33. โตนเลสาป วัดบันนอน เมืองพระตะบอง
เช้าวันที่ 7 กพ. พวกเรารับประทานอาหารเช้าในโรงแรม City Angkor ผมใช้เวลา 10 นาทีโพสภาพที่ถ่ายจากนครธมนครวัดลงเฟซบุ้คจากล็อบบี้ของโรงแรม จากนั้นพวกเราได้ปั่นจักรยานชมเมืองเสียมเรียบ โปรแกรมในวันนี้คือการไปเยี่ยมชมโตนเลสาปซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศกัมพูชา
โตนเลสาปเป็นทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า) ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศ ทะเลสาปขนาดยักษ์นี้เกิดจากแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ โตนเลสาปมีปลาน้ำจืดกว่า 300 ชนิด ทำให้มีชาวกัมพูชารวมถึงชาวเวียดนามอพยประกอบอาชีพประมงรอบทะเลสาปจำนวนมาก
พวกเราปั่นจักรยานจากตัวเมืองเสียมเรียบมุ่งหน้าไปโตนเลสาปซึ่งอยู่นอกเมือง ระยะทางประมาณ 15 กม. วันนั้นมีทักท่องเที่ยวไม่มากนัก นานๆจะเห็นรถตุ๊กๆพานักท่องเที่ยวต่างชาติสวนมา เมื่อเข้าไกล้โตนเลสาปก็จะได้กลิ่นคาวปลาซึ่งเกิดจากการทำประมงพื้นบ้าน เมื่อถึงบริเวณโตนเลสาปก็พบกับด่านรักษาความปลอดภัยซึ่งนักท่องเที่ยวต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมซึ่งรวมค่าลงเรือชมทะเลสาปแล้ว
พวกเราลงเรือขนาดเล็กล่องชมทะเลสาปที่กว้างสุดลุกหูลูกตา ผ่านหมู่บ้านชาวประมงชาวเวียดนามซึ่งน่าจะอพยพหนีภัยสงครามกลางเมืองมาเมื่อหลายสิบปีก่อน มีโบสถ์ของศาสนาคริสต์และสถานีอนามัยตั้งอยู่กลางน้ำ เรือใช้เวลาประมาณ 1 ชม.ถึงแพกลางทะเลสาปซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว บนแพมีร้านอาหารและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มีเด็กๆชาวกัมพูชาถือลูกงูหลามขนาดเล็กมาให้นักท่องเที่ยวถ่ายรุปเพื่อแลกกับเงินทิปเล็กๆน้อยๆ
พวกเรากลับจากโตนเลสาปประมาณเที่ยงวัน ปั่นจักรยานเข้าไปในเมืองเสียมเรียบและทานอาหารในย่านไกล้กับ Pub Street ซึ่งเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้รับประทานอาหารที่ร้านเล็กๆแห่งหนึ่งที่เจ้าของร้านพูดภาษาไทยได้ เธอเล่าว่าทำงานที่เกาะกงหลายปี เธอรู้จักคนเสื้อแดงเป็นอย่างดี เธอเล่าว่าในสายตาของชาวกัมพูชา "คนเสื้อแดงเป็นคนดี และเป็นคนเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยเฉพาะคนที่ตายจากการสู้กับทหาร" เธอพูดด้วยสำเนียงแปร่งๆแต่ความหมายของคำพูดทำให้ผมได้เข้าใจมุมมองของเพื่อนบ้านที่มีต่อคนเสื้อแดงมากขึ้น
บ่ายวันนั้นพวกเรากลับโรงแรมเพื่อพักผ่อนร่างกายจากการตรากตรำปั่นจักรยานร่วมสองพันกิโล ช่วงเย็นคุณนพดลได้พาคณะปั่นจักรยานไปทานอาหารบุฟเฟต์ชื่อร้าน เฮง บา จก ซึ่งอยุ่ไม่ไกลจากโรงแรม City Angkor เป็นร้านอาหารเปิดใหม่ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย ร้านอาหารตกแต่งสวยงามและอาหารมีรสชาดดีมาก พนักงานยิ้มแย้มและมีท่าทีที่ดีใจมากที่ได้มีโอกาสต้อนรับคนเสื้อแดงจากเมืองไทย
