วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

จดหมายจากเส้นทางสีแดงถึงเพื่อนใน มูลนิธิ ฟรีดริค เอ แบร์ท


26 December 2011 at 11.36

จดหมายนี้ผมถึงเขียนเพื่อนชาวไทยคนหนึ่งที่ทำงานอยู่มูลนิธิการกุศลแห่งหนึ่งชื่อ มูลนิธิ ฟรีดริค เอ แบร์ท ผมได้พบกับเธอคนนี้ในงานเสวนาที่จัดโดยศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหดิล เห็นว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ จึงขอนำมาไว้ในบันทึกเฟซบุ้ค ดังนี้ :

คนเสื้อแดงรู้สึกเจ็บปวดกับผลของรัฐประหาร 19 กย.2549 อย่างมาก สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการได้มีโอกาสเลือกตั้งผู้นำของเขาเอง ในวันที่ 12 มีค.2554 พวกเขาเดินทางเข้ามาจากทั่วประเทศนับแสนคนเพื่อมาชุมนุมให้รัฐบาลที่พวกเขาไม่เลือกยุบสภาเพียงเพื่อจะได้มีโอกาสเลือกตั้งใหม่ แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับคือการใส่ร้ายป้ายสีจากรัฐบาลเผด็จการกล่าวหาว่าพวกเขารับเงินมาชุมนุม กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นคนซ่องสุมอาวุธและทำร้ายผู้คน ในขณะที่ข้อเท็จจริงที่ผมได้รับตรงกันข้ามกับสิ่งที่รัฐบาลเผด็จการได้กล่าวหา เหตุการณ์การสังหารหมู่ (Massacre) ในวันที่ 10 เมย.และ 19 พค. ได้สร้างความเจ็บแค้นให้กับพวกเขาอย่างมาก คนเสื้อแดงนับหมื่นๆคนที่อยู่ในเหตุการณ์ได้บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งผ่านความทรงจำและภาพจากกล้องของพวกเขา หลังเหตุการณ์ 19 พค.คนเสื้อแดงถูกปราบปรามอย่างโหดร้าย และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงที่สุดในประเทศไทย ผู้บริสุทธิ์จำนวนมากถูกจับกุมคุมขังและไม่ได้รับสิทธิ์ในการประกันตัว คนเสื้อแดงจำนวนมากถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม เจตนาของผู้ปกครองมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นคือใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ เพื่อให้เกิดความหวดกลัวในหมู่ประชาชนเพื่อมิให้ลุกขึ้นมาทวงสิทธิขั้นพื้นฐานของเขาในฐานะเสรีชน การปราบปรามอย่างทารุณในปีนี้แม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ประวัติศาสตร์ 14 ตค. 2516 และ 6 ตค.2519 และ 14-17 พค.2537 ได้บอกกับสังคมไทยและโลกเช่นนั้น

กิจกรรมเส้นทางสีแดงได้ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคที่มืดมืดที่สุดของการเมืองไทย (ด้วยแรงบันดาลใจของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ซึ่งนำพวกเรานับพันคนกลับไปผูกผ้าแดงที่ราชประสงค์ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพี่น้องร่วมอุดมการณ์ของเราถูกสังหาร) กิจกรรมนี้มีเจตนาหลักเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือการปลุกใจให้คนไทยในต่างจังหวัดและชนบทได้ลุกขึ้นมาเพื่อสู้กับทรราชย์ผู้กดขี่ ข้อจำกัดของการทำกิจกรรมนี้คือการทำกิจกรรมในภาวะที่บ้านเมืองถูกปกครองด้วยกฏหมายเผด็จการ เช่น พรก.ฉุกเฉิน (Emergency Decree) ซึ่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกชนิดเป็นสิ่งต้องห้าม และการทำกิจกรรมถูกจับตาอย่างไกล้ชิดโดยทหารและสันติบาล ผมจึงได้ออกแบบกิจกรรมให้เป็นการปั่นจักรยานทางไกลเพื่อไปเยี่ยมเยือนผู้ได้รับผลกระทบในภาคอีสานซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีผู้สูญเสียมากที่สุด การปั่นจักรยานไม่ใช่เรื่องผิดกฏหมายไม่ว่าจะอยู่ในสถาการณ์ใด และการเดินทางด้วยการปั่นจักรยานทางไกลหลายๆพันกิโลเป็นเครื่องพิสูจน์เจตนาและความมุ่งมั่นของผู้ทำกิจกรรม การเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบและการมอบเงินบริจาคให้แก่ผู้สูญเสียเปรียบเสมือนความรักและความผูกพันของคนเสื้อแดง พวกเราไปปลอบขวัญพวกเขาให้หายหวาดกลัว พวกเราไปบอกเขาให้มีศรัทธาต่อประชาธิปไตย พวกเราเดินทางบอกเขาว่าอย่าสิ้นหวังกับการเรียกร้องสิ่งที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคน การต้อนรับและมิตรภาพที่พวกเราได้รับในแต่ละจังหวัดเป็นการสร้างรอยยิ้มและความหวังให้กับคนเสื้อแดงว่าจะกลับมาต่อสู้ร่วมกันอีกครั้ง ไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดงในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนเสื้อแดงในต่างประเทศ

