วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงการ เส้นทางสีแดง สู่ประตูอาเซียน (Red Path to ASEAN Gateway

29 July 2013 at 16:10
โครงการเดินทางไกลเพื่อประชาธิปไตยครั้งที่ 6 ของกลุ่มเส้นทางสีแดง เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมปี 2553 ในภาคกลางและภาคเหนือ และเดินทางเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยในลาว (แขวงหลวงน้ำทา) จีน (เชียงรุ้ง สิบสองปันนา) พม่า (เชียงตุง)  ผ่านเส้นทาง R3A ที่เชื่อมอาเซียนสู่จีนตอนใต้
เป้าหมาย :

1.  เพื่อเรียกร้องความสมานฉันท์และปรองดองของคนในชาติ
2.  เพื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
3.  เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนที่จะมีต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการท่องเที่ยวของประเทศ

ระยะเวลา :  3 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2556 (45 วัน)  

ระยะทาง :  3,911 กม.

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อเสนอแนะเพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ของกลุ่มเส้นทางสีแดง


1. ชนชั้นสูงและเครือข่ายอำมาตย์จะต้องเลิกยุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในทุกกรณี และจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ปล่อยให้การบริหารประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาทำหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซง

2. ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงตรง ให้ความยุติธรรมกับคนไทยทุกกลุ่มทุกสีเสื้ออย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ศาลเป็นที่พึ่งของประชาชนในการแก้ไขความขัดแย้งของสังคม

3. ต้องคืนความยุติธรรมให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตรให้ได้รับทรัพย์สินคืน และได้กลับประเทศในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศ คดีความที่เกิดขึ้นโดยคตส.ต้องเป็นโมฆะ และให้ผ่านการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมเท่านั้น

4. พรบ.ปรองดองจะต้องได้รับการผ่านสภาโดยนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทุกสีเสื้อที่กระทำความผิดพรก.ฉุกเฉิน แกนนำทุกสีเสื้อต้องขึ้นศาลอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนต้องไม่ได้รับการคุ้มครองในทุกกรณี

5. รัฐบาลจะต้องให้สัตยาบรรณศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อนำฆาตกรที่สั่งการให้ทหารฆ่าประชาชนมาลงโทษ เพื่อคืนความยุติธรรมให้กับคนตายและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีกในอนาคต

6.จัดสร้างอนุเสาวรีย์ในกรุงเทพมหานครพร้อมจารึกนามคนไทยทุกสีเสื้อที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองหลังรัฐประหาร 19 กย. 2549 เพื่อยกย่องและเตือนใจให้สังคมตระหนักถึงความเลวร้ายของรัฐประหาร


7. กำหนดให้วันที่ 19 กย.ของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ ให้รัฐบาลจัดงานเพื่อรำลึกถึงความเลวร้ายของรัฐประหารครั้งสุดท้ายและให้คนไทยทั้งประเทศได้จัดกิจกรรมรำลึกร่วมกันโดยไม่แบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมือง

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปเงินบริจาค

สรุปเงินบริจาค โครงการเส้นทางสีแดงสู่ประชาธิปไตย (Red Path to Democracy Project)

13 December 2012 at 11:11
ยอดเงินบริจาค 40,670 บาท (สี่หมื่นหกร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) ผู้ได้รับผลกระทบ 19 ราย ระหว่างวันที่ 4 พย. - 8 ธค. 2555

1. ครอบครัวคุณวสันต์ ภู่ทอง จ.สมุทรปราการ 2,770 บาท
2. สถานีวิทยุเสื้อแดง พัทยา 1,000 บาท
3. ลุงเนียม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี 1,000 บาท
4. คุณมนัส อ. เขาสอยดาว จ. จันทุบรี 1,000 บาท
5. ผู้ได้รับผลกระทบ อ.เมือง จ.สระแก้ว 1000 บาท
6.  ผู้ได้รับผลกระทบ 2 ราย ที่สำนักงานนปช.นครนายก ผ่านผู้พันธนพัฒน์ ประธานปช.นครนายก 3,000 บาท
7. คุณบุญส่ง แกนนำอ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย 1,000 บาท พระเครื่อง 1 องค์
8. ผู้ได้รับผลกระทบ 1 ราย ที่สำนักงานพรรคเพื่อไทย อ.เมือง จ.นครราชสีมา 3,000 บาท
9. คุณยาย อ้วน บัวใหญ่ (นายศักนรินทร์ กองแก้ว) อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 3,000 บาท
10. ครอบครัววีรชน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 1,200 บาท
11. คุณเกียรติศักดิ์ มาอาสา อ.เมือง จ.อุดรธานี 5,200 บาท
12. ครอบครัวเด็กกำพร้า อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ 3,000 บาท
13. สนับสนุนกิจกรรมแดงเสรีชน สกลนคร 1,000 บาท
14. ครอบครัวคุณคุณสุรชีพ จุลทัศน์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จำนวน 1,000 บาท พระเครื่อง 1 องค์
15. ครอบครัวคุณอำพน ตติยรัตน์ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ จำนวน 1,300 บาท
16. ครอบครัวคุณสมพาน หลวงชม อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ จำนวน 1,200 บาท
17. ผู้ได้รับผลกระทบ 2 ราย อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ รายละ 1,500 บาท จำนวน 3,000 บาท
18. ครอบครัวคุณชาติชาย ซาเหลา อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ จำนวน 7,000 บาท (จากกลุ่มเส้นทางสีแดง 2,000 บาท และผู้บริจาคเพิ่มเติม 5,000 บาท)