วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

แจ้งความองค์กรอิสระที่ร่วมกันล้มการเลือกตั้ง 2 กพ.

(จดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชน และคนเสื้อแดงทั่วประเทศ)
ถึง คนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยทุกท่าน
ตามที่องค์กรอิสระทั้ง 3 ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ร่วมกันล้มการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 อย่างไม่เป็นธรรม ทำให้ภาษีของประชาชนกว่า 3,800 ล้านที่ต้องเสียไปในการเลือกตั้งโดยเปล่าประโยชน์
ผมใคร่ขอเชิญชวนให้ประชาชนที่รักประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นมาแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับองค์กรอิสระเหล่านี้ในฐานะเจ้าของประเทศตัวจริง โดยการนำแบบฟอร์มด้านล่างนี้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับองค์กรอิสระได้ที่โรงพักทั่วประเทศ
รักและยึดมั่นในอุดมการณ์
ฟอร์ด เส้นทางสีแดง
28/3/2557
**********************************
(แบบฟอร์มแจ้งความดำเนินคดีกับองค์กรอิสระ)
ข้าพเจ้านาย xx อายุ xx ปี เกิดเมื่อวันที่ xx ที่อยู่ตามบัตรประชาชน xx โทร xx มีความประสงค์จะขอแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการเลือกตั้ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในความผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 จากความผิดกรณีร่วมกันทำให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ อันสืบเนื่องจากเหตุชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มกปปส.ที่จัดชุมนุมปิดสถานที่ราชการหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร และถึงกับปิดกรุงเทพในวันที่ 13 มกราคม 2557 จนนำไปสู่การปิดล้อมสถานที่รับเลือกตั้งและขัดขวางการเลือกตั้งทั้งวันเลือกตั้งล่วงหน้า 26 มกราคม 2557 และ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ในเขตกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดในภาคใต้ ทำให้กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งเสร็จสิ้นรวมทั้งหมด 28 เขต (อ้างอิง 1 )
ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คน ได้แก่นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช และศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของ นายกิตติพงศ์ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาดว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 ที่ผ่านมา เป็นโมฆะหรือไม่ (อ้างอิง 2 และ 3)
ต่อมาในวันที่ 19 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้สืบพยานผู้ร้อง (ผู้ตรวจการแผ่นดิน) และผู้ถูกร้อง (รัฐบาลและกกต.) ซึ่งนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ในฐานะรักษาการณ์รองนายกรัฐมนตรีได้เบิกความสรุปว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นคำร้องและศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องนี้เนื่องจากเป็นอำนาจของศาลฏีกาแผนกคดีเลือกตั้ง และนายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เบิกความสรุปว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเนื่องจากกกต.ยังไม่ได้ออกระเบียบที่ขัดกับศาลรัฐธรรมนูญและขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน (อ้างอิง 4)
ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ โดยมิได้วินิจฉัยว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นคำร้องหรือไม่ ซึ่งต่อมาคณะสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยได้แถลงข่าวคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ทางสังคมออนไลน์ให้ประชาชนผู้สนใจได้ศึกษา (อ้างอิง 5 และ 6 )
ข้าพเจ้าเป็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศและเสียภาษีถูกต้องตามกฏหมายและได้ร่วมกับคนเสื้อแดงต่อสู้เพื่อธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นผู้หนึ่งที่ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมาพันธ์ 2557 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกิดจากความบกพร่องในหน้าที่ของกกต.และการปฏิบัติหน้าที่โยดมิชอบของผู้ตรวจการแผ่นดินส่งผลเสียหายต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งกว่า 3,200 ล้านบาทโดยไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ จึงมีความประสงค์ที่แจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน (นายจรัล ภักดีธนากุลและพวก) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (นายศุภชัย สมเจริญและพวก) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศและพวก) ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ด้วยเหตุผลดังนี้