ผมได้มีโอกาสชมนาฏศิลป์ของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในชีวิต พบว่ามีความคล้ายคลึงกับนาฏศิลป์ไทยมากโดยเฉพาะการร่ายรำ การแต่งกาย และเสียงดนตรี มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนมัจฉานุและนางสุพรรณมัจฉา การแสดงบางชุดนางรำแต่งกายคล้ายกับอัปสราที่เห็นในระเบียงนครวัด มีการแสดงโชว์ในชุดรำเกี่ยวข้าว รำอวยพร ฯลฯ การได้มีโอกาสชมการแสดงอย่างไกล้ชิดทำให้ผมเกิดความประทับใจในศิลปวัฒนธรรมของกัมพูชามาก มารู้ภายหลังว่านักแสดงส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตระหว่างสงครามกลางเมือง
เช้าวันที่ 8 กพ. พวกเราออกจากโรงแรม City Angkor ได้ร่ำลากับคุณวิชัยผู้จัดการโรงแรม จากนั้นคุณนพดลได้ให้รถไปส่งที่เมืองพระตะบอง เนื่องจากถนนจากเสียมเรียบไปศรีโสภณค่อนข้างอันตราย พวกเราใช้เวลาไม่เกิน 2 ชม.ถึงเมืองศรีโสภณ นักปั่นจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพที่มาปั่นด้วยจากอุบลได้ขอแยกตัวกลับเมืองไทย ทำให้เหลือนักปั่นเพียง 4 คนที่จะเดินทางไปจนถึงพนมเปญ
หลังจากถ่ายรูปกับรุปปั้นพระวิษณุที่ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวบ้านที่มาสนทนากับพวกเราได้แนะนำให้ไปเยี่ยมวัดบันนอน (Banon Temple) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกับนครธม นครวัด เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองพระตะบอง จากวงเวียนรูปปั้นพระวิษณุที่ตั้งอยู่กลางเมือง จะมีทางแยกซ้ายมือมุ่งตรงไปวัดบันนอน ระยะทางประมาณ 30 กม.
พวกเราใช้เวลาประมาณ 90 นาทีถึงวัดบันนอน ผมเริ่มสังเกตุว่าอากาศในกัมพูชาน่าจะร้อนกว่าเมืองไทย เมื่อถึงวัดบันนอนได้แวะดื่มน้ำและสนทนากับแม่ค้าที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี ผมบอกกับเธอว่าพวกเราเดินทางมาจากเมืองไทยเพื่อไปพนมเปญ เธอได้ถามความรู้สึกของผมในฐานะคนเสื้อแดงที่มีต่อประเทศของเธอ ผมบอกเธอว่า กัมพูชามีภาษาและเพลงที่ไพเราะมาก และหญิงกัมพุชามีรอยยิ้มที่เปิดเผยและมีเสน่ห์ ภาพที่ผมถ่ายกับเธอเป็นที่ระลึกคงจะบอกได้ดีว่าการพูดในสิ่งที่ดีๆของประเทศผู้อื่นจะนำมาซึ่งมิตรภาพที่เปิดกว้าง
พวกเราต้องเดินขึ้นวัดบันนอนซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง เมื่อเดินขึ้นไปถึงด้านบนจะเห็นวัดบันนอนบนซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณ มีหญิงชรานัยตาฝ้าฟางคอยบริการธูปเทียนให้กับนักท่องเที่ยว ภายในเจดีย์มีพระพุทธรูปทรงนาคปรกภายใน พวกเราไหว้พระขอพร และใช้เวลานั่งสมาธิหรืออยู่กับตัวเองเงียบๆประมาณ 30 นาที จากนั้นเดินทางกลับ