นับจากนั้นเป็นต้นมา มีกิจกรรมอีกมากมายหลากหลายที่คนเสื้อแดงได้ช่วยกันสร้างขึ้นมา การทำกิจกรรมเปรียบเสมือนการส่งสัญญาณให้สังคมเห็นถึงความเคลื่อนไหวและเจตจำนงที่ไม่ยอมแพ้ พวกเขาได้เป็นหัวขบวนในการรณรงค์การเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล สิ่งที่พวกเขาได้รับขณะนี้คือความรู้สึกภาคภูมิใจจากชัยชนะ ชัยชนะที่ไม่ได้เป็นของคนเสื้อแดงเท่านั้น แต่หมายถึงชัยชนะของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีต่อเผด็จการอำมาตย์ที่กดขี่คนไทยในรูปแบบเทวดาใส่ชฎามานานแสนนาน

คุณได้ตั้งคำถามว่าแล้วคนเสื้อแดงจะจดจำเรื่องขมขื่นเหล่านี้อีกนานไหม ธรรมชาติของคนไทยเป็นคนที่รักและให้อภัยกันเนื่องจากคนไทยนับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นศานาที่สอนให้คนมีเมตตาและให้อภัยต่อกัน แต่กรณีนี้ผมมีความมั่นใจที่จะตอบแทนพวกเขาได้ว่าตราบใดก็ตามที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนยังไม่ถูกดำเนินคดีคนเสื้อแดงจะไม่มีวันหยุด พวกเขาจะเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้ที่เสียชีวิตรวมถึงญาติพี่น้องของเขา และหากรัฐบาลที่เขาเลือกมาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเขา ผมเชื่อว่าคนเสื้อแดงจะหาทางทวงความยุติธรรมให้กับเพื่อนของเขาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง .. พวกเขาจะหยุดก็ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาได้รับความยุติธรรมแล้วเท่านั้น จริงอยู่ที่ขณะนี้รัฐบาลได้มอบหมายหน้าที่นี้ให้กับคอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้่นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ) แต่ผมไม่คิดว่าลำพังการเยียวยาด้วยเงินเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถคืนความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสียเหล่านั้นได้

สำหรับกิจกรรมเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพที่จะเดินทางไปกัมพูชาเป็นประเทศแรกในอาเซียนนั้น เนื่องจากกัมพูชาและไทยเป็นประเทศที่ไกล้ชิดและมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด และความสัมพันธ์ของสองประเทศนี้ได้ร้าวฉานอย่างหนักนับจากรัฐบาลเผด็จการได้ก้าวมาบริหารประเทศ ก่อนหน้าที่รัฐบาลนี้จะเข้ามาบริหารประเทศไฟสงครามได้ถูกจุดขึ้นโดยกลุ่มคนเสื้อเหลืองคลั่งชาติที่นิยมสงครามจากประเด็นข้อพิพาทชายแดนและเขาพระวิหาร กิจกรรมเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพจะเดินทางเข้าไปยังเขาพระวิหารซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นข้อพิพาท พวกเราจะเดินทางขึ้นไปพร้อมกับธงชาติไทยและจะข้ามชายแดนไปฝั่งกัมพูชาจากเขาพระวิหาร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางเข้้าประเทศโดยเปิดเผยและแบบฉันมิตร จากนั้นพวกเราจะปั่นจักรยานผ่านจังหวัดสำคัญๆ เช่น เสียมเรียบ ศรีโสภณ พระตะบอง โพธิสัตว์ กัมปงจาม และกรุงพนมเปญในที่สุด ตลอดเส้นทางที่พวกเราจะเดินทางผ่าน พวกเราจะแวะทำกิจกรรมตามจุดที่กำหนด โดยเฉพาะการไปเยี่ยมทุ่งสังหาร (Killing Field) และพิพิธภัณฑ์ตวลชเลง (Genocide Museum) ซึ่งพวกเราจะเผยแพร่กิจกรรมนี้กลับเข้ามาประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตือนสติคนในสังคมไทยว่าหากยังไม่ยุติความขัดแย้งในอีกไม่ช้าลูกหลานของเราจะรับมรดกความเกลียดชังและลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากันเองเช่นที่เคยเกิดขึ้นในกัมพูช