วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

คนเสื้อแดงแบ่งได้กี่กลุ่ม? (Red Shirt Classifications) :

คนเสื้อแดงแบ่งได้กี่กลุ่ม? (Red Shirt Classifications) :
สำหรับคนที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงอาจสับสนว่าคนเสื้อแดงมีกี่กลุ่มกันแน่ อะไรคือความเหมือนและอะไรคือความแตกต่าง ผมมีเพื่อนเสื้อเหลืองซึ่งมาขอคำแนะนำและขอให้ผมโพสเป็นกระทู้สำหรับผู้สนใจ จากข้อมูลในการทำกิจกรรมและอยู่ในวงการเสื้อแดงมาหลายปี ผมคิดว่าคนเสื้อแดงสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้
กลุ่มที่ 1. "กลุ่ม นปช"ได้แก่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือนปช. (United Front of Democracy Against Dictatorship : UDD) 
กลุ่มนี้เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากคุณทักษิณเพื่อสนับสนุนพรรคเพื่อไทย เป้าหมายหลักคือการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการซ่อนรูป มวลชนส่วนใหญ่เป็นคนชนชท ชาวไร่ชาวนา เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน หรือที่เรียกว่าชาวบ้านรากหญ้า (Grassroots) กลุ่มนี้มีจำนวนหลายล้านคนทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มที่2 "แดงก้าวหน้า" ได้แก่กลุ่มที่ต้องการประชาธิปไตยเต็มรูป
เช่นเดียวกับประเทศอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน
และอีกหลายประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาจนไปถึงมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ นักเคลื่อนไหวที่เป็นที่รู้จักของกลุ่มนี้เช่น คุณจักรภาพ เพ็ญแข อ.ใจ อึ้งภากรณ์ อ.สุรชัย แซ่ด่าน เป็นต้น เรียกกลุ่มนี้ว่า "แดงก้าวหน้า"
กลุ่มที่3. กลุ่ม "แดงรักษ์สถาบัน"ได้แก่กลุ่มที่ต้องการเห็นประเทศไทยมีประชาธิปไตยภายใต้ระบอบกษัตริย์
นื่องจากเห็นว่ารากฐานสังคมไทยเหมาะสมกับการปกครองรูปแบบนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์จะต้งดำรงตนต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ไม่ยุ่งเกี่ยวแทรกแทรงการบริหารแผ่นดินโดยเปิดเผยหรือผ่านตัวแทนเพื่อป้องกันมิให้ข้าราชบริพารแอบอ้างหาประโยชน์ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ที่สถาบันกษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในประเทศ
กลุ่มที่ 4ได้แก่กลุ่มนักกิจกรรม ซึ่งเคลื่อนไหวอิสระไม่ผูกพันกับกลุ่มใด กลุ่มนี้เคลื่อนไหวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับมวลชนให้กล้าแสดงออกและพัฒนาศักยภาพของมวลชน เช่น 
  • กลุ่มกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ของบก.ลายจุด (กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง) 
  • กลุ่มกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรม (กลุ่มเส้นทางสีแดง) เป็นต้น

กลุ่มที่ 5 ได้แก่กลุ่มนักวิการที่สนับสนุนประชาธิปไตยเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ใด เช่น กลุ่มนิติราษฏร์ อ.ตุ้ม อ.หวาน อ.สมศักดิ์ เป็นต้น

หวังว่ากระทู้นี้จะทำให้คนเสื้อเหลืองหรือผู้ที่ไม่มีสีเสื้อได้เข้าใจคนเสื้อแดงมากขึ้นว่าคนเสื้อแดงมีหลากหลายประเภท และการกระทำของกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดก็มิได้ผูกพันกับกลุ่มอื่นเสมอไป สิ่งที่เหมือนกันของแดงทุกกลุ่มค้อต้องการเห็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย มีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ผู้คนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและพูดความจริงโดยเสมอกัน

เขียนโดย: 
ฟอร์ด เส้นทางสีแดง

3 ความคิดเห็น:

  1. เนื่องจาก บล็อกนี้เป็นบล็อกประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของ กลุ่มกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรม (กลุ่มเส้นทางสีแดง) โดยมีคุณฟอร์ด เส้นทางสีแดง เป็นประธานกลุ่ม หรือจะเรียกว่าเป็น ผู้ก่อตั้งหรือแกนนำ ก็ได้ ส่วนดิฉัน เป็นเพื่อนผู้อาสาเป็นแอดมิน ดูแลบล็กนี้ค่ะ
    ด้วยเหตุนี้ เทมเพลทของบล็อกเกอร์จะ ระบุชื่อผู้เขียนบทความโดยอัตโนมัติว่า เขียนโดยชื่อแอดมินซึ่ง บล็อกเกอร์ทุกคนจะเข้าใจตรงกัน แต่ผู้อ่านอาจจะสับสนนะคะ
    หากท่านใดประสงค์จะส่งบทความหรือคำแนะนำใดๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ในบล็อกนี้ กรุณติดต่อที่คุณ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง นะคะ

    ตอบลบ
  2. มาตรการเสริมสร้างสังคมประชาธิปไตยนั้นมีมากมายนัก ผมไม่อาจยกมาไว้ตรงนี้ได้ถ้วนทั่ว แต่ขอให้ผู้มีอำนาจจัดเวทีเปิดโอกาสให้สายงานต่างๆ เหล่านี้ได้นำเสนอแนวคิดของตนเองบ้าง นั่นคือ:

