วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ (ตอน 25)


24 July 2012 at 01:46
25. น้ำตารักแท้ที่อุดร

เช้าวันที่ 19 มค. พวกเราเดินทางออกจากอ.หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจุดหมายอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทางในการปั่นจักรยานคือ  105 กม. ที่บ้านร่องคำก่อนเข้าตัวเมือง มีคนเสื้อแดงนำโดยคุณประสิทธิื์ (ประธานนปช.กาฬสินธุ์) มาคอยต้อนรับ จากนั้นได้เดินทางเข้าตัวเมืองกาฬสินธ์ แวะสักการะอนุเสาวรีย์พญาไชยสุนทร เข้าที่พักในค่ายกองร้อยอาสาสมัครกาฬสินธุ์

เช้าวันที่ 20 มค.พวกเราออกเดินทางมุ่งหน้าอ.วังสามหมอ ระยะทาง 98 กม. ถึงวังสามหมอในเวลาเย็น เข้าพักที่บ้านคุณตี้ซึ่งเคยปั่นจักรยานร่วมกับเส้นทางสีแดงเมื่อคราวที่มาอีสานครั้งแรก คุณตี้เปิดบ้านพักรับรอง มีเวทีเล็กๆในบ้านและมีพี่น้องแดงวังสามหมอมาร่วมงานหลายสิบคน ผมพบว่าพี่น้องวังสามหมอเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่เข้มแข็งและแกนนำล้วนเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ บางท่านเป็นครูซึ่งเป็นที่นับหน้าถือตาในท้องถิ่น ที่วังสามหมอไม่มีผู้ได้รับผลกระทบ เวทีจึงเป็นเวทีสังสรรค์เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเส้นทางสีแดงและพี่น้องวังสามหมอ ผมได้รับการร้องขอให้ร้องเพลงนักสู้ธุลีดินให้พี่น้องที่อยู่ในงานฟัง

เช้าวันที่ 21 มค.พวกเราปั่นจักรยานจากอ.วังสามหมอมุ่งหน้าอุดรธานี ระยะทางในวันนี้ 100 กม. อากาศค่อนข้างหนาว มีคนเสื้อแดงนำเสื้อยืดแขนยาวสีแดงมามอบให้ และมีพี่น้องนักปั่นจักรยานของแดงวังสามหมอนับสิบคันปั่นร่วมทางไปส่งถึงอุดรธานี พวกเราผ่านอ.ศรีธาตุ อ.กุมภวาปี มีคนเสื้อแดงมารอต้อนรับและมอบเงินบริจาค ถึงอุดรธานีเวลาเย็น มีร.ต.ต.กมลศิลป์ ประธานสหพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงที่เคยต้อนรับกิจกรรมเส้นทางสีแดงครั้งแรมาคอยรับนอกเมือง พวกเราได้แวะพักทานอาหารกลางทางเนื่องจากฝนตก และได้ร่ำลาพี่น้องนักปั่นจากวังสามหมอที่นี่

ร.ต.ต.กมลศิลป์ได้นำรถส่วนตัวพาพวกเราเดินทางไปที่สถานีวิทยุคนรักไทยซึ่งเป็นสถานีวิทยุคนเสื้อแดงโดยการสนับสนุนของพ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆิน สส.พรรคเพื่อไทยจังหวัดอุดรธานี ที่นี่พวกเราได้มีโอกาสรับรู้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในอีกแง่มุมหนึ่ง ทำให้ผมแน่ใจได้ว่าที่ใดที่มีคนเสื้อแดงมากก็จะมีกลุ่มต่างๆเกิดขึ้นและมักจะมีความขัดแย้งกันโดยเฉพาะเรื่องของการแย่งชิงศรัทธาความเชื่อถือจากมวลชน การเดินทางไปทั่วประเทศทำให้ผมมองเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ

เช้าวันที่ 22 มค.ก่อนออกเดินทาง ผมได้รับเชิญไปออกอากาศทางสถานีวิทยุคนรักไทยเพื่อทักทายชาวอุดรโดยเฉพาะคนที่เคยร่วมกิจกรรมเส้นทางสีแดงที่อุดรครั้งแรก ผมได้ให้สัมภาษณ์และเล่าเรื่องกิจกรรมที่ผ่านมา รวมถึงได้ชี้แจงข่าวลือเกี่ยวกับผมและเส้นทางสีแดง มีพี่น้องเสื้อแดงที่อุดรโทรมาให้กำลังใจหลายสาย ก่อนจะจากกันได้พวกเราได้ถ่ายรูปกับคุณครูนางซึ่งเป็นเจ้าของสถานีและดีเจหงษ์ทอง ดาวอุดรและทีมงานเป็นที่ระลึก