ขากลับจากวัดบันนอน พวกเราพบชาวเขมรคนหนึ่งที่ขี่มอเตอร์ไซด์ตามพวกเรามา เขาส่งเสียงทักทายเราเป็นภาษาไทยแปร่งๆและเชิญให้เราไปแวะที่บ้าน เขาบอกว่าชื่อ "เวน" เคยทำงานก่อสร้างที่เมืองไทยหลายปี บ้านของเขาเป็นบรรยากาศชนบทแท้ๆของกัมพูชา เมื่อตอนทีไปถึง ครอบครัวของเขาและเพื่อนบ้านกำลังรับประทานอาหารใต้ต้นตาลพร้อมกับสุราพื้นบ้าน ผมส่งภาษามือถามว่าพวกเขากำลังดื่มอะไร พวกเขายิ้มและชี้มือมาที่ต้นตาล ผมเดาว่าน่าจะเป็น "น้ำตาลเมา" แบบกัมพูชา หลังจากทักทายกันสักครู่พวกเราได้ร่ำลากัน ก่อนจากได้ถ่ายภาพและคลิปเป็นที่ระลึก จากนั้นได้ปั่นจักรยานกลับเมืองพระตะบอง เข้าพักที่โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง
นับจากนี้ไปการเดินทางการเดินทางของเส้นทางสีแดงในกัมพูชาจะเป็นไปโดยลำพัง ไม่มีใครที่พวกเรารู้จัก มีผมและรอ.ปรีชา 2 คนเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกับชาวกัมพูชาด้วยภาษาอังกฤษ ภารกิจจากนี้ไปคือการเดินทางเข้าสู่พนมเปญตามที่กำหนด โดยจะต้องผ่านเมืองโพธิสัตว์ (Pousat) 104 กม. กัมปงชนัง (Kampong Chhang) 96 กม. และพนมเปญ (Phnom Penh) 91 กม.ในวันที่ 11 กพ. 2555 !
เช้าวันที่ 7 กพ. พวกเรารับประทานอาหารเช้าในโรงแรม City Angkor ผมใช้เวลา 10 นาทีโพสภาพที่ถ่ายจากนครธมนครวัดลงเฟซบุ้คจากล็อบบี้ของโรงแรม จากนั้นพวกเราได้ปั่นจักรยานชมเมืองเสียมเรียบ โปรแกรมในวันนี้คือการไปเยี่ยมชมโตนเลสาปซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศกัมพูชา
โตนเลสาปเป็นทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า) ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศ ทะเลสาปขนาดยักษ์นี้เกิดจากแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ โตนเลสาปมีปลาน้ำจืดกว่า 300 ชนิด ทำให้มีชาวกัมพูชารวมถึงชาวเวียดนามอพยประกอบอาชีพประมงรอบทะเลสาปจำนวนมาก
พวกเราปั่นจักรยานจากตัวเมืองเสียมเรียบมุ่งหน้าไปโตนเลสาปซึ่งอยู่นอกเมือง ระยะทางประมาณ 15 กม. วันนั้นมีทักท่องเที่ยวไม่มากนัก นานๆจะเห็นรถตุ๊กๆพานักท่องเที่ยวต่างชาติสวนมา เมื่อเข้าไกล้โตนเลสาปก็จะได้กลิ่นคาวปลาซึ่งเกิดจากการทำประมงพื้นบ้าน เมื่อถึงบริเวณโตนเลสาปก็พบกับด่านรักษาความปลอดภัยซึ่งนักท่องเที่ยวต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมซึ่งรวมค่าลงเรือชมทะเลสาปแล้ว
พวกเราลงเรือขนาดเล็กล่องชมทะเลสาปที่กว้างสุดลุกหูลูกตา ผ่านหมู่บ้านชาวประมงชาวเวียดนามซึ่งน่าจะอพยพหนีภัยสงครามกลางเมืองมาเมื่อหลายสิบปีก่อน มีโบสถ์ของศาสนาคริสต์และสถานีอนามัยตั้งอยู่กลางน้ำ เรือใช้เวลาประมาณ 1 ชม.ถึงแพกลางทะเลสาปซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว บนแพมีร้านอาหารและจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มีเด็กๆชาวกัมพูชาถือลูกงูหลามขนาดเล็กมาให้นักท่องเที่ยวถ่ายรุปเพื่อแลกกับเงินทิปเล็กๆน้อยๆ
