20. กลับเมืองไทย ลงอีสานใต้ ไปกับพูชา
เช้าตรู่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 หลังเปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง นักปั่นเส้นทางสีแดงข้ามแดนโดยมีคนเสื้อแดงจากมุกดาหารมาคอยต้อนรับ เป็นความรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาตุภูมิหลังจากที่ได้ไปเผยแพร่อุดมการณ์ในลาวและเวียดนาม พวกเราเดินทางไปเยี่ยมสถานีวิทยุคนเสื้อแดงมุกดาหาร หลังจากนั้นได้เดินทางไปอ.คำชะอีเพื่อเยี่ยมเยียนชาวบ้าน คำชะอีเป็นอำเภอเล็กๆของจังหวัดมุกดาหารที่มีคนเสื้อแดงอยู่เป็นจำนวนมาก
จากนี้ไปพวกเราจะต้องลงอีสานใต้เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ยังไม่เสร็จสิ้น วันที่ 1 ธันวาคม 2555 พวกเราเดินทางไปเยี่ยมชาวบ้านที่อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร วันถัดไปเดินทางไปอ.ป่าติ้ว เพื่อเยี่ยมเยียนคุณพ่อของวีรชนสมชาย พระสุพรรณที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 พค. 2553 เงินบริจาคในโครงการหมดตั้งแต่อยู่ลาววันที่สอง แต่พวกเรายังแวะซื้อส้มแมนดารินมาฝาก ผมนั่งปอกส้มให้คุณพ่อเพิ่ม พระสุพรรณทานและถ่ายรูปใบหน้าที่มีความสุขของคุณพ่อวีรชนไว้เป็นที่ระลึก (ทั้งอ.เลิงนกทาและอ.ป่าติ้วเส้นทางสีแดงเคยมาเยี่ยมเยือนเมื่อต้นปี 2555 และมอบเงินบริจาค ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้งสองอำเภอต่างได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว)
วันที่ 3 ธันวาคม 2555 พวกเราเดินทางไปที่อุบลราชธานีเพื่อแวะเยี่ยมครอบครัวรัตโนซึ่งให้การสนับสนุนกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาโดยตลอดผ่านทางภรรยาของคุณสมบัติ รัตโน แกนนำคนเสื้อแดงอุบล ระยะทางปั่นจักรยานวันนั้นคือ 105 กม.ได้มีโอกาสไปทานอาหารเย็นที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง อาหารอร่อยมาก
วันถัดไปพวกเราไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ศรีษะเกศถึงบ้าน ผมระบุเจาะจงมาถึงคุณแอ๊ว แกนนำที่ศรีษะเกศที่ช่วยประสานงานว่าต้องการมาเยี่ยมครอบครัวนี้โดยเฉพาะ เธอคนนี้สูญเสียสามีที่เป็นคนขับแท็กซี่ในเดือนพฤษภาคม 2553 ผมจำเธอได้แม่นเพราะเธอเป็นคนแรกที่พูดบนเวทีเสรีชนที่ศรีษะเกศที่ผมเคยมาเยี่ยมเมื่อต้นปี เธอเป็นคนแรกที่พูดบนเวที คำกล่าวถึงสามีของเธอได้แสดงให้เห็นถึงความเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ผมจำได้ไม่ลืม เพราะเพียงประโยคแรกที่เธอกล่าวออกมาก็เรียกน้ำตาคนเสื้อแดงหลายคนรวมถึงผม เมื่อไปเยี่ยมที่บ้านผมพบว่าเธอและลูกๆมีความสุขมากขึ้นจากเงินเยียวยาที่ได้รับ เธอและลูกๆดีใจมากที่เส้นทางสีแดงแวะมาเยี่ยมถึงบ้าน พวกเราได้มอบเงินบริจาคจำนวน 1,000 บาทพร้อมพระเครื่อง 1 องค์เป็นที่ระลึก ผู้เสียชีวิตชื่อวีรชนสุรชีพ จุลทรรศน์ เป็นหัวหน้าครอบครัว ทิ้งบุตรสาวสองคนให้ภรรยาเลี้ยงเพียงลำพัง