สายวันนั้นพวกเราได้เดินทางไปเยี่ยมคุณเกียรติศักดิ์ที่บ้านในตัวเมืองอุดร การเยี่ยมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ( ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนพย.2553 และครั้งที่สองเมื่อเดือนพค.2554) ถึงที่บ้านประมาณ 10 โมงเช้า มีลูกสาว น้องสาวและพี่สาวของคุณเกียรติศักดิ์ออกมาต้อนรับ สมาชิกในบ้างต่างดีใจที่เห็นเส้นทางสีแดงกลับมาเยี่ยมเขาอีกครั้ง พวกเขาบอกว่าคุณเกียรติศักดิ์และภรรยาเดินทางไปทำสวนยางที่จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ภรรยาได้ฝากรูปถ่ายของคุณเกียรติศักดิ์ไว้ให้พวกเราเป็นที่ระลึก (เป็นภาพถ่ายของคุณเกียรติศักดิ์ที่ถ่ายไว้ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเมื่อครั้งเดินทางไปชุมุนมกับนปช.เมื่อเดือนมีค.-พค. 2553 ก่อนที่จะถูกแก๊สน้ำตา)

หลังจากทักทายกันเสร็จแล้วผมได้สัมภาษณ์น้องสาวของคุณเกียรติศักดิ์ เธอเล่าให้ผมฟังต่อจากข้อมูลในครั้งก่อนว่าคุณเกียรติศักดิ์ได้เดินทางเข้าร่วมชุมนุมกับนปช.ตั้งแต่วันที่ 12 มีค.2553 ซึ่งเป็นวันแรก ได้ร่วมโกนหัวประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา ในวันที่ 10 เมย.คุณเกียริศักดิ์ถูกแก๊สน้ำตาที่โยนลงมาจากเฮลิคอปเตอร์บริเวณสะพานผ่านฟ้า แต่ใจแข็งไม่ยอมกลับมารักษาตัวเพราะเป็นห่วงภรรยา

ในวันที่ 19 พค.พวกเขาอยู่ที่ราชประสงค์ ได้ยินเสียงปืนที่ทหารยิงมาสนั่นหวั่นไหว คุณเกียรติศักดิ์ได้ตะโกนบอกว่า "ไม่ต้องถอยๆ ทหารไม่ทำอะไรประชาชน" คุณเกียรติศักดิ์ตะโกนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนคนในครอบครัวต้องดึงเข้าไปอยู่ในวัดปทุม

ในวัดปทุมพวกเขาเล่าว่าขณะที่ทหารกราดยิงเข้ามาในวัด พวกเขาได้ยินเสียงปืนดังขึ้นจากภายในวัด 3-4 นัด ทำให้เกิดมีกำลังใจ รู้สึกดีใจเหมือนมีคนมาช่วย (แต่ผมคิดว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ใ้ห้มีการยิงออกมาจากภายในวัดปทุมประปรายเสมือนหนึ่งว่ามีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในวัด โดยมีเป้าหมายลวงให้ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่ามีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในวัดจริง-ผู้เขียน)

หลังกลับจากกรุงเทพ อาการของคุณเกียรติศักดิ์ที่โดนแก๊สน้ำตาเมื่อวันที่ 10 เมย.53 รุนแรงขึ้น (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณเกียรติศักดิ์ไม่ยอมเลิกชุมนุมหลังจากถูกแก๊สน้ำตาใหม่ๆ แต่ต้องการที่จะอยู่ร่วมชุมนุมกับพี่้น้องเสื้อแดงร่วมกับภรรยาเนื่องจากเป็นห่วงภรรยาจะเกิดอันตราย) ดวงตาที่มีอยู่ข้างเดียวค่อยๆมืดดับลงจนกระทั่งบอดสนิท

น้องสาวคุณเกียรติศักดิ์ได้เล่าให้พวกเราฟังว่าคุณเกียรติศักดิ์เริ่มที่จะปรับตัวได้ ระยะหลังเขาได้ขอให้ภรรยาพาไปทำสวนยางที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่อยู่ไกลออกไปนับร้อยกิโล เหตุผลก็คือเพื่อที่คนทั้งสองจะได้อยู่กันอย่างเงียบๆตามลำพัง และประโยคที่กินใจผมมากที่สุดเกิดขึ้นที่นี่ น้องสาวคุณเกียรติศักดิ์ได้เล่าทั้งน้ำตาว่า ภรรยาคุณเกียรติศักดิ์ซึ่งดูแลสามีมาตลอดได้บอกกับทุกคนในครอบครัวว่า " .. ชีวิตที่เหลืออยู่จะขอดูแลสามีจนวาระสุดท้าย 

