคยชินต้องใช้รถ service ช่วยบรรทุกจักรยานขึ้นเขา พวกเราผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมุ่งหน้าผามออีแดงที่อยู่ยอดบนสุดของเขาพระวิหาร ที่นั่นผมพบชายพิการ 2 คน ทั้งคู่มีอาชีพขายดอกไม้ธูปเทียนให้กับผู้ที่มาเขาพระวิหาร หนึ่งในนั้นเป็นอดีตอาสาสมัครผู้พัฒนาป้องกันหมู่บ้านชายแดน (อพป.) ชื่อนายวิชิน ประสานจิตร อายุ 56 ปี ซึ่งพิการจากการเหยียบกับระเบิดที่ภูมะเขือเมื่อปี 2532
เขาเล่าว่าเมื่อก่อนเกิดเหตุการณ์พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ได้มีกลุ่มคนต่างถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนใต้ คนพวกนี้ใส่เสื้อเหลือง เที่ยวอ้่างว่ารักชาติ รักในหลวง คนกลุ่มนี้ได้เข้ามาทำการยั่วยุสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในพื้นที่พิพาทผามออีแดงเพื่อให้สื่อมวลชนประโคมข่าว ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและวิวาทกับชาวบ้านที่ซึ่งต้องการอยู่อย่างสงบ หลังจากทำการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง ทหารไทยและกัมพูชาก็ได้เปิดฉากยิงใส่กันจนเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทำให้รัฐบาลสองประเทศต้องปิดชายแดน ส่งผลให้การท่องเที่ยวและการค้าตามแนวชายแดนต้องหยุดชะงัก ร้านค้าเงียบเหงา มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
พวกเราได้เดินต่อไปยังผามออีแดงซึ่งเป็นจุดที่เกิดข้อพิพาททางประวัติศาสตร์ ได้พบกับทหารที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณนั้นหลายนาย จากจุดที่ผมถ่ายรูปที่มีป้ายคำว่า "ผามออีแดง" นั่นคือพื้นที่ในเขตประเทศไทย ด้านล่างหน้าผาคืออาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีทหารกัมพูชาประจำการอยู่คนละฝั่งของภูเขา ต่างฝ่ายต่างมีกล้องส่องทางไกลเพื่อตรวจดูเหตุการณ์ ด้านขวามือของผามออีแดงคือภูมะเขือ อีกหนึ่งสถานที่มีการปะทะกันของทหารสองฝ่าย
ผมได้ทำการสอบถามข้อมูลช่วงที่เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีทหารไทยคนใดต้องการให้เกิดสงคราม หนึ่งในทหารที่ผมสนทนาด้วยกล่าวว่า " ผมอยากให้เจรจาให้มีสันติภาพ อยู่แดนใครแดนมัน อยู่อย่างมีสันติ คนเสื้อเหลืองมาจากต่างถิ่น มาสร้างความขัดแย้ง จุดชนวนสงครามแล้วจากไป คนที่ได้รับผลกระทบคือชาวบ้านและทหารที่ต้องบาดเจ็บล้มตายจากการทำสงครามสองประเทศ"
ผมได้ขอถ่ายรุปกับหนึ่งในทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดที่มีข้อพิพาทบริเวณหน้าผามออีแดง ภาพนี้ผมถือเสมือนหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ของเส้นทางสีแดง เป็นการสื่อความหมายว่าคนเสื้อแดงไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกับทหาร และมิตรภาพระหว่างคนเสื้อแดงและทหารสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังเหตุการณ์สังหารประชาชนในปี 2553 ... เส้นทางสีแดงให้กำลังใจทหารประชาธิปไตยที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศชาติและประชาชนเสมอ
