วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงการ เส้นทางสีแดง สู่ประตูอาเซียน (Red Path to ASEAN Gateway

29 July 2013 at 16:10
โครงการเดินทางไกลเพื่อประชาธิปไตยครั้งที่ 6 ของกลุ่มเส้นทางสีแดง เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมปี 2553 ในภาคกลางและภาคเหนือ และเดินทางเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยในลาว (แขวงหลวงน้ำทา) จีน (เชียงรุ้ง สิบสองปันนา) พม่า (เชียงตุง)  ผ่านเส้นทาง R3A ที่เชื่อมอาเซียนสู่จีนตอนใต้
เป้าหมาย :

1.  เพื่อเรียกร้องความสมานฉันท์และปรองดองของคนในชาติ
2.  เพื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
3.  เพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนที่จะมีต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการท่องเที่ยวของประเทศ

ระยะเวลา :  3 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2556 (45 วัน)  

ระยะทาง :  3,911 กม.


กำหนดการทำกิจกรรม 

3  พย.   ปทุมธานี
4 พย.    อยุธยา     
5 พย.    สระบุรี        
6 พย.    อ่างทอง     
7 พย.    ลพบุรี     
8 พย.    สิงห์บุรี/ชัยนาท  
9 พย.    อุทัยธานี   
10 พย.  นครสวรรค์
11 พย.  พิจิตร    
12 พย.  เพชรบูรณ์ 
13 พย.  อ.หล่มสัก 
14 พย.  พิษณุโลก
15 พย.  กำแพงเพชร    
16 พย.  ตาก      
17 พย.  ตาก (แม่สอด)
18 พย.  สุโขทัย
19 พย.  อุตรดิตถ์
20 พย.  แพร่  
21 พย.  น่าน
22 พย.  พะเยา (อ.ดอกคำใต้)
23 พย.  ลำปาง (งาว)
24 พย.  ลำปาง
25  พย. ลำพูน / เชียงใหม่
26 พย.  แม่ฮ่องสอน (อ.ปาย)
27 พย   แม่ฮ่องสอน
28 พย   แม่ฮ่องสอน (อ.ขุนยวม)
29 พย.  เชียงใหม่ (อ.แม่แจ่ม)
30 พย.  เชียงใหม่ (อ.จอมทอง)
1 ธค.    เชียงใหม่ (อ.แม่แตง)
2 ธค.    เชียงใหม่ (อ.พร้าว)
3 ธค.    เชียงใหม่ (อ.แม่อาย)
4 ธค.    เชียงราย
5 ธค.    เชียงราย (อ.เชียงของ)
6 ธค.    ลาว (เวียงภูคา)
7 ธค.    ลาว (หลวงน้ำทา)
8 ธค.    ลาว (บ่อเต็น)
9 ธค.    ลาว (บ่อหาญ/เชียงรุ่ง)
10-12 ธค.  จีน (เชียงรุ้ง)
13-16 ธค.  พม่า (เชียงตุง)
17 ธค.      เชียงราย (แม่สาย)



โครงการนี้นับเป็นโครงการเดินทางไกลครั้งที่ 6 ของกลุ่มฯ (ไม่นับรวมกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยในปี 2554  กิจกรรมแรลลี่ในกรุงเทพมหานคร ฯลฯ)  โครงการแรกได้แก่การเยี่ยมผุ้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในภาคอีสานในเดือนพฤศจิกายน 2553 ระยะทาง 1,700 กม. โครงการที่สองได้แก่การเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในภาคเหนือระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ระยะทาง 2,438 กม. โครงการที่สามได้แก่การปั่นจักรยานต้านรัฐประหารและตระเวนเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2554 ระยะทาง 3,793 กม. โครงการที่สี่ได้แก่โครงการเส้นทางสีแดงเพื่อสันติภาพ ( Red Path for Peace Project) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทางไกล 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย (ภาคอีสาน) ลาว และกัมพูชา ระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ 2555 ระยะทาง 2,639 กม. โครงการที่ห้าคือโครงการเส้นทางสีแดงสู่ประชาธิปไตย (Red path to Democracy Project) ซึ่งเป็นโครงการปั่นจักรยานทางไกล 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย (ภาคอีสาน) ลาว (แขวงคำม่วน) เวียดนาม (เมืองวินช์) และกัมพูชา (เมืองเสียมเรียบ)  ระหว่างเดือนพย- ธค. 2555 เป็นกิจกรรมปั่นจักรยานทางไกลเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและติดตามการเยียวยาของรัฐบาล รวมระยะทางที่กลุ่มเส้นทางสีแดงทำกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมตลอด 3 ปี กว่า 14,000 กม. 
  1.  สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย อดีตพนักงานการบินไทย อดีตข้าราชการทหาร ตำรวจที่เกษียณอายุราชการ ชาวต่างประเทศ  และประชาชนที่รักประชาธิปไตยที่ต้องการแสดงออกทางการเมืองย่างสร้างสรรค์ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
  2. หากท่านต้องการทราบข้อมูลการทำกิจกรรมเส้นทางสีแดงที่บล็อกนี้ หรือติดตามที่ บันทึก หรือ อัลบั้มภาพ ใน facebook ของ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง 
  3. หากท่านเห็นว่ากิจกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย โปรดให้การสนับสนุนผ่านบัญชีของกลุ่มเส้นทางสีแดง ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 224-248963-0 ชื่อบัญชี ร้อยเอกปรีชา เอกฉัตรและนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์   (สอบถาม 081-5836964)
ข้อมูลของกลุ่มเส้นทางสีแดง 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น