วันที่ 5 ธันวาคม 2555 พวกเราปั่นจักรยานอีก 106 กม.เพื่อไปสุรินทร์ อ.รัตนบุรีซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 ครอบครัวโดยการประสานงานของสจ.พรเทพและคุณสำเนียงแกนนำสุรินทร์ เส้นทางสีแดงได้จัดกิจกรรมอย่างเรียบง่ายด้วยการมอบเงินบริจาคต่อหน้าสื่อมวลชนและแกนนำเสื้อแดงในสุรินทร์และกาฬสินธ์ที่มาเป็นสักขีพยาน โดยมอบให้ครอบครัววีรชนอำพน ตติยรัตน์ จำนวน 1,300 บาท และครอบครัววีรชนสมพาน หลวงชม จำนวน 1,200 บาท สื่อมวลชนที่ไปทำข่าวได้กรุณาส่งข่าวให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เผยแพร่ เย็นวันนั้นไปพักค้างคืนบ้านของวีรชนซึ่งมีสภาพชนบทแท้ๆ
วันที่ 6 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่ 40 ของการทำกิจกรรม พวกเราปั่นจักรยานมาแล้วร่วม 3,000 กม. พวกเราเดินทางไปจ.บุรีรัมย์ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของพรรคภูมิใจไทยที่มีข่าวว่าคนใหญ่คนโตของพรรคการเมืองนี้เกี่ยวข้องกับการลอบยิงเส้นทางสีแดงในปี 2553 เป็นครั้งแรกที่ไปเยี่ยมพี่น้องบุรีรัมย์โดยการประสานงานของเพื่อนในเฟซบุ้ค คุณธนพนธ์ เล็กสิงโต แกนนำอีสานใต้รุ่นแรก มีการจัดขบวนแรลลี่ต้อนรับเส้นทางสีแดง พาไปไหว้สิ่งศักสิทธิ์ประจำเมือง และมีเวทีเสรีชนทีร้านอาหารของอดีตรองผู้กำกับและผู้สมัครผู้แทนของพรรคเพื่อไทย พวกเราได้มอบเงินบริจาคให้ผู้ได้รับผลกระทบ 2 รายๆละ 1,500 บาทรวมเป็น 3,000 บาท งานเลี้ยงต้อนรับในวันนั้นสร้างความประทับใจให้กับเส้นทางสีแดงอย่างมาก แกนนำหลายคนเรียกผมว่า ’วีรบรุษประชาธิปไตย’ ซึ่งผมได้กล่าวออกตัวบนเวทีว่าผมไม่คิดว่าตัวเองสำคัญขนาดนั้นและไม่กล้าที่จะรับคำชมนี้
วันที่ 7 ธันวาคม 2555 พวกเราปั่นจักรยานกว่า 97 กม.ไปอ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์เพื่อมอบเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต วีรชนชื่อชาติชาย ซาเหลา ผู้ประสานงานกิจกรรมคือคุณภูผาเสรีซึ่งได้จัดเวทีวีรชนในตัวเมืองพร้อมกับเชิญคุณพรส เฉลิมแสน และคุณสุชาติ นาคบางไทรไปเป็นวิทยากร เย็นวันนั้นเส้นทางสีแดงสามารถระดมเงินบริจาคเพื่อมอบให้กับครอบครัวนี้ได้เป็นจำนวน 7,000 บาท ตกค่ำได้มีโอกาสพบกับคุณอู๋ เสรีชน ศิลปินเสื้อแดงที่ไปเยี่ยมคุณภูผาเสรีที่บ้าน วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการทำกิจกรรมในเมืองไทย
วันที่ 8 ธันวาคม 2555 เป็นวันสุดท้ายของกิจกรรม พวกเราเดินทางเข้ากัมพูชา เพื่อไปเยี่ยมเพื่อนเสื้อแดงชาวกัมพูชาที่เสียมเรียบ ชื่อว่าคุณเสรี พันซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา เพื่อนต่างแดนแต่อุดมการณ์เดียวกันคนนี้ติดตามกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่เส้นทางสีแดงไปเยือนกัมพูชาและเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่เดินทางโดยรถจักรยานจนถึงพนมเปญ