(หมายเหุต : โชคดีที่ผมบันทึกคลิปวีดีโอการสัมภาษณ์ช่วงนี้ได้ทัน และผมตั้งใจในขณะนั้นว่าจะต้องกลับมาเขียนเรื่องนี้และตั้งชื่อบันทึกว่า .. น้ำตารักแท้ที่อุดร .. ผมได้นำกิจกรรมเส้นทางสีแดงตระเวณไปทั่วประเทศนับหมื่นกิโล เรื่องราวของคุณเกียรติศักดิ์เป็นเรื่องราวการเสียสละที่สะเทือนใจและความรักของคนทั้งสองเป็นเรื่องงดงามที่สุดที่ผมได้พบมา)

http://www.youtube.com/watch?v=EK2jcWIG2WU

21 มค.55 มอบเงินบริจาคให้ครอบครัวคุณเกียรติศักดิ์ มาอาสา
21 มค.55 มอบเงินบริจาคให้ครอบครัวคุณเกียรติศักดิ์ มาอาสา


19 มค. 55 พี่น้องแดงกาฬสินธุ์
19 มค. 55 พี่น้องแดงกาฬสินธุ์


20 มค.55 คุณครูและแกนนำเสื้อแดงวังสามหมอ
20 มค.55 คุณครูและแกนนำเสื้อแดงวังสามหมอ


20 มค.55 ถ่ายกับพี่น้องแดงวังสามหมอ
20 มค.55 ถ่ายกับพี่น้องแดงวังสามหมอ


20 มค. 55 พี่น้องแดงวังสามหมอ (หน้าบ้านคุณตี้)
20 มค. 55 พี่น้องแดงวังสามหมอ (หน้าบ้านคุณตี้)


20 มค.55 พี่น้องแดงอ.ศรีธาตุ
20 มค.55 พี่น้องแดงอ.ศรีธาตุ


20 มค.55 พี่น้องแดงอ.กุมภวาปี
20 มค.55 พี่น้องแดงอ.กุมภวาปี


21 มค.55 ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุคนรักไทย
21 มค.55 ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุคนรักไทย


21 มค. 55 ถ่ายหน้าสถานีวิทยุคนรักไทย
21 มค. 55 ถ่ายหน้าสถานีวิทยุคนรักไทย


21 มค. 55 ถ่ายหน้าสถานีวิทยุคนรักไทย
21 มค. 55 ถ่ายหน้าสถานีวิทยุคนรักไทย


21 มค.55 ภาพถ่ายคุณเกียรติศักดิ์และครอบครัว พร้อมหน้าบันทึกจากลายมือการเยี่ยมวันนั้น
21 มค.55 ภาพถ่ายคุณเกียรติศักดิ์และครอบครัว พร้อมหน้าบันทึกจากลายมือการเยี่ยมวันนั้น


21 มค.55 ถ่ายกับน้องสาวและบุตรสาวคุณเกียรติศักดิ์
21 มค.55 ถ่ายกับน้องสาวและบุตรสาวคุณเกียรติศักดิ์

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ (ตอน 24)


22 July 2012 at 01:12
24. เยียวยาวีรชนร้อยเอ็ด (อ.โพนทราย อ.พนมไพร อ.หนองพอก)

หลังจากที่ได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศสถานีวิทยุคนเสื้อแดงในมหาสารคามเสร็จสิ้น พวกเราได้เดินทางไปจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจุดนัดพบที่บึงพลาญชัยซึ่งเป็นสวนสาธารณะกลางเมืองร้อยเอ็ด ที่นี่มีคุณสุริยะกานต์เป็นผู้ประสานงานในการเยี่ยมครอบครัววีรชน ผู้เสียชีวิตที่ร้อยเอ็ดมีทั้งหมด 3 ราย โดยอยู่คนละอำเภอ แต่ละอำเภอมีระยะทางที่ห่างกันมาก (ระยะทางทั้งหมด 240 กม.) วิธีในการไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตให้ครบภายในวันเดียวจะต้องเดินทางโดยรถยนต์