    ๑. มวลชนสาย นปช.
    ๒. มวลชนสายพรรคไทยรักไทย
    ๓. รัฐบาลเพื่อไทยและแกนนำในระบบราชการ
    ๔. กลุ่มมวลชนและกลุ่มพลังอิสระที่ส่งเสริมประชาธิปไตย
    ๕. ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย
    ๖. มวลชนจัดตั้งสมัย “เกือบชนะ” (ก่อนเกิดนโยบาย ๖๖/๒๓)
    ๗. มวลชนประชาธิปไตยทั่วโลก (ทั้งไทยและต่างประเทศ)
    แล้วเนื้อหาสาระบนเวทีจะสมคุณค่าของการเรียกร้องประชาธิปไตยในปัจจุบัน เรื่องสนุกสนานเฮฮาเพื่อผ่อนอารมณ์ก็ทำกันต่อไปเถิดครับ สมองคนเรามีทั้งข้างเหตุผลและอารมณ์ เติมอาหารสมองทั้งสองฝั่งถือเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็น แต่กรุณาอย่าลืมและช่วยกันเตือนว่า การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยบอกว่าฝ่ายเขาเลวอย่างไรนั้นไม่พอ ต้องบอกด้วยว่า ฝ่ายเราต้องทำอะไรต่อไปอีก เพื่อให้ฝันอย่างมนุษย์ของพวกเราเป็นจริงได้ในวันหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ต้องคอยนานนักแล้ว.

    ที่มา: http://bit.ly/1haMHXm

    ตอบลบ
  3. มีท่านผู้ชาญฉลาดใน 3 โลก ชอบพูดว่า“ต้องก้าวข้ามทักษิณ..ปูมีอำนาจในมือทำไมต่อสู้ให้ถึงที่สุด..
    การชุมนุมไม่ใช่การต่อสู้..ทักษิณไม่ใช่นักปฏิวัติ
    ไม่ควรสู้ไปกราบไป …บลา ๆ ๆ ๆ…เซ็งแม้ว เซ็งปู เซ็งเป็ด
    เซ็งตู่ เซ็งเต้น เซ็งพรรคเพื่อไทย เซ็งรัฐบาล…เซ็งแม่มทุกเรื่อง
    แล้ววกมาเซ็งตัวเอง…หาทางออกไม่ได้..
    ติดกับดักทางความคิดของตนเอง”

    แต่ผมมีคำถามต่อท่านผู้ชอบอวดภูมิ ดังนี้

    1. ถ้าการชุมนุมไม่เรียกว่าการต่อสู้ การจุดเทียน การวางพวงหรีดที่ศาลแพ่ง ฯลฯ
    ก็ไม่ใช่การต่อสู้ใช่หรือไม่ ? แล้ว กปปส.จะระดมพลกันไปทำไม ?
    หรือว่าต้องเอาปืนออกมายิงกัน ? หรือต้องลงใต้ดินแบบภาคใต้ ?

    2. ถ้าข้อ 1. ไม่ใช่ แล้วอะไรคือการต่อสู้หรือการปฏิวัติประชาชนในนิยามของท่าน ?
    3. การต่อสู่เพื่อประชาธิปไตยในยุคอนาล๊อคและยุคดิจิตอล
    เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

    4. การต่อสู้ที่ถูกต้องมีกี่วิธี หรือมีวิธีเดียว…คือวิธีของกู
    ของกูแน่ ของกูถูกคนเดียว ของคนอื่นผิดหมด

    5. บริบทการต่อสู้หรือการปฏิวัติประชาชนของแต่ละประเทศ
    ที่มีสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและ
    วัฒนธรรมแตกต่างกัน เราควรจะใช้โมเดลอะไรดี ?
    เราจะสร้างโมเดลของเราเองได้หรือไม่…เพราะมีข้อจำกัด
    (คือระบบประชาธิปไตยที่ต้องมีนามสกุล)

    6. เนลสันแมนเดล่าใช้วิธีการต่อสู้แบบไหนถึงประสบความสำเร็จ

    7ต้องก้าวข้ามทักษิณ แล้วต้องก้าวข้ามใครอีกบ้าง
    ต้องก้าวข้ามนายกปู แกนนำ นปช.?
    การต่อสู้ไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ ?.. เป่านกหวีดปรี๊ด นัดกันทางโซเดีย
    ออกมาพร้อมกัน…แล้วต่างคนต่างทำตามใจชอบหรือไง ?
    ไม่ต้องมีการจัดตั้งองค์กร ไม่ต้องมีการวางแผน
    ไม่ต้องมียุทธศาสตร์ ไม่ต้องมียุทธวิธี ไม่ต้องมีหัวหน้า
    ไม่ต้องใช้เงินทุน ไม่ต้องมีผู้นำทางจิตวิญญาณ
    ไม่ต้องมีผู้นำทางสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
    จะเอาแต่นักปฏิวัติประชาชนเท่านั้นหรือไร ?

    8. แล้วนักปฏิวัติประชาชนต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?
    ตอนนี้เกิดหรือยัง? ถ้าเกิดแล้วตอนนี้เป็นใคร ?
    หรือเห็นใครที่เหมาะสมที่สุด ?
    และคนผู้นั้นต้องทำอย่างไร ในการต่อสู้ในครั้งนี้ ?
    หรือต้องรอให้นักปฏิวัติเกิดก่อน…ถึงจะออกมาต่อสู้ ?

    คำถามจาก:
    ลุงธรรม

    ตอบลบ