วันที่ 9 ธันวาคม 2555 คุณเสรี พันได้พาพวกเราไปไหว้องค์เจคองค์จอมซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเสียมเรียบ พวกเราได้ถือโอกาสถ่ายรูปกับพระบรมฉายาลักษณ์ของเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชาซึ่งเสียชีวิตก่อนหน้านั้นร่วมกับคุณเสรี พันเป็นที่ระลึก ในช่วงบ่ายคุณเสรี พันได้เชิญพวกเราไปเยี่ยมชมธุรกิจฟาร์มม้าแข่งชื่อ The Happy Ranch ซึ่งเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่นี่มีฝรั่งยุโรปทำงานหลายคน หนึ่งในนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลม้า และได้ให้พวกเราทดลองขี่ม้ารอบๆฟาร์ม พวกเรารู้สึกสนุกกับการขี่ม้ารอบๆฟาร์ม ในช่วงเย็นได้ขี่ม้าชมพระอาทิตย์ตกดินด้านหลังฟาร์มซึ่งเป็นทุ่งนา บรรยากาศชนบทแท้ๆของกัมพูชาและการต้อนรับที่อบอุ่นมากด้วยน้ำใจทำให้พวกเรารู้สึกหายเหนื่อยจากการทำกิจกรรมมาตลอด 40 กว่าวัน
คุณนภดล เอ็มดีของบริษัทอังกอร์ อาเซียนฮอลิเดย์ได้กรุณาให้การรับรองที่พักโรงแรม 4 ดาวจำนวน 2 คืนพร้อมกับเชิญให้ขึ้นเวทีที่โรงแรม City Angkor เพื่อกล่าวคำทักทายคนไทยที่ไปเยือนเสียมเรียบ พวกเราได้พบกับคุณวิชัยผู้จัดการโรงแรม City Angkor ซึ่งเป็นชาวไทยและเป็นคนเสื้อแดงที่ทำงานอยู่ที่โรงแรมแห่งนี้หลายปี ผมขอถือโอกาสนี้ขอขอบพระคุณทั้งสองท่านที่ได้ให้การต้อนรับเส้นทางสีแดงทุกครั้งที่มาเยือนเสียมเรียบ
นักปั่นหัวใจประชาธิปไตยเดินทางออกจากราชประสงค์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 จำนวน 10 คนปั่นจักรยาน 40 กว่าวันใน 4 ประเทศ ระยะทางกว่า 3,100 กม. เหลือมาถึงจุดหมายปลายทางประเทศกัมพูชาเพียง 5 คน ได้แก่ผม รอ.ปรีชา คุณสมาน ผอ.พินิจ และคุณชัชชัย ทุกคนได้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อมาปฏิบัติภารกิจเส้นทางสีแดงโดยที่ไม่มีผู้ใดร้องขอนอกจากมโนธรรมของพวกเขาเอง ผมขอชื่นชมทุกท่านที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประวัติศาสตร์ของคนเสื้อแดงมาณ.ที่นี้
เช้าตรู่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 หลังเปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง นักปั่นเส้นทางสีแดงข้ามแดนโดยมีคนเสื้อแดงจากมุกดาหารมาคอยต้อนรับ เป็นความรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาตุภูมิหลังจากที่ได้ไปเผยแพร่อุดมการณ์ในลาวและเวียดนาม พวกเราเดินทางไปเยี่ยมสถานีวิทยุคนเสื้อแดงมุกดาหาร หลังจากนั้นได้เดินทางไปอ.คำชะอีเพื่อเยี่ยมเยียนชาวบ้าน คำชะอีเป็นอำเภอเล็กๆของจังหวัดมุกดาหารที่มีคนเสื้อแดงอยู่เป็นจำนวนมาก
จากนี้ไปพวกเราจะต้องลงอีสานใต้เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ยังไม่เสร็จสิ้น วันที่ 1 ธันวาคม 2555 พวกเราเดินทางไปเยี่ยมชาวบ้านที่อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร วันถัดไปเดินทางไปอ.ป่าติ้ว เพื่อเยี่ยมเยียนคุณพ่อของวีรชนสมชาย พระสุพรรณที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 พค. 2553 เงินบริจาคในโครงการหมดตั้งแต่อยู่ลาววันที่สอง แต่พวกเรายังแวะซื้อส้มแมนดารินมาฝาก ผมนั่งปอกส้มให้คุณพ่อเพิ่ม พระสุพรรณทานและถ่ายรูปใบหน้าที่มีความสุขของคุณพ่อวีรชนไว้เป็นที่ระลึก (ทั้งอ.เลิงนกทาและอ.ป่าติ้วเส้นทางสีแดงเคยมาเยี่ยมเยือนเมื่อต้นปี 2555 และมอบเงินบริจาค ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้งสองอำเภอต่างได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว)