พวกเราถึงสถานที่นัดหมายในเวลาประมาณเที่ยงวัน อากาศร้อนอบอ้าว ผมได้นำเงินบริจาคที่มีทั้งหมดออกมานับพบว่ามีประมาณ 2,500 บาทและพระเครื่องอีก 3 องค์ ขณะที่นั่งรอผู้มารับรอ.ปรีชาได้นั่งพักเหนื่อยจนหลับไปในท่านั่งนั้นพร้อมกับกองเงินบริจาค ผมได้ถ่ายคลิปวีดีโอเืพื่อเป็นหลักฐานการทำกิจกรรมในอนาคต

http://www.youtube.com/watch?v=qj_XxXPOoA4

พวกเราถึงบ้านของวีรชนท่านแรกที่อ.โพนทราย มีครอบครัวของวีรชนมารอกันอย่างพร้อมหน้า วีรชนที่เสียชีวิตชื่อคุณอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 29 ปี เพิ่งเรียนจบรับปริญญา คุณแม่ซึ่งถือภาพของบุตรชายเล่าว่าในวัยเด็กคุณอัฐชัยเป็นคนนิสัยดี ร่าเริง ชอบเล่นกับเพื่อนๆ ชอบเล่นดนตรี เิพิ่งรับปริญญาได้ 2 เดือนก็เสียชีวิต (ในขณะที่พูดถึงบุตรชายคุณแม่มีสีหน้าที่ภูมิใจ และรู้สึกชื่นใจเมื่อผมบอกว่าลูกชายเสียชีวิตในหน้าที่ปกป้องประชาธิปไตย) รอ.ปรีชา เอกฉัตรได้มอบเงินเยียวยาให้กับครอบครัววีรชนต่อหน้าสมาชิกในครอบครัว ประธานนปช.อโพนทรายและผู้นำชุมชนและเพื่อนบ้านที่มาให้กำลังใจ คุณแม่ของคุณณัฐชัยได้ฝากคำพูดถึงคนเสื้อแดงว่า ... "ขอให้คนเสื้อแดงได้ต่อสู้ต่อไป สู้เพื่อประชาธิปไตยและสู้เพื่อชาติ"

http://www.youtube.com/watch?v=QXJjdKjPot8

หลังจากนั้นพวกเราได้เดินทางไปที่อ.พนมไพร ถึงเวลาประมาณ 17.30 น. ได้ทักทายกับสมาชิกในครอบครัววีรชนที่มาร้อต้อนรับซึ่งมีทั้งคุณพ่อ คุณแม่ คุนลุง คุณป้า คุณยาย พี่สาวและน้องสาว ฯลฯ คุณธัญกมล คำน้อยซึ่งเป็นพี่สาวได้เป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เนื่องจากเป็นผู้ไกล้ชิดกับผู้เสียชีวิตมากที่สุด ผมเห็นว่าคลิปสัมภาษณ์มีข้อมูลที่เห็นถึงความไม่ปกติของการปฏิบัติหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ทำการรักษา จึงขอถอดคลิปนำมาสรุปให้ฟังดังนี้ ....

" ผู้เสียชีวิตชื่อคุณเกรียงไกร คำน้อย อายุ 24 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมย.บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการในเวลาประมาณบ่ายสามครึ่ง ถูกยิงที่ท้องนำส่งโรงพยาบาลวชิรพยาบาล เขตดุสิต หมอที่ทำการรักษานำภาพเอ็กเรย์มาให้ดูและพยายามอธิบายว่าบาดแผลเกิดจากของแข็งไม่ใช่ปืน หลังจากนั้นทางโรงพยาลได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแจ้งว่าผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาลนี้ไมได้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืน พี่สาวของผู้ตายไ้ด้โต้เถียงว่าน้องชายเสียชีวิตเพราะถูกยิงแต่ถูกห้ามปรามและนำตัวออกจากสถานที่แถลงข่าว และที่ผิดปกติคือน้องชายไม่ได้เป็น 1 ใน 16 ศพที่เสียชีวิตที่กำลังดำเนินคดีกับรัฐบาล จึงได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นเพราะสาเหตุที่ถูกยิงในเวลากลางวันหรือไม่ (เพราะจะเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าทหารได้ใช้กระสุนจริงยิงผู้ชุมนุมในเวลากลางวัน) "

http://www.youtube.com/watch?v=VG3lSFVND7I

หลังเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ รอ.ปรีชาได้มอบเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต หลังจากนั้นพวกเราได้เดินทางต่อไปที่อ.หนองพอก ถึงอ.หนองพอกในเวลาประมาณ 20.30 น. ได้ไปที่บ้านของคุณจันทึกซึ่งเป็นประธานนปช.อ.หนองพอก พบญาติซึ่งเป็นน้องชายและพี่ชายผู้เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตชื่อคุณพรสวัสดิ์ นาคะชัย อายุ 23 ปี ถูกยิงที่บ่อนไก่เมื่อวันที่ 15 พค. กระสุนเข้าที่เอวขวาทะลุใต้รักแร้ซ้าย รอ.ปรีชาได้มอบเงินบริจาคต่อหน้าคนเสื้อแดงหนองพอก จากนั้นผู้สูงอายุได้ผูกข้อมือพร้อมกับให้ศีลให้พรตามธรรมเนียมคนอีสาน