เช้าวันที่ 2 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากศรีสะเกษมุ่งหน้าอุบลราชธานี ระยะทาง 61 กม. เป้าหมายในวันนี้คือการไปเยี่ยมผู้ต้องขังเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนอุบลราชธานีที่กระทำความผิดในคดีเผาศาลากลางและฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคม 2553 ถนนจากศรีสะเกษมุ่งหน้าจังหวัดอุบลสวยงามมาก พวกเราแวะพักกลางทางที่ตลาดแห่งหนึ่ง แม่ค้าหลายคนเมื่อทราบข่าวว่าเราจะไปเยี่ยมผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางได้นำเงินบริจาคมาร่วมสมทบให้หลายคน
ระหว่างการเดินทาง ขบวนปั่นจักรยานเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพได้ผ่านบ้านหลังหนึ่งที่มีชาวบ้านรออยู่ข้างทาง พวกเขาเรียกให้พวกเราแวะทานน้ำเพื่อพักเหนื่อย พวกเขาบอกว่าสมาชิกในบ้านส่วนหนึ่งไปรอที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองที่เป็นจุดนัดพบแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนรออยู่ที่บ้านหลังนี้เนื่องจากทราบว่าขบวนแรลลี่จะผ่าน พวกเขาได้นำด้ายสีแดงที่เตรียมไว้มาผูกข้อมือและอวยพรให้การเดินทางปลอดภัย ภาพถ่ายเช้าวันนั้นน่ารักมาก
พวกเราแวะทานข้าวกับเสรีชนกลุ่มหนึ่งในตัวเมืองอุบล ผุ้กองเต่าหรือรอ.พิสิธ พิพุฒซึ่งได้ร่วมกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาตั้งแต่ปี 2553 มีครอบครัวที่นี่ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จได้เดินทางถึงสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองซึ่งเป็นจุดนัดหมายในเวลา 13.30 น. มีชาวบ้านนับร้อยมารอต้อนรับ หลังจากที่ผมเป็นตัวแทนกลุ่มเส้นทางสีแดงกล่าวคำทักทายชาวบ้านบนเวทีแล้ว สมาชิกเส้นทางสีแดงและพี่น้องชาวอุบลได้ร่วมกันแรลลี่ไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กอุบลราชธานีที่ ต.หัวเรือ ระยะทางประมาณ 15 กม. มีชาวบ้านส่วนหนึ่งมารอล่วงหน้า รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งที่อุบลซึ่งเป็นบุตรชายของคุณพ่อเพิ่ม พระสุพรรณจากศรีสะเกษ ชาวบ้านบางส่วนมาจากชมรมเสียงสตรีของจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้กระทำผิดเป็นเยาวชนอายุเพียง 16 ปีซึ่งได้สารภาพต่อศาลเยาวชนว่ากระทำความผิดจริง แต่เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ศาลจึงได้ลงโทษสถานเบาเป็นกักขังที่สถานพินิจแห่งนี้และจะได้รับการปล่อยตัวในราวเดือนตุลาคม 2555 ชาวบ้านที่มาร่วมเยียนเยียนต่างกล่าวให้กำลังใจ ไม่มีใครตำหนิเด็กคนนี้ต่อการกระทำของเขา หลายคนแสดงเจตนาที่จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษาหลังจากที่ได้รับอิสรภาพ โชคดีที่กลุ่มเส้นทางสีแดงมาทำกิจกรรมที่อุบลราชธานี เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมาเยี่ยมเยียนเด็กเสื้อแดงคนนี้จนกระทั่งวันที่เส้นทางสีแดงผ่านมาถึง รอ.พิสิทธ์ พิพุฒได้เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคที่เส้นทางสีแดงได้รับในเช้าวันนั้นจำนวน 3,700 บาท
เย็นวันนั้นพวกเราไปรับประทานอาหารที่บ้านของคุณมัทรี รัตโน (คุณอ้อน) ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเส้นทางสีแดงตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง เช้าวันต่อมาได้ปั่นจักรยานกลับมาที่ศรีสะเกษ ผ่านอำเภอกันทรารมย์ จากนั้นได้ปั่นจักรยานมาที่อำเภอขุนหาญเพื่อเตรียมขึ้นเขาพระวิหารในวันที่ 4 กพ. ที่อ.ขุนหาญได้รับการต้อนรับโดยคุณธีระ ไตรสรณกุล ซึ่งเป็นสส.จากพรรคเพื่อไทย ระยะทางปั่นจักรยานในวันนั้นไม่ต่ำกว่า 80 กม.