วันที่ 3 ธันวาคม 2555 พวกเราเดินทางไปที่อุบลราชธานีเพื่อแวะเยี่ยมครอบครัวรัตโนซึ่งให้การสนับสนุนกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาโดยตลอดผ่านทางภรรยาของคุณสมบัติ รัตโน แกนนำคนเสื้อแดงอุบล ระยะทางปั่นจักรยานวันนั้นคือ 105 กม.ได้มีโอกาสไปทานอาหารเย็นที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง อาหารอร่อยมาก
วันถัดไปพวกเราไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ศรีษะเกศถึงบ้าน ผมระบุเจาะจงมาถึงคุณแอ๊ว แกนนำที่ศรีษะเกศที่ช่วยประสานงานว่าต้องการมาเยี่ยมครอบครัวนี้โดยเฉพาะ เธอคนนี้สูญเสียสามีที่เป็นคนขับแท็กซี่ในเดือนพฤษภาคม 2553 ผมจำเธอได้แม่นเพราะเธอเป็นคนแรกที่พูดบนเวทีเสรีชนที่ศรีษะเกศที่ผมเคยมาเยี่ยมเมื่อต้นปี เธอเป็นคนแรกที่พูดบนเวที คำกล่าวถึงสามีของเธอได้แสดงให้เห็นถึงความเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ผมจำได้ไม่ลืม เพราะเพียงประโยคแรกที่เธอกล่าวออกมาก็เรียกน้ำตาคนเสื้อแดงหลายคนรวมถึงผม เมื่อไปเยี่ยมที่บ้านผมพบว่าเธอและลูกๆมีความสุขมากขึ้นจากเงินเยียวยาที่ได้รับ เธอและลูกๆดีใจมากที่เส้นทางสีแดงแวะมาเยี่ยมถึงบ้าน พวกเราได้มอบเงินบริจาคจำนวน 1,000 บาทพร้อมพระเครื่อง 1 องค์เป็นที่ระลึก ผู้เสียชีวิตชื่อวีรชนสุรชีพ จุลทรรศน์ เป็นหัวหน้าครอบครัว ทิ้งบุตรสาวสองคนให้ภรรยาเลี้ยงเพียงลำพัง
วันที่ 5 ธันวาคม 2555 พวกเราปั่นจักรยานอีก 106 กม.เพื่อไปสุรินทร์ อ.รัตนบุรีซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 ครอบครัวโดยการประสานงานของสจ.พรเทพและคุณสำเนียงแกนนำสุรินทร์ เส้นทางสีแดงได้จัดกิจกรรมอย่างเรียบง่ายด้วยการมอบเงินบริจาคต่อหน้าสื่อมวลชนและแกนนำเสื้อแดงในสุรินทร์และกาฬสินธ์ที่มาเป็นสักขีพยาน โดยมอบให้ครอบครัววีรชนอำพน ตติยรัตน์ จำนวน 1,300 บาท และครอบครัววีรชนสมพาน หลวงชม จำนวน 1,200 บาท สื่อมวลชนที่ไปทำข่าวได้กรุณาส่งข่าวให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เผยแพร่ เย็นวันนั้นไปพักค้างคืนบ้านของวีรชนซึ่งมีสภาพชนบทแท้ๆ
วันที่ 6 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่ 40 ของการทำกิจกรรม พวกเราปั่นจักรยานมาแล้วร่วม 3,000 กม. พวกเราเดินทางไปจ.บุรีรัมย์ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของพรรคภูมิใจไทยที่มีข่าวว่าคนใหญ่คนโตของพรรคการเมืองนี้เกี่ยวข้องกับการลอบยิงเส้นทางสีแดงในปี 2553 เป็นครั้งแรกที่ไปเยี่ยมพี่น้องบุรีรัมย์โดยการประสานงานของเพื่อนในเฟซบุ้ค คุณธนพนธ์ เล็กสิงโต แกนนำอีสานใต้รุ่นแรก มีการจัดขบวนแรลลี่ต้อนรับเส้นทางสีแดง พาไปไหว้สิ่งศักสิทธิ์ประจำเมือง และมีเวทีเสรีชนทีร้านอาหารของอดีตรองผู้กำกับและผู้สมัครผู้แทนของพรรคเพื่อไทย พวกเราได้มอบเงินบริจาคให้ผู้ได้รับผลกระทบ 2 รายๆละ 1,500 บาทรวมเป็น 3,000 บาท งานเลี้ยงต้อนรับในวันนั้นสร้างความประทับใจให้กับเส้นทางสีแดงอย่างมาก แกนนำหลายคนเรียกผมว่า ’วีรบรุษประชาธิปไตย’ ซึ่งผมได้กล่าวออกตัวบนเวทีว่าผมไม่คิดว่าตัวเองสำคัญขนาดนั้นและไม่กล้าที่จะรับคำชมนี้