พวกเรากลับจากโตนเลสาปประมาณเที่ยงวัน ปั่นจักรยานเข้าไปในเมืองเสียมเรียบและทานอาหารในย่านไกล้กับ Pub Street ซึ่งเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้รับประทานอาหารที่ร้านเล็กๆแห่งหนึ่งที่เจ้าของร้านพูดภาษาไทยได้ เธอเล่าว่าทำงานที่เกาะกงหลายปี เธอรู้จักคนเสื้อแดงเป็นอย่างดี เธอเล่าว่าในสายตาของชาวกัมพูชา "คนเสื้อแดงเป็นคนดี และเป็นคนเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยเฉพาะคนที่ตายจากการสู้กับทหาร" เธอพูดด้วยสำเนียงแปร่งๆแต่ความหมายของคำพูดทำให้ผมได้เข้าใจมุมมองของเพื่อนบ้านที่มีต่อคนเสื้อแดงมากขึ้น
บ่ายวันนั้นพวกเรากลับโรงแรมเพื่อพักผ่อนร่างกายจากการตรากตรำปั่นจักรยานร่วมสองพันกิโล ช่วงเย็นคุณนพดลได้พาคณะปั่นจักรยานไปทานอาหารบุฟเฟต์ชื่อร้าน เฮง บา จก ซึ่งอยุ่ไม่ไกลจากโรงแรม City Angkor เป็นร้านอาหารเปิดใหม่ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย ร้านอาหารตกแต่งสวยงามและอาหารมีรสชาดดีมาก พนักงานยิ้มแย้มและมีท่าทีที่ดีใจมากที่ได้มีโอกาสต้อนรับคนเสื้อแดงจากเมืองไทย
ผมได้มีโอกาสชมนาฏศิลป์ของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในชีวิต พบว่ามีความคล้ายคลึงกับนาฏศิลป์ไทยมากโดยเฉพาะการร่ายรำ การแต่งกาย และเสียงดนตรี มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนมัจฉานุและนางสุพรรณมัจฉา การแสดงบางชุดนางรำแต่งกายคล้ายกับอัปสราที่เห็นในระเบียงนครวัด มีการแสดงโชว์ในชุดรำเกี่ยวข้าว รำอวยพร ฯลฯ การได้มีโอกาสชมการแสดงอย่างไกล้ชิดทำให้ผมเกิดความประทับใจในศิลปวัฒนธรรมของกัมพูชามาก มารู้ภายหลังว่านักแสดงส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตระหว่างสงครามกลางเมือง
เช้าวันที่ 8 กพ. พวกเราออกจากโรงแรม City Angkor ได้ร่ำลากับคุณวิชัยผู้จัดการโรงแรม จากนั้นคุณนพดลได้ให้รถไปส่งที่เมืองพระตะบอง เนื่องจากถนนจากเสียมเรียบไปศรีโสภณค่อนข้างอันตราย พวกเราใช้เวลาไม่เกิน 2 ชม.ถึงเมืองศรีโสภณ นักปั่นจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพที่มาปั่นด้วยจากอุบลได้ขอแยกตัวกลับเมืองไทย ทำให้เหลือนักปั่นเพียง 4 คนที่จะเดินทางไปจนถึงพนมเปญ
หลังจากถ่ายรูปกับรุปปั้นพระวิษณุที่ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวบ้านที่มาสนทนากับพวกเราได้แนะนำให้ไปเยี่ยมวัดบันนอน (Banon Temple) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกับนครธม นครวัด เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองพระตะบอง จากวงเวียนรูปปั้นพระวิษณุที่ตั้งอยู่กลางเมือง จะมีทางแยกซ้ายมือมุ่งตรงไปวัดบันนอน ระยะทางประมาณ 30 กม.