เช้าวันที่ 4 กพ. 2555 พวกเราปั่นจักรยานจากอ.ขุนหาญผ่านหมู่บ้านโนนเอาว์ อ.กันทรลักษณ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านไกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา แวะเยี่ยมชาวบ้านและรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับสนทนาเก็บข้อมูลการเข้าร่วมชุมนุมของชาวบ้าน พวกเขายืนยันว่าเดินทางไปร่วมชุมนุมเองโดยไม่มีใครจ้าง พวกเขารักและอาลัยเสธแดงมาก และต้องการให้นายกทักษิณกลับประเทศโดยเร็ว
หลังจากถ่ายรูปเป็นที่ระลึก พวกเราได้ปั่นจักรยานขึ้นเขาพระวิหารในเวลาบ่าย เส้นทางสูงชัน นักปั่นบางคนที่ไม่เคยชินต้องใช้รถ service ช่วยบรรทุกจักรยานขึ้นเขา พวกเราผ่านที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมุ่งหน้าผามออีแดงที่อยู่ยอดบนสุดของเขาพระวิหาร ที่นั่นผมพบชายพิการ 2 คน ทั้งคู่มีอาชีพขายดอกไม้ธูปเทียนให้กับผู้ที่มาเขาพระวิหาร หนึ่งในนั้นเป็นอดีตอาสาสมัครผู้พัฒนาป้องกันหมู่บ้านชายแดน (อพป.) ชื่อนายวิชิน ประสานจิตร อายุ 56 ปี ซึ่งพิการจากการเหยียบกับระเบิดที่ภูมะเขือเมื่อปี 2532
เขาเล่าว่าเมื่อก่อนเกิดเหตุการณ์พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ได้มีกลุ่มคนต่างถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนใต้ คนพวกนี้ใส่เสื้อเหลือง เที่ยวอ้่างว่ารักชาติ รักในหลวง คนกลุ่มนี้ได้เข้ามาทำการยั่วยุสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในพื้นที่พิพาทผามออีแดงเพื่อให้สื่อมวลชนประโคมข่าว ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและวิวาทกับชาวบ้านที่ซึ่งต้องการอยู่อย่างสงบ หลังจากทำการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง ทหารไทยและกัมพูชาก็ได้เปิดฉากยิงใส่กันจนเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทำให้รัฐบาลสองประเทศต้องปิดชายแดน ส่งผลให้การท่องเที่ยวและการค้าตามแนวชายแดนต้องหยุดชะงัก ร้านค้าเงียบเหงา มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
พวกเราได้เดินต่อไปยังผามออีแดงซึ่งเป็นจุดที่เกิดข้อพิพาททางประวัติศาสตร์ ได้พบกับทหารที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณนั้นหลายนาย จากจุดที่ผมถ่ายรูปที่มีป้ายคำว่า "ผามออีแดง" นั่นคือพื้นที่ในเขตประเทศไทย ด้านล่างหน้าผาคืออาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีทหารกัมพูชาประจำการอยู่คนละฝั่งของภูเขา ต่างฝ่ายต่างมีกล้องส่องทางไกลเพื่อตรวจดูเหตุการณ์ ด้านขวามือของผามออีแดงคือภูมะเขือ อีกหนึ่งสถานที่มีการปะทะกันของทหารสองฝ่าย
ผมได้ทำการสอบถามข้อมูลช่วงที่เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีทหารไทยคนใดต้องการให้เกิดสงคราม หนึ่งในทหารที่ผมสนทนาด้วยกล่าวว่า " ผมอยากให้เจรจาให้มีสันติภาพ อยู่แดนใครแดนมัน อยู่อย่างมีสันติ คนเสื้อเหลืองมาจากต่างถิ่น มาสร้างความขัดแย้ง จุดชนวนสงครามแล้วจากไป คนที่ได้รับผลกระทบคือชาวบ้านและทหารที่ต้องบาดเจ็บล้มตายจากการทำสงครามสองประเทศ"
ผมได้ขอถ่ายรุปกับหนึ่งในทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงจุดที่มีข้อพิพาทบริเวณหน้าผามออีแดง ภาพนี้ผมถือเสมือนหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ของเส้นทางสีแดง เป็นการสื่อความหมายว่าคนเสื้อแดงไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกับทหาร และมิตรภาพระหว่างคนเสื้อแดงและทหารสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังเหตุการณ์สังหารประชาชนในปี 2553 ... เส้นทางสีแดงให้กำลังใจทหารประชาธิปไตยที่มีหน้าที่ปกป้องประเทศชาติและประชาชนเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น