วันที่ 7 ธันวาคม 2555 พวกเราปั่นจักรยานกว่า 97 กม.ไปอ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์เพื่อมอบเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต วีรชนชื่อชาติชาย ซาเหลา ผู้ประสานงานกิจกรรมคือคุณภูผาเสรีซึ่งได้จัดเวทีวีรชนในตัวเมืองพร้อมกับเชิญคุณพรส เฉลิมแสน และคุณสุชาติ นาคบางไทรไปเป็นวิทยากร เย็นวันนั้นเส้นทางสีแดงสามารถระดมเงินบริจาคเพื่อมอบให้กับครอบครัวนี้ได้เป็นจำนวน 7,000 บาท ตกค่ำได้มีโอกาสพบกับคุณอู๋ เสรีชน ศิลปินเสื้อแดงที่ไปเยี่ยมคุณภูผาเสรีที่บ้าน วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการทำกิจกรรมในเมืองไทย
วันที่ 8 ธันวาคม 2555 เป็นวันสุดท้ายของกิจกรรม พวกเราเดินทางเข้ากัมพูชา เพื่อไปเยี่ยมเพื่อนเสื้อแดงชาวกัมพูชาที่เสียมเรียบ ชื่อว่าคุณเสรี พันซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา เพื่อนต่างแดนแต่อุดมการณ์เดียวกันคนนี้ติดตามกิจกรรมเส้นทางสีแดงมาตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่เส้นทางสีแดงไปเยือนกัมพูชาและเป็นคนไทยกลุ่มแรกที่เดินทางโดยรถจักรยานจนถึงพนมเปญ
วันที่ 9 ธันวาคม 2555 คุณเสรี พันได้พาพวกเราไปไหว้องค์เจคองค์จอมซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเสียมเรียบ พวกเราได้ถือโอกาสถ่ายรูปกับพระบรมฉายาลักษณ์ของเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชาซึ่งเสียชีวิตก่อนหน้านั้นร่วมกับคุณเสรี พันเป็นที่ระลึก ในช่วงบ่ายคุณเสรี พันได้เชิญพวกเราไปเยี่ยมชมธุรกิจฟาร์มม้าแข่งชื่อ The Happy Ranch ซึ่งเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่นี่มีฝรั่งยุโรปทำงานหลายคน หนึ่งในนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลม้า และได้ให้พวกเราทดลองขี่ม้ารอบๆฟาร์ม พวกเรารู้สึกสนุกกับการขี่ม้ารอบๆฟาร์ม ในช่วงเย็นได้ขี่ม้าชมพระอาทิตย์ตกดินด้านหลังฟาร์มซึ่งเป็นทุ่งนา บรรยากาศชนบทแท้ๆของกัมพูชาและการต้อนรับที่อบอุ่นมากด้วยน้ำใจทำให้พวกเรารู้สึกหายเหนื่อยจากการทำกิจกรรมมาตลอด 40 กว่าวัน
คุณนภดล เอ็มดีของบริษัทอังกอร์ อาเซียนฮอลิเดย์ได้กรุณาให้การรับรองที่พักโรงแรม 4 ดาวจำนวน 2 คืนพร้อมกับเชิญให้ขึ้นเวทีที่โรงแรม City Angkor เพื่อกล่าวคำทักทายคนไทยที่ไปเยือนเสียมเรียบ พวกเราได้พบกับคุณวิชัยผู้จัดการโรงแรม City Angkor ซึ่งเป็นชาวไทยและเป็นคนเสื้อแดงที่ทำงานอยู่ที่โรงแรมแห่งนี้หลายปี ผมขอถือโอกาสนี้ขอขอบพระคุณทั้งสองท่านที่ได้ให้การต้อนรับเส้นทางสีแดงทุกครั้งที่มาเยือนเสียมเรียบ
นักปั่นหัวใจประชาธิปไตยเดินทางออกจากราชประสงค์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 จำนวน 10 คนปั่นจักรยาน 40 กว่าวันใน 4 ประเทศ ระยะทางกว่า 3,100 กม. เหลือมาถึงจุดหมายปลายทางประเทศกัมพูชาเพียง 5 คน ได้แก่ผม รอ.ปรีชา คุณสมาน ผอ.พินิจ และคุณชัชชัย ทุกคนได้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อมาปฏิบัติภารกิจเส้นทางสีแดงโดยที่ไม่มีผู้ใดร้องขอนอกจากมโนธรรมของพวกเขาเอง ผมขอชื่นชมทุกท่านที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประวัติศาสตร์ของคนเสื้อแดงมาณ.ที่นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น