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ยังมิได้เสร็จสิ้นอีก 28 เขตในกรุงเทพและภาคใต้นั้น ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบกับเวปไซด์มีชัยไทยแลนด์ ฃึ่งได้ตอบคำถามประชาชนเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นในวันเดียวกันแล้วเสร็จจะต้องแก้ปัญหาอย่างไร คำตอบนี้ตอบโดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้ให้ความเห็นว่า “หากมีเหตุทำให้เลือกตั้งไม่ได้ เช่น เกิดเหตุจราจล เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น กฎหมาย (มาตรา 78) ให้อำนาจกกต.ที่จะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้โดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะเลื่อนไปถึงเมื่อไหร่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงพระราชกฤษฏีกาที่กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับว่าเหตุนั้นอยู่นานเท่าไหร่ และสามารถจัดการเลือกตั้งได้เมื่อใดฯลฯ” (อ้างอิง 7 ) นอกจากนี้ในระหว่างที่มีการขัดขวางการเลือกตั้งของกลุ่มผู้ชุมนุมกปปส.นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งกลับเพิกเฉยมิได้ขอความร่วมมือไปยังตำรวจหรือทหารให้เข้ามาช่วยดูแลการเลือกตั้งที่ที่มีอำนาจกระทำได้ กลับปล่อยให้ผู้ชุมนุมขัดขวางการรับสมัครเลือกตั้ง ขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า และขัดขวางการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ถึง 28 เขต
ข้าพเจ้าจึงเห็นว่ากกต.มีอำนาจที่จะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่เพื่อให้การเลือกตั้งตามพระราชกฤษฏีกาเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 สำเร็จลุล่วงได้ แต่กลับละเลยมิได้จัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ แต่โยนภาระการเลื่อนวันเลื่อนตั้งใหม่ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะนั้น ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบพบว่าได้มีผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันที่ 31 มกราคม 2557 นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ สส.พรคคประชาธิปัตย์ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยกคำร้อง โดยให้เหตุผลว่า “การร้องเรียนดังกล่าวเป็นอำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิใช่ร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 244 (1) (ก) เพราะกกต.เป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ ตามมาตรา 244 จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการฯ ดังนั้นไม่อาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน สามารถส่งเรื่องให้ศาลปกครองได้เท่านั้น ” (อ้างอิง 8 ) ถัดจากนั้นอีกเพียง 18 วันคือวันที่ 18 กุมภาพํนธ์ 2557 ก็มีนายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้ยื่นคำร้องในลักษณะเดียวกันนี้กับผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คนประกอบด้วยนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศจ.ศรีราชา เจริญพานิช และศจ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติให้ส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. โมฆะ(อ้างอิง 9)
ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยกคำร้องของสส.ประชาธิปัตย์ในวันที่ 31 มกราคคม 2557 แต่กลับรับคำร้องของอาจารย์ธรรมศาสตร์วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ชวนให้สงสัยว่ามีเหตุจูงใจที่เกี่ยวข้องกับรับผลประโยชน์ในการรับคำร้องและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ
3. ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้าที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาล และกกต.เข้าเบิกความในวันที่ 19 มีนาคม 2557 โดยนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการณ์รองนายกรัฐมนตรี และนายศุภชัย สมเจริญได้เบิกความสรุปว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจรับคำร้องและคดีนี้เป็นหน้าที่ของศาลฏีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับคำแถลงของคณาจารย์จากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยซึ่งเปิดแถลงข่าววิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 23 มีนาคม 2557
ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องโดยที่ไม่มีอำนาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขยายขอบเขตอำนาจก้าวก่ายอำนาจศาลยุติธรรม และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็กระทำโดยมิได้พิจารณาจากความเป็นจริงและขัดแย้งกับความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธ์ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดอำนาจของตัวศาลรัฐธรรมนูญเอง
ด้วยเหตุดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการกระทำขององค์กรอิสระทั้งสาม ได้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดมาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานละเว้นหรือปบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงขอแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้ถึงที่สุด
Unlike ·  · 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น