พวกเราใช้เวลาประมาณ 90 นาทีถึงวัดบันนอน ผมเริ่มสังเกตุว่าอากาศในกัมพูชาน่าจะร้อนกว่าเมืองไทย เมื่อถึงวัดบันนอนได้แวะดื่มน้ำและสนทนากับแม่ค้าที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี ผมบอกกับเธอว่าพวกเราเดินทางมาจากเมืองไทยเพื่อไปพนมเปญ เธอได้ถามความรู้สึกของผมในฐานะคนเสื้อแดงที่มีต่อประเทศของเธอ ผมบอกเธอว่า กัมพูชามีภาษาและเพลงที่ไพเราะมาก และหญิงกัมพุชามีรอยยิ้มที่เปิดเผยและมีเสน่ห์ ภาพที่ผมถ่ายกับเธอเป็นที่ระลึกคงจะบอกได้ดีว่าการพูดในสิ่งที่ดีๆของประเทศผู้อื่นจะนำมาซึ่งมิตรภาพที่เปิดกว้าง
พวกเราต้องเดินขึ้นวัดบันนอนซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง เมื่อเดินขึ้นไปถึงด้านบนจะเห็นวัดบันนอนบนซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณ มีหญิงชรานัยตาฝ้าฟางคอยบริการธูปเทียนให้กับนักท่องเที่ยว ภายในเจดีย์มีพระพุทธรูปทรงนาคปรกภายใน พวกเราไหว้พระขอพร และใช้เวลานั่งสมาธิหรืออยู่กับตัวเองเงียบๆประมาณ 30 นาที จากนั้นเดินทางกลับ
ขากลับจากวัดบันนอน พวกเราพบชาวเขมรคนหนึ่งที่ขี่มอเตอร์ไซด์ตามพวกเรามา เขาส่งเสียงทักทายเราเป็นภาษาไทยแปร่งๆและเชิญให้เราไปแวะที่บ้าน เขาบอกว่าชื่อ "เวน" เคยทำงานก่อสร้างที่เมืองไทยหลายปี บ้านของเขาเป็นบรรยากาศชนบทแท้ๆของกัมพูชา เมื่อตอนทีไปถึง ครอบครัวของเขาและเพื่อนบ้านกำลังรับประทานอาหารใต้ต้นตาลพร้อมกับสุราพื้นบ้าน ผมส่งภาษามือถามว่าพวกเขากำลังดื่มอะไร พวกเขายิ้มและชี้มือมาที่ต้นตาล ผมเดาว่าน่าจะเป็น "น้ำตาลเมา" แบบกัมพูชา หลังจากทักทายกันสักครู่พวกเราได้ร่ำลากัน ก่อนจากได้ถ่ายภาพและคลิปเป็นที่ระลึก จากนั้นได้ปั่นจักรยานกลับเมืองพระตะบอง เข้าพักที่โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง
นับจากนี้ไปการเดินทางการเดินทางของเส้นทางสีแดงในกัมพูชาจะเป็นไปโดยลำพัง ไม่มีใครที่พวกเรารู้จัก มีผมและรอ.ปรีชา 2 คนเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกับชาวกัมพูชาด้วยภาษาอังกฤษ ภารกิจจากนี้ไปคือการเดินทางเข้าสู่พนมเปญตามที่กำหนด โดยจะต้องผ่านเมืองโพธิสัตว์ (Pousat) 104 กม. กัมปงชนัง (Kampong Chhang) 96 กม. และพนมเปญ (Phnom Penh) 91 กม.ในวันที่ 11 กพ. 2555 !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น