พวกเราได้ทานข้าวเย็นในเวลาเกือบสามทุ่ม เป็นครั้งแรกนับแต่ออกทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงที่ได้ตระเวณเยี่ยมผู้เสียชีวิตถึง 3 อำเภอในวันเดียวกัน การทำกิจกรรมในวันนั้นค่อนข้างเหน็ดเหนื่อยสำหรับพวกเรา คืนนั้นพวกเรานอนพักที่บ้านคุณจันทึก เช้าวันถัดมาก่อนจะออกเดินทาง ได้มีเพื่อนบ้านไกล้เคียงกับคุณจันทึกที่เป็นคนเสื้อเหลืองมาร่วมส่งพวกเราด้วย คุณจันทึกบอกว่าถึงแม้ว่าจะคนละสีเสื้อแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะรักในพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวกัน ผมเห็นเป็นภาพที่น่าประทับใจจึงขอถ่ายภาพคนทั้งสองที่ยืนจับมือกันไว้เป็นที่ระลึก

ในการเยี่ยมเยียนครอบครัวผู้เสียชีวิต ผมได้สัมผัสถึงความเป็นนักสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวอีสาน พวกเขามาร่วมชุมนุมโดยสมัครใจ พวกเขาเสียสละได้แม้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิตเพียงเพื่อให้ได้สิทธิิในการเลือกผู้นำของเขาเอง เงินเยียวยาที่ได้รับจากเส้นทางสีแดงถึงแม้จะไม่มากแต่ชาวบ้านก็ดีใจที่พวกเราไม่เคยทิ้งกัน เงินเยียวที่รัฐบาลได้มอบให้ในปี 2555 เป็นเพียงการเยียวยาทางด้านวัตถุเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเยียวยาบาดแผลของผู้สูญเสียอย่างแท้จริงคือการนำตัวผู้เกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนมาลงโทษ ... ผมคิดของผมเช่นนี้ !


18 มค.55 เยี่ยมครอบครัววีรชน อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด
18 มค.55 เยี่ยมครอบครัววีรชน อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด

18 มค.55 ถึงบึงพลาญชัยเวลาเที่ยงวัน
18 มค.55 ถึงบึงพลาญชัยเวลาเที่ยงวัน

18 มค.55 ถ่ายกับคุณครูเสื้อแดงที่บึงพลาญชัย
18 มค.55 ถ่ายกับคุณครูเสื้อแดงที่บึงพลาญชัย

18 มค.55 ถ่ายกับครอบครัววีรชนโพนทราย เวลาบ่าย 3
18 มค.55 ถ่ายกับครอบครัววีรชนโพนทราย เวลาบ่าย 3

18 มค.55 มอบเงินเยียวยาครอบครัววีรชนอ.หนองพอก
18 มค.55 มอบเงินเยียวยาครอบครัววีรชนอ.หนองพอก

18 มค.55 ถ่ายกับคนเสื้อแดงหนองพอก บ้านคุณจันทึก ประธานนปช.หนองพอก
18 มค.55 ถ่ายกับคนเสื้อแดงหนองพอก บ้านคุณจันทึก ประธานนปช.หนองพอก

18 มค.55 แดงหนองพอกร่วมลงชื่อในป้ายโครงการ
18 มค.55 แดงหนองพอกร่วมลงชื่อในป้ายโครงการ

18 มค.55 ผู้สูงอายุผูกข้อมือผู้มาเยือนตามธรรมเนียมอีสาน
18 มค.55 ผู้สูงอายุผูกข้อมือผู้มาเยือนตามธรรมเนียมอีสาน

19 มค.55 คนเสื้อเหลืองเพื่อนบ้านและคุณจันทึก ประธานนปช.อ.หนองพอก
19 มค.55 คนเสื้อเหลืองเพื่อนบ้านและคุณจันทึก ประธานนปช.อ.หนองพอก

19 มค.55 ถ่ายก่อนออกเดินทางจากอ.หนองพอก
19 มค.55 ถ่ายก่อนออกเดินทางจากอ.หนองพอก